“วิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน” ความหลากหลายที่รัฐจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบริบทเรียนรู้
เมื่อวันที่ 21 มี.ค.65 ดร.สัณหพจน์ สุขศรีเมือง ส.ส.จ.นครศรีธรรมราช เขต 2 (อ.ปากพนัง หัวไทร เชียรใหญ่) ในฐานะเจ้าของพื้นที่ข้อพิพาทการทำประมงพื้นบ้าน ได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์การประชุมหารือระหว่าง คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร (กมธ.ปปช.) นำโดย นายสุทา ประทีป ณ ถลาง ,นายจารึก ศรีอ่อน รองประธานคณะกมธ. ,นายธีรัจชัย พันธุมาศ โฆษกคณะกมธ. , นายไตรรัตน์ ไชยรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ,นายสุเทพ แก้วประดิษฐ์ นายอำเภอเมือง ,นายธีระพงศ์ ชูช่วย นายอำเภอปากพนัง, น.อ.สมเกียรติ ทรงสวัสดิ์ รองผอ.ศรชล.นครศรีธรรมราช ,นายพรศักดิ์ ศักดิ์ธานี ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช ,นายสมเจน รักขประเสริฐ รก.ผจภ 4 (นศ ) สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคนครศรีธรรมราช ตัวแทนนายอำเภอท่าศาลา ตัวแทนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พร้อมด้วยกลุ่มประมงพื้นบ้าน (กลุ่มนายวิรชัช เจะเหล็ม นายกสมาคมประมงพื้นบ้าน จ.นคร ศรีธรรมราช ซึ่งมีเครือข่ายสมาชิกจำนวนทั้งหมด 33 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มอนุรักษ์ 19 กลุ่ม กลุ่มแปรรูปประมง 14 กลุ่ม สมาชิกประมาณ 3,000 คน กลุ่มนายมาโนช ดวงดี นายกสมาคมประมงชายฝั่งปากพนัง และกลุ่มประมงอิสระ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย
ข้อสรุปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นพบว่า ในแต่ละเขตพื้นที่ของอ่าวปากพนัง ครอบคลุมพื้นที่ 110,000 ไร่ ใน 3 อำเภอ อ.ท่าศาลา อ.เมือง อ.ปากพนัง (จากข้อมูล ปี 2558 ของกรมประมง มีผู้ขึ้นทะเบียนทำประมง (ทบ.3) จำนวน 2,740 คน เรือประมง 1625 ลำ ผู้ขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ประเภทชายฝั่ง 23 ชุมชน สมาชิก 1,594 คน) ซึ่งกลุ่มประมงพื้นบ้านต่างมีวิถีชีวิตการทำประมงที่มีความหลากหลายซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยมีการสรุปประเด็นปัญหาดังนี้
- การสร้างบ้านปลา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ซึ่งในความเข้าใจของประมงพื้นบ้านบางกลุ่ม ได้กลายเป็นสิ่งกีดขวางการทำประมงชายฝั่ง
- การจัดเวทีเสวนา เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันของการทำประมงพื้นบ้านในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีอาณาเขตครอบคุลมอ่าวปากพนัง
- การสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านข้อกฎหมายของการทำประมงพื้นบ้านและประมงชายฝั่ง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องของการใช้เครื่องมือทำประมงที่ผิดกฎหมาย
- การเสนอขอตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อแก้ไขปัญหาประมพื้นบ้าน ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ ประเด็นนี้ตนขอเสนอให้มีการหารือร่วมกับคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาประมงไทย อยู่แล้วในเบื้องต้น
อย่างไรก็ตามในชั้นที่ประชุมร่วมระหว่าง กมธ.ปปช. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มประมงพื้นบ้าน ณ ห้องศรีวิชัย ศาลากลางจ.นครศณีธรรมราชนั้น คณะกมธ.ปปช. จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่วาระการหารือของที่ประชุมอีกครั้ง สำหรับการบังคับใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงพื้นบ้าน จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจ และสร้างการรับรู้ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ และตกผลึกเป็นข้อตกลงร่วมกัน โดยครอบคลุมทั้งการปราบปรามการใช้ประมงที่ผิดกฎหมาย การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง การสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาภายหลังการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อจูงใจให้มีการเลิกใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย ที่สำคัญคือการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและกลุ่มประมงพื้นบ้าน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือการสร้างรายได้จากอาชีพซึ่งเป็นวิถีชีวิตท้องถิ่น และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลที่จะสืบทอดต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่อไป
ดรชัย #สัณหพจน์สุขศรีเมือง #ประมงพื้นบ้าน #อ่าวปากพนัง #คนลุ่มน้ำปากพนัง #ชัยชวนคิด #จะตอบแทนพี่น้องด้วยผลงาน