เมื่อการจับกุมชาวบ้านที่ปลูกกัญชาเพียงต้นสองต้น กลายเป็นความ “ตู้ ” ของตำรวจผู้จับกุม จริงอยู่ !! แม้จะเป็นการปฎิบัติหน้าที่ รักษากฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์ แต่ตำรวจชุดนั้น มักจะถูกกระแสสังคมประณาม ลุกลามไปถึงผู้บังคับบัญชาและหน่วยสืยบสวนปราบปรามทั่วไป ราวกับไฟไหม้ฟาง !! ส่งผลให้ ” บิ๊กรอย “พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รองผบ.ตร.ปป.ต้องมีคำสั่งกำชับใช้แนวทางกฏหมาย ในการจับกุมกัญชา ให้ใช้หลักทั้งรัฐศาสตร์ ควบคู่ นิติศาสตร์
วันที่ 29 มีนาคม 2565 พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์รอง ผบ.ตร.(ปป) และผอ.ศอ.ปส.ตร.มีคำสั่งเป็นวิทยุในราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถึง ผู้รับปฏิบัติตำรวจนครบาล ตำรวจภูธร 1- ตำรวจตระเวนชายแดตำรวจสอบสวนกลาง ตำรวจ ท่องเที่ยว ตำรวจไซเบอร์ และตำรวจปราบปรามยาเสพติด ระบุว่า
1. ตามที่ได้มี พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2565 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 พ.ย.64 ที่ผ่านมา มีเจตนารมณ์เพื่อปรับปรุงรวบรวมบทบัญญัติของกฎหมายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันโดยเฉพาะการเปิดกว้างให้นำพืชเสพติดออกจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เพื่อใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ทางวิทยาศาสตร์ และทางอุตสาหกรรม
2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 พ.ศ.2565 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 9 ก.พ.65 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วัน นับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 9 มิ.ย.2565
3.ทวิทยุตร. ด่วนที่สุด ที่ .154 / 143 ลง 3 มี.ค.65 ส่งร่างพ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ……….ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาทำความเข้าใจและจัดการประชุมพิจารณาเสนอความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายดังกล่าว ว่ามีประเด็นใดที่จะกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมทั้งให้เสนอแนะแนวทางการแก้ไข และรวมทั้งตั้งข้อสังเกตไปยัง ศอ.ปส.ตร. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวต่อไป
4. เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงรอยต่อของกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเคยถือปฏิบัติอยู่เดิม ดังนั้นเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นไปด้วยความถูกต้องเหมาะสม และไม่เกิดข้อผิดพลาดจึงให้ดำเนินการ ดังนี้
(4.1) กำหนดให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาระดับ บช.,ภ. บก.,ภ.จว. และหัวหน้าสถานีตำรวจ ในการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด รวมถึงการกำกับดูแล กำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติ
(4.2) ให้ดำเนินการประชุม ชี้แจง สร้างความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติ ให้รับทราบถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายยาเสพติด และกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง
(4.3) ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติ ทำการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่ถูกต้องแก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดความสน
(4.4) หัวหน้าสถานีตำรวจ จะต้องติดตามความคืบหน้าของกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่งที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องเอาใจใส่กำกับดูแลการปฏิบัติของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติ
(4.5) กรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำผิดตามข้อ 2 ให้หัวหน้าชุดจับกุมรายงานเหตุให้หัวหน้าสถานีตำรวจทราบในทันที เพื่อเข้าร่วมตรวจสอบและควบคุมการปฏิบัติให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้องและเหมาะสม ต่อไป
จึงแจ้งมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด “คำสั่งดังกล่าวระบุ”
“รองรอย”ยังได้ กล่าวถึง กรณี ที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 พ.ศ.2565 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 9 ก.พ.65 มีผลใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด 120 วัน นับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 9 มิ.ย.2565 นั้นได้สั่งเน้นย้ำให้ผู้บังคับบัญชาและหัวหน้าชุดจับยาเสพติดทุกหน่วยได้เน้นใช้วิจารณญาณ ในการบังคับใช้กฏหมายให้เป็นไปตามเจตนา ทั้งหลักรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ของกฏหมาย พร้อมทั้งได้มีการประชุมมอบเป็นนโยบายไปหลายครั้งแล้ว โดยได้เน้นย้ำไปยังผู้บังคัญบัญชา ให้ลงไปทำความเข้าใจแนวทางปฎิบัติให้เกิดความเหมาะสมควรแก่เหตุ ก่อนที่กฏหมายจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติยืนยันว่า ถือปฏิบัติตามกฏหมาย และเรื่องยาเสพติด มี ปปส. กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานระดับนโยบายควบคุมกำกับในภาพรวมซึ่ง หน่วยบังคับใช้กฏหมายยาเสพติดต้องรับฟังนโยบายมาปฏิบัติ
พล.ต.อ.รอยฯ เน้น เพิ่มเติมอีกว่า ได้มีการประชุมถึงแนวทางในการปฎิบัติถึงกรณีนี้ตลอดมาดังนี้
1. ปปส.ได้จัดอบรมเรื่อง กฎหมายยาเสพติดใหม่ 2564 ให้กับทุก บช.ทั่วประเทศ ขณะนี้กำลังอบรมให้ ตร.ภาค 9 ที่ รร.ลีกาเดนท์ หาดใหญ่ ห้วง 28-29 มีค.65 ( ปปส.จัดอบรมทุก บช. / ภ.9 เป็นภาคสุดท้าย)
2.ศอ.ปส.ตร. ได้จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ กม.ยาเสพติดใหม่ ให้แก่ รอง ผบช. และ รอง ผบก. สังกัด บช.น /ภ.1-9 ที่รับผิดชอบยาเสพติด แล้ว เมื่อ 25 พ.ย.64 เพื่อให้นำไปถ่ายทอดให้แก่ผู้ปฎิบัติของหน่วย
3 .การประชุมศอปส.ตร. ครั้งที่ 1เมื่อ 26 ม.ค.65 สั่งการผู้บังคับบัญชาไปถ่ายทอดความรู้ และให้ผู้ปฎิบัติใหม่ เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน เป็นเช่นนี้ ตำรวจคงผ่อนคลายมากขึ้น ชาวบ้านที่ไม่มีเจตนาทำผิดเพื่อการค้ายาเสพติดจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อกฎหมายต่อไป.