วช. มอบรางวัลการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2564 สร้างแรงจูงใจให้เยาวชน เป็นนักวิจัย และนักประดิษฐ์ ที่มีศักยภาพ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบรางวัลการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2564 ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัล จะได้รับเงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร จาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้มอบในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 (Thailand Research Expo 2021)” ณ เวที Highlight Stage โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า (วช.) ให้ความสำคัญต่อการสร้างนักวิจัยและนักประดิษฐ์ ในการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในสถาบันการศึกษา โดยเสริมสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะและเทคนิคด้านนวัตกรรม กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้เข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนา อันจะเป็นการสร้างและพัฒนาเยาวชนให้เป็นนักวิจัยและนักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพและศักยภาพในการเติบโตเป็นบุคลากรทางการวิจัยของประเทศต่อไป
(วช.) ได้กำหนดกลุ่มเรื่องผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้มีความสอดคล้องกับกลุ่มเรื่องของ Thailand 4.0 และ BCG โมเดล 5 กลุ่ม ดังนี้ ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร, ด้านการสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์, ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อุปกรณ์อัจฉริยะ, ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model และ ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
โดยในปี 2564 มีผู้ได้รับรางวัลการเขียนข้อเสนอโครงการนวัตกรรมสายอุดมศึกษา มีดังนี้ ระดับปริญญาตรี
- ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “ชลาศัยให้น้ำพืชและป้องกันดินเค็ม” ของ นายประกอบ เกิดท้วม และ นายสุรธัช พ่วงผจง แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ด้านการสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “ชุดตรวจการแพ้ยาคาร์บามาเซพีนสำหรับรักษาโรคลมชัก” แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “บอลออโตเมติก ไร้ข้อติด กล้ามเนื้อมือยืดขยาย คลายตัวสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง” แห่ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
- ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “เครื่องอบแห้งเศษเส้นก๋วยเตี๋ยวจากพลังงานความร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์พลอยได้” แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และ
- ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “เครื่องการนำคืนแอลกอฮอล์จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลโดยใช้รังสีอาทิตย์ แห่ง มหาวิทยาลัยทักษิณ
ระดับบัณฑิตศึกษา มีดังนี้
- ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “ต้นแบบผลิตภัณฑ์ผงไมโครเอนแคปซูลน้ำมันกรดไขมันสายกลางเข้มข้นสำหรับแม่สุกรอุ้มท้องและเลี้ยงลูก” แห่ง มหาวิทยาลัยนเรศวร
- ด้านการสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “อุปกรณ์ให้ปุ๋ยพร้อมระบบน้ำขนาดเล็ก” แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “อุปกรณ์ตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้าแบบไร้สายสำหรับวิเคราะห์สารอันตรายในผลิตภัณฑ์เสริมความงาม” แห่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “RX-Shield: สารเคลือบป้องกันรังสีเอกซ์จากวัสดุคอมพอสิตยางธรรมชาติ” แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ
- ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “กรีน บับเบิล : ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าประสิทธิภาพสูงจากเซลลูโลสอสัณฐาน” แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ยังมี ผู้ได้รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา มีดังนี้
ระดับปริญญาตรี มีดังนี้
- ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย
เรื่อง “ชลาศัยให้น้ำพืชและป้องกันดินเค็ม” แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ด้านการสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย “การพัฒนาอุปกรณ์ถ่างขยายหลอดลมจากวัสดุฉลาดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด” แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “สื่อการเรียนรู้ระบบหัวใจและหลอดเลือดด้วยหนังสือเทคโนโลยีมิติเสมือนจริง” แห่ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
- ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “กระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการบำบัดน้ำเสียจากสิ่งทอด้วยฟิล์มพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอต ชนิดสายยาวปานกลาง”
แห่ง มหาวิทยาลัยทักษิณ และ - ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหวโดยได้รับแรงบันดาลใจจากนิทานพื้นบ้านไทย” แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระดับบัณฑิตศึกษา มีดังนี้
- ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนพลังงานชีวมวลเพื่อเพิ่มสมรรถนะโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์” แห่ง มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
- ด้านการสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย “ชุดทดสอบแอลกอฮอล์ในน้ำลาย” แห่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ ระดับดี ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “นวัตกรรมการนำทางโดยใช้สีดิจิทัลสำหรับพัฒนาทักษะปฏิบัติรำวงมาตรฐาน” แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “กระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการบำบัดน้ำเสียจากสิ่งทอด้วยฟิล์มพอลิไฮดรอกซีอัลคาโนเอต ชนิดสายยาวปานกลาง”
แห่ง มหาวิทยาลัยทักษิณ และ - ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระดับดีเด่น ได้แก่ ผลงานวิจัย เรื่อง “การพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย: History of Art…การเดินทางของศิลปะ” แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การมอบรางวัลการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2564 วช. หวังว่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนให้เป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพและศักยภาพ สามารถเผยแพร่สู่สาธารณชนและการแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติ และส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาได้มีเครือข่ายด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน อีกด้วย
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน