สาวเจ้าของร้านขายของ ร้องสื่อ ถูกคนร้ายขโมยรถซาเล้ง หวั่นเอาไปก่อเหตุ แล้วตัวเองจะเดือดร้อน

สาวเจ้าของร้านขายของ ร้องสื่อ ถูกคนร้ายขโมยรถซาเล้ง หวั่นเอาไปก่อเหตุแล้วตัวเองจะเดือดร้อน

เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 20 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวได้รับเรื่องร้องทุกข์ จากนางสาวฐิติมา ทองดีศรี อายุ 32 ปี เจ้าของร้านเพชรช๊อป เลขที่ 259/2 หมู่ 9 ตำบลบางปูใหม่ อ.เมือง สมุทรปราการ ว่าถูกคนร้าย 1 คน ขโมยรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง ยี่ห้อ ฮอนด้า เวฟ สีน้ำเงิน จำทะเบียนไม่ได้ และพนักงานภายในร้านถูกขโมยเสื้อผ้าไป พร้อมภาพจากกล้องวงจรปิด ที่สามารถบันทึกพฤติกรรมของคนร้าย 1 คน ได้ปั่นจักรยานเข้ามาภายในลานโรงจอดรถของร้าน ก่อนจะเลี้ยวไปออกอีกทาง ก่อนในเวลาต่อมาคนร้ายได้เดินมาจากท้ายโรงจอดรถผ่านหน้ากล้องมาทางหน้าร้าน ก่อนจะวนกลับมาจากท้ายโรงจอดแล้วไปหยุดที่ราวตากเสื้อผ้าหยิบเสื้อที่ตากอยู่ไปหลายชุด ก่อนที่จะเดินหายไปทางท้ายโรงจอดรถ ก่อนที่กล้องหน้าร้านจะจับภาพคนร้ายขี่รถจักรยานยนต์พ่วงข้างออกไปอีกซอย มุ่งหน้าออกไปทางถนนสุขุมวิท

หลังรับเรื่องผู้สื่อข่าวจึงได้เดินทางไปยังร้านดังกล่าว พบกับนางสาวฐิติมา โดยจุดเกิดเหตุอยู่ในบริเวณโรงจอดรถของร้าน ซึ่งไม่มีรั่วปิด คนร้ายได้ชุดนอนไปประมาณ 7 ตัว ซึ่งเป็นของพนักงานภายในร้าน ที่ตากไว้บริเวณกลางโรงจอดรถของทางร้าน และได้ขโมยรถจักรยายนต์พ่วงข้าง ที่จอดอยู่ท้ายโรงจอดรถซึ่งบริเวณดังกล่าวไม่มีกล้องวงจรปิด

นางสาวฐิติมา เล่าว่า ที่ร้านจะปิด 5 ทุ่ม พนักงานก็จะเอารถมาจอดตรงนี้ทุกวัน พอเช้าประมาณ 9 โมงเช้า พนักงานในร้านก็จะเอารถขนน้ำไปส่งอีกร้าน พอมาถึงแล้วรถไม่อยู่ ตอนแรกพนักงานคิดว่าคนในร้านแกล้ง พอเดินมาดูกุญแจในร้านก็ปรากฏว่ากุญแจรถยังอยู่ ก็เลยช่วยกันเดินหา และเปิดกล้องวงจรปิดดู ก็เจอว่ามีคนเข้ามาขโมยไป ในกล้องเห็นว่าคนร้ายเดินอยู่ในโรงจอดรถหลายรอบก่อนจะก่อเหตุ นอกจากรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง ก็มีเสื้อผ้าของพนักงานในร้านที่ตากไว้ในโรงจอดรถของร้าน ในกล้องเห็นว่าคนร้ายเข้ามาประมาณตี 3 กว่า คนร้ายได้นำจักรยานปั่นมาจอดที่บริเวณข้างร้าน ซึ่งมาทราบภายหลังว่าจักรยานคนร้ายก็ไปขโมยเขามาอีกทีก่อนจะมาก่อเหตุที่นี้ เพราะเมื่อสักพักได้มีเจ้าของมาเอาจักรยานไป ตนจึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้าน เขาก็ตนไปแจ้งความ แต่มีลุงอีกคนมาบอกตนว่าโดนงัดห้องและขอมาดูกล้องที่ร้านตน

เบื้องต้นตนได้เดินทางเข้าแจ้งความร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว ตนก็อยากให้เจ้าหน้าที่เร่งจับตัวคนร้าย เพราะตนเชื่อว่าคงไม่ใช่เคสตนเคสแรก น่าจะก่อเหตุมาแล้วหลายเคส เพราะภายในซอยก็มีการร้องเรียนกันอยู่ว่าจักรยานหายเยอะ ไปเจออีกทีก็ร้านขายของเก่า และตนก็กังวลเรื่องรถของตนที่ถูกขโมยไป ไม่รู้ว่าคนร้ายจะเอาไปทำอะไร ถ้าคนร้ายเอาไปก่อเหตุ ตนก็กลัวว่าเดือดร้อน ถึงไม่มีป้ายทะเบียนแต่เลขที่คอรถก็ยังโชว์อยู่ว่าเป็นรถของใคร ถ้าคนร้ายเอารถไปก่อเหตุ คนอื่นเขาไม่รู้หลอกว่าคนก่อเหตุคือใคร แต่รถเนี่ยเป็นของใคร มันจะกลายเป็นว่าเจ้าของรถกลายเป็นผู้กระทำผิด


อัญมณี คงสินธ์ / ธนวัต นาคขำ จ.สมุทรปราการ 095-5543516

“เฉลิมชัย” คิกออฟ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน 7,255 ตำบลทั่วประเทศ

“เฉลิมชัย” คิกออฟ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน 7,255 ตำบลทั่วประเทศ “อลงกรณ์” ออกสตาร์ท ”เพชรบุรี” เป็นจังหวัดแรก จับมือผู้ว่าฯ ผนึกศูนย์ AIC รวมพลังทุกภาคส่วนเดินหน้าเต็มสูบสร้างศักยภาพใหม่ของตำบลหมู่บ้านแบบยั่งยืน

ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน เปิดเผยวันนี้ (20 ก.ย) ว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกระทรวงมหาดไทยในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล 7,255 ตำบลใน 76 จังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานอพก.จังหวัด ได้ดำเนินการร่วมกับเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลแล้ว นอกจากนี้ยังได้รับรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการนี้ จากนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนว่า ได้เริ่มการประชุมชี้แจงแนวทางการบริหารและการขับเคลื่อนคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีที่ศูนย์ AIC มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นจังหวัดแรก ถือเป็นการคิกออฟโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลซึ่งเป็นกลไกการปฏิรูปภาคเกษตรครั้งสำคัญของประเทศ

ทางด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อสร้างการรับรู้ และมอบนโยบาย แนวทางการขับเคลื่อนโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลของจังหวัดเพชรบุรี ณ ห้องประชุมคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และรูปแบบออนไลน์ผ่าน Zoom Cloud Meeting โดยมี นายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี, ดร.วนิดา มากศิริ คณบดี คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, ผู้อำนวยการศูนย์ AIC จังหวัดเพชรบุรี, เกษตรจังหวัด, อุตสาหกรรมจังหวัด, พาณิชย์จังหวัด, สภาเกษตรกรแห่งชาติ, นายอำเภอ, เกษตรอำเภอ นายกและสมาชิกอบต., กำนันผู้ใหญ่บ้าน, อาสาสมัครเกษตร ศพก., เกษตรกรรุ่นใหม่ (young smart farmer ) เกษตรปราดเปรื่องวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ เกษตรแปลงใหญ่ กลุ่มแม่บ้านเกษตร, ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอี, ทีมงานเพชรบุรีโมเดล, หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตร, และตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคเกษตรกร เข้าร่วมประชุม โดยมีนางสาวศิริวรรณ เครือเล็ก เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี เป็นฝ่ายเลขานุการ

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นวันแรกของการขับเคลื่อนคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลครอบคลุม 7,255 ตำบลใน 87 8อำเภอ และ 76 จังหวัด เป็นครั้งแรกของประเทศควบคู่กับโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองเพื่อสร้างฐานใหม่ที่เข้มแข็งในการยกระดับประเทศไทยสู่ประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารอันดับท็อปเทนของโลกในฐานะมหาอำนาจทางอาหารและครัวของโลกตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯ จากปัจจุบันอยู่ในอันดับ 13 ของโลก โดยจัดประชุมสร้างการรับรู้แนวทางการบริหารจัดการคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนที่เพชรบุรีเป็นจังหวัดแรก ภายใต้แนวคิด “บริหารโดยชุมชน เป็นของชุมชน และเพื่อชุมชน” ซึ่งเป็นกลไกปฏิรูปภาคการเกษตรเพื่อสร้างศักยภาพใหม่ในระดับฐานรากเพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกรและชุมชนตำบลหมู่บ้านและแก้ปัญหาหนี้สิน ความยากจนและลดความเลื่อมล้ำอย่างยั่งยืนภายใต้เกษตรกรรมยั่งยืน 5 สาขา คือ เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรผสมผสาน มีภารกิจ2ประการคือเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานครด้วยการยกระดับภาคเกษตรกรรมสู่เกษตรมูลค่าสูง

นายอลงกรณ์กล่าวว่า คณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลประกอบด้วย ปลัดอำเภอ เกษตรตำบล อบต. ผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนประชาสังคมและอาสาสมัครเกษตร (อกษ.) เป็นแกนหลักร่วมกับตัวแทนภาคเอกชน ภาคเอกชน และภาควิชาการ ในหมู่บ้านตำบลเชื่อมโยงกับคณะกรรมการพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ (SCD)และคณะกรรมการพัฒนาการเกษตรระดับจังหวัด (SCP)และศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ในแต่ละจังหวัด
โดยคณะกรรมการเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลมีหน้าที่จัดทำและขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรแบบยั่งยืนระดับตำบลภายใต้แพลตฟอร์มการพัฒนาหลากหลายรูปแบบ เช่น 1ตำบล 1โครงการชลประทานชุมชน, 1ตำบล1โครงการเกษตรอินทรีย์, 1ตำบล 1ศูนย์บริการจัดการดิน-ปุ๋ยชุมชน, 1ตำบล 1 ร้านค้าเกษตรปลอดภัยอาหารปลอดภัย(Green Shop), 1 ตำบล 1 ตลาดออนไลน์, 1 ตำบล 1 สตาร์ทอัพเกษตร, 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์แชมเปี้ยน(product champion), 1 ตำบล 1 ธนาคารต้นไม้ (ผลิตและจำหน่ายต้นกล้า), 1 ตำบล 1 เกษตรแปลงใหญ่, 1 ตำบล 1 ฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming), 1 ตำบล1 แบรนด์ผลิตภัณฑ์, 1 ตำบล 1 เครือข่ายศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.), 1 ตำบล 1 เครือข่ายศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(ศูนย์AIC), 1 ตำบล 1 องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น(ประมงทะเลหรือประมงน้ำจืด), 1 ตำบล 1 กลุ่มประมง 1 กลุ่มปศุสัตว์ 1 กลุ่มเกษตรพลังงาน 1 เกษตรสุขภาพ 1 เกษตรท่องเที่ยว 1โครงการอาหารแห่งอนาคต (แมลง ผำ สาหร่าย แหนแดง) 1 โรงเรียนสีเขียว( Green School ) 1 วัดสีเขียว(Green Temple) และศูนย์ความรู้เกษตร(Agriculture Knowledge Center) เป็นต้น

เพื่อปักหลักวางหมุดหมายการพัฒนาแบบยั่งยืนลงไปถึงระดับชุมชนหมู่บ้าน ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ของ รมว.เกษตรฯ ได้แก่ ตลาดนำการผลิต-เทคโนโลยีเกษตร4.0-เกษตรปลอดภัย-เกษตรยั่งยืน-เกษตรมั่นคง การบูรณาการทำงานเชิงรุกทุกภาคส่วนและเกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่

นายอลงกรณ์ได้มอบแนวทางในการบริหารโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล จังหวัดเพชรบุรีในระยะตั้งต้นไว้ 6 ประเด็น ดังนี้

  1. จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล โดยอบต. จัดสถานที่มีเจ้าหน้าที่ของอบต. ที่ทำหน้าที่กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการ เป็นผู้ดูแลและมีอาสาสมัครที่สรรหาในตำบลช่วยปฏิบัติงาน
  2. จัดให้มีสภากาแฟเกษตรกรรมยั่งยืนประชุมเดือนละครั้งเป็นเวทีปรึกษาหารือไม่เป็นทางการ
  3. คณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลควรประชุมเดือนละ 1 ครั้ง ในช่วง 6 เดือนแรก จากนั้นประชุมทุก 2 เดือน
  4. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือนก่อนหมดหน้าที่
  5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน
  6. การจัดทำระบบฐานข้อมูล

ซึ่งหวังว่า กลไกนี้จะเป็นแนวทางการขับเคลื่อนที่สามารถยกระดับอัพเกรดให้แก่ภาคการเกษตรได้อย่างยั่งยืน.

ทางด้าน นายณัฐวุฒิ เพ็ชรพรหมศร ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีได้กล่าวเสริมว่าจังหวัดเพชรบุรี พร้อมสานต่อนโยบายขับเคลื่อนเมืองเสบียงแห่งอาหาร สู่โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ระดับตำบล เน้นประโยชน์ของพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งแต่ละตำบลดูจุดแข็งของตำบลทั้งด้าน ปศุสัตว์ ประมง พืช สมุนไพร ผลไม้ รวมทั้งให้ความสำคัญด้านชลประทาน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะดำเนินการทั้งในระดับจังหวัด หรือเชื่อมโยงกลุ่มจังหวัด ที่ต้องทำงานร่วมกันเพิ่มศักยภาพพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ที่จะขับเคลื่อนร่วมกันโดยสามารถเสนอโครงการและแผนงานจากงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้


รถพ่วงสิบล้อ ชนท้ายสิบล้อตกข้างคลอง

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 20 กันยายน 2563 ถนนเส้นทางนครหลวงท่าเรือ หน้าปั้มปตทปากจั่น หมู่ที่ 4 ปากจั่นอำเภอนครหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางตำรวจ สภอ . นครหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รับแจ้งจากพลเมืองดี แจ้งไปทางมูลนิธิพุทธไทยสวรรค์ เขตอำเภอนครหลวง ว่ามีเหตุรถพ่วงสิบล้อชนท้ายตกข้างทางลงในคลองถึงแจ้ง สภอ. นครหลวง ร.ต.อ. รุ่ง ปัญญา ร้อยเวรนครหลวง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จราจรเจ้าหน้าที่พุทไธสวรรย์เขตนครหลวง อำนวยความสะดวกการจราจร จึงมาที่เกิดเหตุ

พบรถสิบล้อ หมายเลขทะเบียน 70-8045 สระบุรี ห่วงลูก 72-0663 สระบุรี ยี่ห้อรถ Nissan พ่วงคนขับรถ นายปัญจพล ภูทอง คนขับรถพ่วง ได้รับบาดเจ็บนำส่งโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช และเพื่อนอีก 1 คน ได้รับบาดเจ็บช่วงขา สาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ได้มีรถปิคอัพไม่ทราบหมายเลขทะเบียน เลี้ยวตัดหน้าเข้าปั๊มปตท ปากจั่น นครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำให้รถพ่วงของ นายปัญจพล ภูทอง เสียหลักชนรถสิบล้อพ่วง หมาย เลขทะเบียน 70-8182 ฉะเชิงเทรา คนขับชื่อ นาย ชาญชัย ศรีเหลือมงาม อายุ 54 ปี บ้านเลขที่ 775 หมู่ที่ 9 ตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เป็นคนขับรถพ่วงที่โดนชนท้าย ไม่ได้เจ็บอะไร เพียงแต่รถข้างซ้ายเสียหายนิดหน่อยจึงรอให้ปากคำกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสภอ. นครหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


สุขุม แก้วกุดั่น อยุธยา

จิตอาสา บริจาคโลหิตช่วยชีวิตชาวประชา ในยามฉุกเฉิน

กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 20 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 21 จัดกำลังพลจิตอาสาของหน่วยบริจาคโลหิตให้กับนายฉลอ ยอดถา ซึ่งประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ล้ม ทำให้ศรีษะกระแทกพื้น อาจเกิดภาวะเลือดออกเหยื่อหุ้มในสมอง จึงต้องการเกล็ดเลือดในการผ่าตัดโดยด่วน ปัจจุบันกำลังรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ โดยทุกขั้นตอนการรักษาอยู่ความความดูแลของคุณหมอและพยาบาลเฉพาะโรค ทางญาติจึงขอรับการบริจาคเลือดผ่านมายังช่องทาง Facebook ของหน่วย จึงจัดกำลังพลบริจาคโลหิตเพื่อช่วยในการผ่าตัดดังกล่าว เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน และกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติได้อีกครั้งหนึ่ง ณ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ สามารถบริจาคโลหิตได้ จำนวน 3,600 ซีซี


จับยาไอซ์ 17 กก. พร้อมยาบ้า 2,400 เม็ด คาด่านตรวจห้วยยาง

วันที่ 20 ก.ย.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารชุดเฉพาะกิจจงอางศึกจับกุม 4 ผู้ต้องหาขนยาเสพติด ได้ที่บริเวณด่านจุดตรวจร่วม สภ.ห้วยยาง ม.1 ต.ห้วยยาง อ.ทับสะแก จ.ประจวบฯ ได้ของกลาง ยาไอซ์ 17 ก.ก., ยาบ้า 2400 เม็ด จากการสอบถามเบื้องตนทราบว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. เจ้าหน้าที่ ตำรวจและทหารชุดเฉพาะกิจจงอางศึก ปฎิบัติหน้าที่บริเรณหน้าด่านจุดตรวจร่วมบนถนนเพชรเกษมขาล่องหน้าสภ.ห้วยยาง มีรถยนต์ยี่ห้อมิตซูบิชิ สีดำ ทะเบียน ภฮ 1741 กทม. ขับเข้ามาบริเวณด่านตรวจร่วม จึงโบกให้หยุดเพื่อทำการตรวจบุคคลและความเรียบร้อยตามปกติ โดยภายในรถมีชายฉกรรจำนวน 4 คน นั่งอยู่ภายในรถมีท่านทีพิรุธ จึงเข้าทำการตรวจค้นภายในรถ พบยาบ้าจำนวน 2,400 เม็ด ยาไอซ์ จำนวน 17 ก.ก.ซุกซ่อนภายในกระโปรงด้านหลังรถ โดยมีผ้าขึนหนูปิดคุมไว้ จึงทำการควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้ง 4 ราย ส่งสภ.ห้วยยาง เพื่อทำการสอบสวนขยายผลผู้ร่วมขบวนการต่อไป

จากการขยาผลจับกุมดังกล่าว ทราบว่าผู้ต้องหาทั้ง 4 ราย ชื่อ ๑.นาย เตชิษฐ์ ยุพการณ์ อายุ ๓๖ ปี, ๒.นาย ปิยะศักดิ์ อำไพเพชร อายุ ๓๐ ปี, ๓.นาย คำเตือน เฉลียวพรม อายุ ๓๙ ปี, และ ๔.นาย คมเพชร ปานกระโทก ทั้งหมดเป็นชาวจังหวัดสุราษฏร์ธานี ทั้ง 4 คน รับสารภาพว่า ไปรับยาบ้าพร้อมยาไอซ์ทั้งหมดมาจากจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อไปส่งที่ปลายทางจังหวัด สุราษฏร์ธานี โดยยอมรับว่าทำมาแล้ว 2 ครั้ง หลังจากนี้เจ้าหน้าที่จะทำการสอบสวนขยายผลผู้ร่วมขบวนการในจังหวัดกาญจนบุรีต่อไป



นัครินทร์/รายงานข่าว

วิทยาลัยการอาชีพคำชะอีมุกดาหาร เปิดกิจกรรมโครงการไตรภาคี Training ช่างสี

มุกดาหาร – วิทยาลัยการอาชีพคำชะอี เปิดกิจกรรมโครงการไตรภาคี รุ่นที่ 3 ประจำปี 2565 Training ช่างซ่อมสีรถยนต์แก่นักศึกษาฝึกอาชีพ

วันที่ 20 ก.ย. 65 ที่ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพคำชะอี นายวิชา อาญาเมือง ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร /ประธานกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานโครงการไตรภาคี Training ช่างซ่อมสีรถยนต์ ให้แก่นักศึกษาฝึกอาชีพ โดยมีนายพูลศักดิ์ ศรีวรมย์ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร /ผู้ประสานงานจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพคำชะอี พร้อมด้วย ผู้จัดการบริษัทวิริยะประกันภัย, คณะกรรมการชมรมศูนย์ซ่อมมาตรฐานวิริยะประกันภัยภาค 6, (โครงการไตรภาคี) /คณะวิทยากรจากบริษัท พีพีจิโคทติ้งส์(ประเทศไทย) จำกัด, นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านช่ง, ผู้บริหารสถานศึกษา, หัวหน้าส่วนราชการ, กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน, คณะครู บุคลากร คณะกรรมการดำเนินงาน ผู้ปกครองและนักเรียน-นักศึกษา เข้าอบรมในครั้งนี้จำนวน 150 คน

นายพูลศักดิ์ ศรีวรมย์ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหารในนามประธานคณะกรรมการดำเนินงานและประสานงาน กล่าวว่า โครงการไตรภาคี Training ช่างซ่อมสีรถยนต์ให้แก่นักศึกษาฝึกอาชีพในครั้งนี้ ตามที่วิทยาลัยการอาชีพคำชะอี เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ผลิตกำลังคนระดับช่างฝีมือ และระดับช่างเทคนิค ปัจจุบันเทคโนโลยียานยนต์ได้มีความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งการใช้ยานพาหนะยานยนต์มีเป็นจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการช่างช่อมตังถังและสิรถยนต์ที่มี คุณภาพมีเป็นจำนวนมากตามเป็นลำดับ วิทยาลัยการอาชีพคำชะอี ได้เล็งเห็นโอกาสของนักเรียนนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาและมีงานทำ จึงได้พิจารณาร่วมลงนามความร่วมมือกับ ชมรมศูนย์ซ่อมมาตรฐาน

นายพูลศักดิ์ ศรีวรมย์ กล่าวต่ออีกว่า วิริยะประกันภัยภาค 6 (โครงการไตรภาคี)/ ซึ่งเป็นผู้ที่มีเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์และเป็นเจ้าของอาชีพ ด้านตัวถังและซ่อมสีรถยนต์/ ได้ร่วมจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี ทั้งระดับ ปวช.และ ปวส.มาเป็นปีที่ 3 ในการ Training ช่างซ่อมสีรถยนต์ให้แก่นักศึกษาฝึกอาชีพ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้รับการ Training การช่อมสีรถยนต์ก่อนที่นักศึกษาจะออกฝึกอาชีพ เพื่อเตรียมความรู้และทักษะพื้นฐานสำหรับนักเรียนนักศึกษา สำหรับช่างซ่อมตัวถังและสีรถยนต์ เพื่อร่วมเป็นเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาโดยโครงการไตรภาคี Training ช่างซ่อมสีรถยนต์ รุ่นที่ 3 ประจำปี 2565 นี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 กันยายน ถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2565 จำนวน 20 วัน มีผู้เข้าร่วมโครงการแบ่งเป็น ช่างซ่อมสีรถยนต์ 17 คน และช่างซ่อมตัวถัง 10 คน รวม 27 คน

สำหรับโครงการไตรภาคี Training ช่างซ่อมสีรถยนต์ ได้รับการประสานงานและดำเนินการโดยชมรมศูนย์ซ่อมมาตรฐานวิริยะประกันภัยภาค 6 (โครงการไตรภาคี บริษัทวิริยะประกันภัย(มหาชน) จังหวัดสกลนคร ,นครพนม, และมุกดาหาร และได้รับการสนับสนุนครูฝึกและวัสดุการฝึกอบรมจากบริษัทสีรถยนต์ พีพีจี โคทติ้งส์ (ประเทศไทย)จำกัด..


อนุศักดิ์ – เสาวภา แสนวิเศษ // มุกดาหาร 081-5449094

ผู้ว่าฯ ชุมพร แจ้งด่วน !! ขอความร่วมมือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ลานเท พยุงราคารับซื้อปาล์มทะลายเข้าโรงงานในราคาที่สูงและเป็นธรรมกับเกษตรกร

ผู้ว่าฯ ชุมพร แจ้งด่วน ขอความร่วมมือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ลานเท พยุงราคารับซื้อปาล์มทะลายเข้าโรงงานในราคาที่สูงและเป็นธรรมกับเกษตรกร

วันที่ 20 กันยายน 2565 นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร แจ้งขอความร่วมมือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม รับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกรในราคาให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันปาล์มดิบ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวชุมพร โดยเฉพาะช่วงที่ราคาปาล์มค่อนข้างผันผวน

ด้วยสถานการณ์ราคาผลปาล์มน้ำมันและราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับลดลงจากเดิม ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันได้รับความเดือดร้อนจากภาวะความผันผวนของราคา ประกอบกับปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมีราคาปรับสูงขึ้น ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2564 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากเดิม จังหวัดชุมพร จึงขอความร่วมมือผู้ประกอบการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และผู้ประกอบการลานเท รับซื้อผลปาล์มน้ำมันให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) และให้ปิดป้ายแสดงราคารับซื้อ ผลปาล์มน้ำมันทั้งทะลาย ทุกร้อยละของอัตราน้ำมันที่ซื้อขาย โดยให้เริ่มแสดงราคารับซื้อตั้งแต่อัตราน้ำมันที่ 18 % ขึ้นไป เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ได้น้ำมันปาล์มที่มีคุณภาพและราคาสูง และห้ามมิให้ปิดป้ายแสดงราคารับซื้อผลปาล์มร่วง

นอกจากนี้ นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ยังได้กำชับให้นายอำเภอ ทุกอำเภอ พาณิชย์จังหวัดชุมพร และอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร ติดตามสถานการณ์ราคาปาล์มน้ำมันในพื้นที่อย่างใกล้ชิดด้วย


ศูนย์ข่าวจังหวัดชุมพร

สำนักข่าวความมั่นคง

เทศบาลตำบลอุโมงค์ จัดโครงการวันเยาวชน ส่งเสริม พัฒนาเด็ก เยาวชนในท้องถิ่น มีความรู้ ความสามารถ รวมทั้งเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้เด็กและเยาวชนในท้องถิ่น

เทศบาลตำบลอุโมงค์ จัดโครงการวันเยาวชน ส่งเสริม พัฒนาเด็ก เยาวชนในท้องถิ่น มีความรู้ ความสามารถ รวมทั้งเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้เด็กและเยาวชนในท้องถิ่น

วันนี้ ( 20 กันยายน 2565 ) ที่ หอประชุมวิจิตรไพบูลย์ โรงเรียนอุโมงค์วิทยาคม ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน นายกิติพัฒน์ ธนินภิตินันท์ นายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการวันเยาวชน ประจำปี 2565 พร้อมมอบใบประกาศแก่เยาวชนดีเด่นตำบลอุโมงค์ จำนวน 10 ประเภท โดยมี นางจันทรา เกียรติเจริญ รองปลัดเทศบาลตำบลอุโมงค์ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดโครงการ ฯ สำหรับโครงการดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้การสนับสนุน และส่งเสริมกิจกรรมของเด็กและเยาวชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชน ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กและเยาวชนได้กล้าแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ในการหาประสบการณ์ให้กับตนเอง การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

โดยจัดให้มีกิจกรรมนันทนาการตามความต้องการและความถนัดในด้านต่างๆ ของเด็ก เยาวชน ส่งเสริมให้เด็ก และเยาวชน ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสร้างทักษะ กีฬา ภาษา ดนตรี ศิลปะ ทั้งนี้ภายในโครงการ มีกิจกรรมประกอบด้วย พิธีมอบใบประกาศเยาวชนดีเด่นตำบลอุโมงค์, การอบรมเยาวชนไทยกับการใช้ชีวิตยุควิถีใหม่, และการประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่งพร้อมหางเครื่อง เป็นต้น


ผู้สื่อข่าวจังหวัดลำพูน รายงาน

ลําพูน จัดเวทีเสริมพลังเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐ อปท. เอกชน ภาคประชาสังคม และ องค์กรภาคีเครือข่ายประชาชน สื่อมวลชน เข้าร่วม

ลําพูน – จัดเวทีเสริมพลังเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดลําพูน ทั้งภาครัฐ อปท. เอกชน ภาคประชาสังคม และ องค์กรภาคีเครือข่ายประชาชน สื่อมวลชน เข้าร่วม

ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค หน่วยงานประจําจังหวัดลําพูน สภาองค์กรของผู้บริโภคร่วมกับเครือข่ายหน่วยงาน คุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดลําพูน ได้ร่วมกันจัดเวทีเสริมพลังเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดลําพูน ประกอบด้วย สํานักงานยุติธรรมจังหวัดลําพูน, สาธารณสุขจังหวัดลําพูน, พาณิชย์จังหวัด, ประชาสัมพันธ์จังหวัด สวท.ลําพูน, ผู้แทน อปท., สภาทนาย ความ, หอการค้าจังหวัด, โรงพยาบาลลําพูน, หริภุญชัยอโรคยา(พระคิลานุปัฏฐาก), สื่อมวล ชน และองค์กรเครือข่ายในพื้นที่ ในวันที่ 16-17 กันยายน 2555 ณ ห้องประชุม โรงแรม แกรนด์ ปา โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท ลําพูน เชียงใหม่ ตําบลเวียงยอง อําเภอเมืองลําพูน

จังหวัดลําพูน มีกิจกรรมให้ความรู้สิทธิของผู้บริโภค โดยท่านยุติธรรมจังหวัด การแสดงของ อย. น้อย โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ การนําเสนอผลงานการทํางานตามโครงการขององค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ในจังหวัดลําพูน การจัดนิทรรศการในบริเวณงาน การสรุปบทเรียนที่ผ่านมาเพื่อนําสิ่งที่เป็นปัญหามาร่วมแก้ไข และสิ่งดีๆ ที่ค้นพบมาเป็นแนวทางในการทํางานเพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน คนลําพูนต้องรู้จักปกป้องสิทธิของตนเองและชุมชน

ด้านศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค หน่วยงานประจําจังหวัดลําพูน กล่าวว่า แผนการปฏิบัติการ ตามกรอบภารกิจ ทั้ง 7 ด้าน

  1. เสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่อหน่วยงานของรัฐในระดับจังหวัด
  2. สนับสนุนและดําเนินการตรวจสอบ ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสินค้าและบริการ แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารหรือเตือนภัยเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภคหรืออาจให้เกิดความเสียหายหรือเกิดความเสื่อมเสียแก่ผู้บริโภค ในระดับจังหวัด
  3. รายงานการกระทําหรือการละเลยการกระทําอันมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภค ไปยังหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบในระดับจังหวัด และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
  4. สนับสนุนการรวมตัวและช่วยเหลือองค์กรของผู้บริโภคภายในจังหวัด เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้บริโภค
  5. รวมกับสมาชิก และองค์กรของผู้บริโภคอื่นในจังหวัดจัดให้มีสภาจังหวัด โดยให้หน่วยงานประจําจังหวัดทําหน้าที่เป็นเลขานุการ
  6. รับเรื่องร้องเรียน ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมยอมความข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
  7. ดําเนินคดีในนามของสภาได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสภาจังหวัด ตามที่กําหนดในหมวดว่าด้วยการฟ้องคดี

ผู้สื่อข่าวจังหวัดลำพูน รายงาน

พชจ.จังหวัดลำพูน ร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับพื้นที่ในระดับจังหวัด ให้เป็นไปในทิศทาง ยุทธศาสตร์และเป้าหมาย อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัด (พชจ.) จังหวัดลำพูน ร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับพื้นที่ในระดับจังหวัด ให้เป็นไปในทิศทาง ยุทธศาสตร์และเป้าหมาย อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

วันที่ 20 กันยายน 2565 ที่ ห้องประชุมเจ้าหลวงเศรษฐีคำฝัน ศาลากลางจังหวัดลำพูน นายภาษเดช หงส์ลดารมภ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัด (พชจ.) จังหวัดลำพูน ครั้งที่ 1/2565 เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน ในภาพรวมของจังหวัด และกำกับ ติดตาม การดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ ภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า สำหรับการประชุมในครั้งนี้ เป็นการประชุมครั้งที่ 1 ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัด (พชจ.) จังหวัดลำพูน เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ในระดับจังหวัด คณะกรรมการนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ ได้มีมติเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ให้แต่ละจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัดได้ เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน ในภาพรวมของจังหวัด และกำกับ ติดตาม การดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อเป็นการขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับพื้นที่ในระดับจังหวัด เป็นไปในทิศทาง ยุทธศาสตร์ และเป้าหมาย อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน อย่างเป็นองค์รวมในภาพจังหวัด รวมทั้งมุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เสริมสร้างความเป็นผู้นำและเจ้าของร่วมกัน ในการพัฒนาและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ตลอดจนสร้างเสริมให้บุคคล ครอบครัว และชุมชน มีสุขภาวะทางกาย จิต และสังคม โดยการสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรต่างๆ ในระดับจังหวัด เพื่อให้ประชาชน มีคุณภาพชีวิตที่ดี

สำหรับวาระการประชุมประกอบด้วย การนำเสนอผลการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ สถานการณ์ ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานปีงบประมาณ 2565 การรายงานผลการติดตามเยี่ยมเสริมพลังคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับจังหวัด (พชจ.) ร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินงาน ทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ ปี พ.ศ. 2566


ผู้สื่อข่าวจังหวัดลำพูน รายงาน