ข่าวใหม่อัพเดท » วช. หนุน ม.นเรศวร ร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตทุเรียนหลงลับแล และหมอนทอง เข้าสู่เชิงพาณิชย์ เพิ่มรายได้แก่เกษตรกร

วช. หนุน ม.นเรศวร ร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตทุเรียนหลงลับแล และหมอนทอง เข้าสู่เชิงพาณิชย์ เพิ่มรายได้แก่เกษตรกร

21 มิถุนายน 2021
0

วช. หนุน ม.นเรศวร ร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตทุเรียนหลงลับแล และหมอนทอง เข้าสู่เชิงพาณิชย์ เพิ่มรายได้แก่เกษตรกร

วันที่ 21 มิ.ย.64 เวลา 08.00 น.ณ โรงแรมฟรายเดย์ จังหวัดอุตรดิตถ์ : ผศ. ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้การสนับสนุนจัดให้มีการอบรม ให้ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตทุเรียนหลงลับแล และหมอนทอง เข้าสู่เชิงพาณิชย์ เพิ่มรายได้แก่เกษตรกร ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 มิ.ย.64 เวลา 08.00-16.30 น.ณ โรงแรมฟรายเดย์ จังหวัดอุตรดิตถ์

ผศ.ดร.พีระศักดิ์ฯ กล่าวว่า ที่มา และบทบาทความสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวข้ามความท้าทายเพื่อบรรลุเป้าหมาย ขจัดปัญหาในปัจจุบันและวางรากฐานเพื่ออนาคต จากองค์ความรู้จากการทำงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน โดยในจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้หลากหลายชนิด (กรมส่งเสริมการ เกษตร-2559) เป็นเมืองมหัศจรรย์แห่งผลไม้ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้หลากหลายชนิด ได้แก่ ทุเรียน,ลางสาด,สับปะรดห้วยมุ่น เป็นต้น แต่ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือ ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล โดยเป็นสายพันธ์ที่มีความต้องการของผู้บริโภคและมีราคาสูงนิยมรับประทานกันมากทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยเป็นผลไม้ที่สำคัญของเศรษฐกิจด้านการส่งออก ปัจจุบันยังไม่มีการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication,GI) เนื่องจากขาดข้อมูลทางวิชาการสนับสนุน ได้แก่ความโดดเด่นจากทุเรียนพันธุ์อื่นๆ

ด้านพันธุกรรมและความสัมพันธ์เชื่อมโยงทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนระบบการควบคุมภายใน เป็นต้น และเกษตรกรส่วนใหญ่พบปัญหาสำคัญในการผลิตทุเรียนพันธุ์หลงลับแล และหมอนทองในปัจจุบัน คือ ทุเรียนมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากการขาดธาตุอาหารหรือปริมาณธาตุอาหารที่มีในดินไม่เพียงพอต่อการผลิต การไว้ผลต่อต้นไม่เหมาะสมและปัญหาการแพร่ระบาดของหนอนใต้ทำลายผลทุเรียน คณะผู้ดำเนินการจัดการความรู้ได้ตระหนักถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไขดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนหลงลับแล และหมอนทองเชิงพาณิชย์ในเขตภาคเหนือตอนล่าง” ขึ้น

โดยหัวหน้าโครงการและผู้ร่วมจัดทำโครงการได้มีการสะสมความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวทุเรียนหลงลับแลและหมอนทอง ในจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์ จากการทำงานวิจัยหลายโครงการ และสะสมความรู้จากการเข้าไปพูดคุยปัญหากับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนหลงลับแลและหมอนทอง ในจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์ ทำให้ได้รับรู้ปัญหาของเกษตรกรโดยตรง ทำให้เกิดโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนาคุณภาพของผลผลิตทุเรียนหลงลับแล และหมอนทอง เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรอีกด้วย


สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน

error: Content is protected !!