ข่าวใหม่อัพเดท » สส. 4 กลุ่ม เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้ามาสู่การพิจารณาของรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบในวาระที่ 1

สส. 4 กลุ่ม เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้ามาสู่การพิจารณาของรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบในวาระที่ 1

4 กรกฎาคม 2021
0

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มี สส. 4 กลุ่ม เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้ามาสู่การพิจารณาของรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบในวาระที่ 1 ตามกระบวนการทางนิติบัญญัติ รวม 13 ฉบับ จะแก้ไขเป็นรายมาตราไม่ใช่ยกทั้งฉบับมาแก้ไขเกี่ยวพันกับรัฐธรรมนูญ 10 หมวด 51 มาตรา มี 4 กลุ่มใหญ่ คือ

  • กลุ่มพรรคพลังประชารัฐเสนอมา 1 ฉบับ จะมีการแก้ไข 5 ประเด็น 13 มาตรา
  • กลุ่มพรรคเพื่อไทยเสนอมา 4 ฉบับ แยกเป็นประเด็นจึงทำให้ง่ายต่อการลงมติ
  • กลุ่มพรรคภูมิใจไทย เสนอมา 2 ฉบับ แต่ใน 2 ฉบับนี้ ทางภูมิใจไทยจะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับระบบเลือกตั้ง และใน 2 ฉบับนี้ ที่ทางภูมิใจไทยเสนอมานี้จะยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
  • กลุ่มพรรคประชาธิปัตย์ เสนอมา 6 ฉบับนี้ มีสิทธิประโยชน์ของประชาชนรวมถึงสิทธิประโยชน์ของพรรคการเมืองอยู่ใน6ฉบับนี้ด้วย

นี่คือภาพรวมของในวาระที่ 1 ตามกระบวนการทางนิติบัญญัติ รวม 13 ฉบับ แก้ไขเกี่ยวพันกับรัฐธรรมนูญ 10 หมวด 51 มาตรา

นายแพทย์ พลเดชกล่าวต่อว่า ใน 13 ฉบับนี้ สามารถแยกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ อยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก จะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวกับปากท้องของประชาชน มีอยุ่ 5 ฉบับ ที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์โดยตรง ซึ่งฉบับของทางพรรคภูมิใจไทยได้ระบุ ถึงรายได้ขั้นต่ำของประชาชนที่ควรจะได้โดยให้ทางรัฐบาลประกันรายได้ขั้นต่ำเปรียบเหมือนด้านสาธารณสุขมีหลักประกันสุขภาพก็เช่นเดียวกับการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญให้รัฐบาลประกันรายได้ขั้นต่ำของประชาชนมีรายได้เข้าบัญชีทุกเดือน

ส่วนที่เหลืออีก 8 ฉบับ เป็นเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ของนักการเมือง ชาวบ้านไม่เกี่ยว สามารถสรุปแนวทางที่ “สวนทางกับการเมืองวิถีใหม่” ได้ 4 ลักษณะ คือ

  1. เอื้อพรรคใหญ่ สนองนายทุนพรรค อันนี้เป็นการสวนทางกับแนวคิดการทำให้พรรคการเมืองมีความเป็นประชาธิปไตยจากภายในพรรค.
  2. ยกเลิกระบบการเลือกตั้งขั้นต้น หรือ Primary vote นี่ก็เป็นการตัดบทบาทและอำนาจของมวลสมาชิกพรรค สาขาพรรค และ ตัวแทนพรรคประจำจังหวัด อันเป็นโครงสร้างฐานรากของพรรค โดยอำนาจจะถูกรวบไว้ที่ผู้บริหารพรรคและนายทุนพรรคเท่านั้น.
  3. ลดปาร์ตี้ลิสต์ กีดกันพรรคเล็ก อันนี้ถ้าศึกษาพัฒนาการของระบบปาร์ตี้ลิสต์ในเมืองไทย ตั้งแต่ รัฐธรรมนูญ 2540 2550 และ 2560 จะเข้าใจทิศทางและเป้าหมายได้ไม่ยาก
  4. เปิดทางนักการเมืองประพฤติมิชอบ อันนี้เกี่ยวของกับ มาตรา 144 และ 185 เรื่องการจัดงบประมาณ การแทรกแซงข้าราชการฝ่ายประจำ และผลประโยชน์ทับซ้อน. นพ.พลเดชกล่าวทิ้งท้าย

error: Content is protected !!