ข่าวใหม่อัพเดท » (วช.) พร้อมรับมือสถานการณ์ของประเทศ ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมด้านสังคมและความมั่นคง

(วช.) พร้อมรับมือสถานการณ์ของประเทศ ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมด้านสังคมและความมั่นคง

25 กรกฎาคม 2021
0

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดการประชุมชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรมประจําปี งบประมาณ 2565 และแถลงผลสําเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรมของสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) NRCT Open House 2021 “ด้านสังคมและความมั่นคง” ในรูปแบบออนไลน์ผ่านวีดีทัศน์ทางไกล (VDO Conference) ด้วยระบบ Zoom และการถ่ายทอดสด (Live Steaming) ผ่าน Facebook Live ของ สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ด้านสังคมและความมั่นคง ประจําปี งบประมาณ 2565 ของ (วช.) รวมทั้งแถลงผลสําเร็จจากการวิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนเเป็นเวทีแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การเขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรมและการยื่นขอทุนของ (วช.) โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานเปิดการประชุมออนไลน์

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง กล่าวถึง ความตั้งใจของ (วช.) ในการจัดกิจกรรมชี้แจงกรอบการวิจัย ปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การประชุมในครั้งนี้เป็นสื่อกลางระหว่าง (วช.) กับประชาคมวิจัยที่สนใจยื่นข้อเสนอการวิจัย และนวัตกรรม เพื่อขอรับทุนวิจัยประจําปีงบประมาณ 2565 ใหไ้ด้มีโอกาสเข้าใจแนวทางการจัดทําข้อเสนอการวิจัย และนวัตกรรม รวมถึงสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยที่ดี และ ประสบผลสําเร็จในการดําเนินการวิจัยด้านสังคมและความมั่นคง

นอกจากนั้นภายในการประชุม ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ได้กล่าวถึง “สถานการณ์สังคมไทยในปัจจุบัน ไทยกําลังเผชิญปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ที่ส่งผล กระทบต่อสังคมและความมั่นคง เช่น สถานการณ์ด้านแรงงานและเศรษฐกิจ ที่มีการจ้างงานขยายตัวเล็กน้อย เศรษฐกิจขยายตัวต่ำลงสถานการณ์การก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ที่มีอัตราเพิ่มมากขึ้น สถานการณ์การขยายตัว ของคนจนและความเหลื่อมล้ำที่คนไทยส่วนหนึ่งยังตกอยู่ในภาวะคนจนและมีแนวโน้มความเหลื่อมล้ำที่จะเพิ่มมาก ยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ สถานการณ์สุขภาพและการเจ็บป่วย เช่น การระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงการเจ็บป่วยระยะ ยาวจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ซึ่ง (วช.) ได้เตรียมพร้อมที่จะรับมือสถานการณ์สังคมที่เกิดขึ้น ด้วยการเปิดรับแผนงานสําคัญเพื่อการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ด้านสังคมและความมั่นคง โดยวางเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมที่พัฒนาอย่างยั่งยืน และมีความมั่นคงในทุกมิติ จํานวน 3 แผนงาน ได้แก่ แผนงานวิจัยด้านทุนท้าทายไทยเพื่อสังคมและความมั่นคงของชีวิต, แผนงานวิจัยด้านการส่งเสริมการวิจัยทาง สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สรรพศาสตร์, และแผนงานวิจัยด้านการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติเพื่อการวิจัยด้านสังคม (เชื่อมไทย เชื่อมโลก)

นอกจากนี้ (วช.) ได้นําเสนอ “ผลงานสําคัญ เพื่อการแก้ไขปัญหาสังคมและความมั่นคง” ประกอบด้วย โครงการประเทศไทยในอนาคต (Future Thailand) การวิจัยเพื่อความปลอดภัยทางถนน การวิจัย เพื่อสังคมไทยไร้ความรุนแรง การวิจัยเพื่อพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมทางกฎหมาย และการวิจัยเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย และสังคมโลก

กิจกรรมภายในงานประชุมการชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรม ด้านสังคมและความมั่นคง ประจําปีงบประมาณ 2565 ยังมีการเสวนาเรื่อง “ไขความลับประเด็นการวิจัยและนวัตกรรม ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลป กรรมศาสตร์” ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ กังสนันท์, รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์, และศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คัทลียา จิรประเสริฐกุล เป็นผู้ดําเนินการเสวนา เพื่อเป็นแนวทางให้กับนักวิจัยได้ทราบถึงทิศทางการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์

และมีการบรรยายเรื่อง “คิด เขียน อย่างไรเพื่อให้ได้ทุนวิจัย” โดย รองศาสตราจารย์ พันตํารวจเอกหญิง ดร.ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการเขียนงานวิจัยและนวัตกรรมที่ดี ควรมีแนวทางปฏิบัติและดําเนินการอย่างไร

ในภาคบ่ายยังได้มีการแถลง “ผลสําเร็จจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านสังคมและความ มั่นคง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเขียนข้อเสนอการวิจัย และการบริหารจัดการวิจัย” ของนักวิจัย จํานวน 3 ท่าน ประกอบด้วย

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.ศศี พงศ์สรายุทธ (งานสร้างสรรค์ดุริยางคศิลป์เพื่อสังคม สีขาว)
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง (งานวิจัยเพื่อลดความรุนแรงในสังคมไทย)
  3. รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา โชคถาวร (งานวิจัยเพื่อโรงพยาบาลพอเพียง)

ซึ่งได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในการดําเนินการโครงการวิจัย และแนวทางการบริหารพัฒนาโครงการอย่างไรให้ประสบความสําเร็จ โดยนักวิจัยที่สนใจจะขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยสามารถส่งข้อเสนอโครงการผ่านระบบ NRIIS ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2564 นี้ และสามารถดูรายละเอียดได้ทาง www.nrct.go.th


สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน

error: Content is protected !!