ข่าวใหม่อัพเดท » เพชรบูรณ์ เปิดบันทึกข้อตกลง โครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน แก้ปัญหายาเสพติดชุมชนบ้านไร่ฝาย

เพชรบูรณ์ เปิดบันทึกข้อตกลง โครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน แก้ปัญหายาเสพติดชุมชนบ้านไร่ฝาย

15 มิถุนายน 2021
0

เพชรบูรณ์ – เปิดบันทึกข้อตกลง โครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน แก้ปัญหายาเสพติดชุมชนบ้านไร่ฝาย

ที่อาคารเอนกประสงค์ บ้านไร่ฝาย หมู่9 ต.วังโป่ง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ นายสมศักดิ์ เกี้ยวเกิด นายอำเภอวังโป่ง พ.ต.อ.ชินเดช ดีแท้ ผกก.วังโป่ง ร่วมเปิดกิจกรรมโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยมี พระครูสัทธาพัชราภิรัต เจ้าคณะตำบลวังโป่ง และส่วนราชการ ผู้นำชุมชนเข้าร่วม

ตามที่รัฐบาล ได้กำหนดให้ปัญหายาเสพติด เป็นวาระสำคัญของชาติ สภ.วังโป่ง ได้จัดทำโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาตินั้นทุกภาคส่วนจะประสานความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อให้โครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ต่อไป จึงได้จัดพิธีลงนามข้อตกลง (MOU) ระหว่าง สภ.วังโป่ง, วัด, ฝ่ายปกครองอำเภอ, ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ, พัฒนาการอำเภอ, องค์การบริหารส่วนตำบล, ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไร่ฝาย, กำนันตำบลวังโป่ง, และชุมชนบ้านไร่ฝาย

ซึ่งมีตัวแทนส่วนราชการ คณะกรรมการชุมชน, อสม. และตัวแทนภาคประชาชน ชุมชนบ้านไร่ฝาย หมู่ 9 ต.วังโป่ง ร่วมลงนามข้อตกลง ในแนวทางปฎิบัติ ตามโครงการการป้องกันและปราบปรามปัญหายาเสพติดเป็นภารกิจภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ มุ่งยึดแนวคิดการแก้ปัญหายาเสพติดตั้งแต่ต้นทาง-กลางทาง-ปลายทาง โดยเฉพาะการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านชุมชนที่มีปัญหายาเสพติด และการบูรณาการแก้ไขปัญหายาเสพ ติดตามแนวพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ด้าน พ.ต.อ.ชินเดช ดีแท้ ผกก.สภ.วังโป่ง กล่าวว่า แนวทางการดำเนินการ คือการ สืบสภาพพื้นที่เป้าหมาย โดยการจัดประชุมประชาคม พบปะแกนนำ บันทึกข้อตกลง(MOU) เพื่อแสวงหาความร่วมมือ รวมทั้งสำรวจและรวบรวมข้อมูลผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดทุกราย จัดแบ่งพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายในการดำเนินงาน พร้อมจัดชุดปฏิบัติการประจำตำบล ทำหน้าที่ปลุกพลังมวลชน ขับเคลื่อนกระบวนการประชาคม สร้างความเข้มแข็งหมู่บ้าน โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ประชาสัมพันธ์ และสร้างความรับรู้ ความเข้าใจให้ประชาชนหมู่บ้านเป้าหมาย จัดชุดปฏิบัติการ การตั้งจุดตรวจ-จุดสกัด ทำการเอ๊กซเรย์พื้นที่เป้าหมาย เพื่อค้นหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติด คัดกรองบุคคลและครัวเรือน และนำเข้าสู่กระบวนการกิจกรรมชุมชนบำบัดรักษา เยี่ยมเยียน ติดตามดูแล ผู้ผ่านการบำบัดรักษา รวมทั้งมอบหมายบุคคลหรือกลุ่มบุคคลทำหน้าที่ติดตามช่วยเหลืออย่างชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้กลับไปใช้ยาเสพติดอีก


เดชา มลามาตย์/มนสิชา คล้ายแก้ว

error: Content is protected !!