ข่าวใหม่อัพเดท » วิทยาลัยการอาชีพนวมิน มุกดาหาร เจ๋งประดิษฐ์พลังงานทดแทนเพื่อการเกษตร 

วิทยาลัยการอาชีพนวมิน มุกดาหาร เจ๋งประดิษฐ์พลังงานทดแทนเพื่อการเกษตร 

16 กุมภาพันธ์ 2022
0

มุกดาหาร – วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินี มุกดาหาร คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ด้านพลังงานทดแทนเพื่อการเกษตร กระท่อมปลายนาพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ ภายใต้โครงการ ”วิจัยสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ นวัตกรรมอาชีวศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ”

เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 65 นายวิชา อาญาเมือง ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร, ดร.ธีระพันธ์ พิพัฒนสุข ครู แผนกวิชา อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์, นายณรงค์ ภักดี ครู แผนกวิชา อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์, นายณรงค์ ภักดี ครู พร้อมด้วยนักศึกษา ระดับชั้น ปวช.1 สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร ได้คิดค้นทำโครงการวิจัย สิ่งประดิษฐ์ด้านพลังงานทดแทนเพื่อการเกษตร กระท่อมปลายนาพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ ภายใต้โครงการ ”วิจัยสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ นวัตกรรมอาชีวศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจน”

ดร.ธีระพันธ์ พิพัฒนสุข ครู แผนกวิชา อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญไฟฟ้า-อิเล็กทรอ นิกส์ เปิดเผยว่า สิ่งประดิษฐ์อัจฉริยะโดยใช้โทรศัพท์มือถือ เป็นนวัตรกรรมใหม่ของวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร โดยสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ หลักการโซล่าเซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อควบคุมสมาร์ทฟาร์ม ซึ่งแผงโซล่าเซลล์จะหมุนตามแสง ซึ่งเราก็จะได้พลังงานเต็มที่ตลอดทั้งวัน ส่วนระบบน้ำจะใช้โทรศัพท์มือถือในการควบคุม เพื่อสามารถเปิดปิดได้เองโดยอัตโนมัติ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน สามารถประหยัดไฟฟ้า ประหยัดเวลา ซึ่งเป็นการผลิตโดยนักศึกษา ปวช.1 วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว ถ้าหาก อบต.ใดสนใจก็สามารถติดต่อได้ที่ วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร โดยค่าใช้จ่ายทั้งชุดราคาประมาณ 25,000 บาท

โดยโครงการวิจัยสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ นวัตกรรมอาชีวศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความยากจน เป็นพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานชนิดหนึ่งที่สามารถผลิตได้จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ที่อยู่ในรูปแบบของแสงแดด เป็นพลังงานที่หมุนเวียนสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ หรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง ไม่มีวันหมด จึงได้นำเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีความแม่นยำสูง เข้ามาช่วยในการทำงาน นอกจากนี้สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว มีระบบควบคุมเกษตรอัจฉริยะ ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ เป็นตัวควบคุม สามารถควบคุมเกษตรอัจฉริยะ ด้วยโทรศัพท์สมาร์ทโฟน สามารถควบคุมได้ทุกที่ทุกเวลา และมีชุดควบคุมพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 220 โวลต์

ทั้งนี้ ภาคการเกษตรถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ปัจจุบันภาคการเกษตรของไทย ต้องเผชิญปัญหา และความท้าทายนานัปการ อาทิ ปัญหาการเพาะปลูก เช่น ภัยธรรมชาติ ความไม่แน่นอนของอากาศ ความเสี่ยงจากโรคระบาด และแมลงศัตรูพืช รวมไปถึงปัญหาทางด้านแรงงานที่เกษตรกรมีแนวโน้มเป็นผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และปัญหาแรงงานข้ามชาติ นอกจากนี้ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป การผลิตสินค้าเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีปัจจัยการผลิตที่ดีร่วมกับระบบการจัดการที่ดี โดยการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และผสมผสานกับเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ รวมทั้งนาโนเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการฟาร์ม ซึ่งจะส่งผลให้การทำฟาร์มในรูปแบบเดิมก้าวข้ามไปสู่ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm หรือ Intelligent Farm)


อนุศักดิ์ – เสาวภา แสนวิเศษ // มุกดาหาร 081-5449094

error: Content is protected !!