วันที่ 22 ก.ค.64 : สรุปการสัมภาษณ์ CI วัดอินทรวิหาร กทม. โดย พระโสภณธรรมวงศ์ เจ้าอาวาส ประสบการณ์ในการประสานหารพ.สนาม ให้ผู้ป่วย COVID-19 ในชุมชน และพบว่าเตียงใน รพ.สนามไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกวัน
มองว่าวัดเป็นสาธารณะสถาน และพระเป็นสาธารณะบุคคล ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการช่วยเหลือสังคมทั้งในยามทุกข์และยามสุข โดยวัดควรมีบทบาทที่เป็นรูปธรรมในการช่วยเหลือชุมชน/สังคมแก้ปัญหานอกเหนือจากการให้หลักธรรมคำสอน
หากประชาชนในชุมชนมีความทุกข์ ความกังวลในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลเนื่องจาก รพ.สนามเต็ม วัดในฐานะที่มีความพร้อมด้านอาคารสถานที่ จึงควรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้ง CI ในวัดเพื่อคลายทุกข์และสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนว่าจะเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้จริง
มีแนวคิดประยุกต์โครงการแก้มลิง ซึ่งชลอการท่วมของน้ำ การทำ CI เป็น การชลอการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยจากการแพร่เชื้อ ทำอย่างไรจึงจะมีแก้มลิงหรือ CI ให้มากที่สุด ควรทำเชิงรุกคือทำที่ไว้รองรับเลยไม่ต้องรอให้เกิดภาวะเตียงล้นแล้วค่อยทำสถานที่รองรับ เดินนำหน้าเชื้อโควิด 1 ก้าว
ควรทำ CI อย่างน้อย 1 วัด 1 ตำบล 1 ศูนย์พักคอย ไว้สำหรับรองรับผู้ป่วยในชุมชนของตน ซึ่งกลยุทธ์นี้จะช่วยลดความขัดแย้งความการเกี่ยงงอน ในการรับดูแลผู้ป่วยในศูนย์พักคอยเนื่องจากเป็นคนในชุมชน เป็นญาติพี่น้อง เป็นคนรู้จัก มีความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งกับตน
ความมั่นใจของชุมชนในมาตรฐานของระบบการจัดการ CI เป็นสิ่งสำคัญ ต้องมีการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตำรวจ จิตอาสาฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ดำเนินการให้ชุมชนเกิดความเชื่อมั่น
Cr.ขอบคุณข้อมูลข่าวสารเจ้าของภาพ
ธีรพล ปลื้มถนอม
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน