ข่าวใหม่อัพเดท » อดีตพนักงาน กทท.นับร้อยคนบุกร้อง สตง.ตรวจสอบกรณี โดนดีเอสไอ กล่าวหาว่าเบิกค่าล่วงเวลา ปี 45-55 เป็นเท็จทำให้รัฐเสียหายหลายพันล้าน

อดีตพนักงาน กทท.นับร้อยคนบุกร้อง สตง.ตรวจสอบกรณี โดนดีเอสไอ กล่าวหาว่าเบิกค่าล่วงเวลา ปี 45-55 เป็นเท็จทำให้รัฐเสียหายหลายพันล้าน

12 พฤษภาคม 2022
0

อดีตพนักงาน กทท.นับร้อยคนบุกร้อง สตง.ตรวจสอบกรณี โดน ดีเอสไอ กล่าวหาว่าเบิกค่าล่วงเวลา ปี 45-55 เป็นเท็จทำให้รัฐเสียหายหลายพันล้าน

วันที่ 12 พ.ค.65 เวลา 10.30 น. ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นายกฤษฎา อินทามระ ทนายความพร้อมพนักงานและอดีตพนักงานการท่าเรือกว่า 100 คน เดินทางมายื่นหนังสือร้องเรียน ถึงผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเบิกค่าล่วงเวลาของพนักงานในช่วงปี 2552-2555 ว่ามีการเบิกจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นเท็จทำให้รัฐเสียหายหลายพันล้านบาทจริงหรือไม่เพียงไร หากเป็นจริงขอให้ตรวจสอบว่า การเบิกเท็จนั้นทำให้รัฐเสียหายเป็นจำนวนเงินเท่าไร

สืบเนื่องมาจากเมื่อปี 2557 คณะกรรมการคดีพิเศษ ดีเอสไอ มีมติให้ กรณีการทุจริตเบิกค่าล่วงเวลาของพนักงานการท่าเรือฯ แล้วใช้เอกสารแห่งการทุจริตดังกล่าวไปฟ้องคดีต่อศาลแรงงานเพื่อเรียกร้องเงินเพิ่มเติมในห้วงปี 2545-2555 รวมมูลค่าที่เรียกร้อง 3,000-3,500 ล้านบาท เป็นคดีพิเศษที่ 4/2557 โดยมีผู้บริหารการท่าเรือฯ หลายคนไปให้การต่อศาล และ ดีเอสไอ ว่าพนักงานไม่ได้ทำงานล่วงเวลาจริงหรือทำไม่ครบถ้วนแต่มาขอเบิกค่าล่วงเวลาออกไป ทำให้รัฐเสียหายหลายพันล้านบาทนั้น

นายกฤษฎาฯ กล่าวว่า การที่ผู้บริหารของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ไปให้การต่อศาลในคดีแรงงาน และให้การต่อ ดีเอสไอ กล่าวหาว่า พนักงานไม่ได้ทำงานล่วงเวลาจริงแต่มีการตั้งเรื่องขอเบิกเงินหลวงออกไปนั้น ทำให้ สตง.ได้รับผลกระทบจากคำพูดดังกล่าวเพราะ สตง.มีหน้าที่ควบคุมดูแลตรวจสอบการจ่ายเงินของแผ่นดินเกี่ยวกับค่าล่วงเวลาของ กทท.ด้วย แต่กลับมีเรื่องอื้อฉาวในการท่าเรือฯ ว่ามีการเบิกเงินหลวงอันเป็นเท็จมูลค่าความเสียหายหลายพันล้านบาทในช่วงปี 45-55 ดังนั้น (สตง.) จึงอาจมีความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดหรือสนับสนุนให้มีการกระทำผิดอย่างใหญ่หลวงผิดตามมาตรา 157 ผมจึงต้องพาพนักงาน 100 กว่าคนมารัองขอให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน สอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์ทราบว่า มีการเบิกเงินหลวงอันเป็นเท็จมูลค่าความเสียหาย 3,000-3,500 ล้านบาทตามที่ ดีเอสไอ รับเป็นคดีพิเศษหรือไม่อย่างไร

หนึ่งในพนักงาน (กทท.) ที่มาร้อง (สตง.) กล่าวว่า ตนและเพื่อนๆ เกษียณมาตั้งแต่ปี 61 ถูกอดีตผู้บังคับบัญชา (กทท.) ร้อง ดีเอสไอ กล่าวโทษพวกตนซึ่งเป็นพนักงาน (กทท.) หลายฝ่าย ทั้ง รถยก หัวลาก,แผนกเรือ,พนักงานบันทึกข้อมูลหน้าท่า,เรือลากจูง,แคนตี้เครน เป็นต้น เบิกเงินค่าล่วงเวลาเป็นเท็จ ตามที่ ดีเอสไอ ตรวจสอบ

วันนี้มาร้อง (สตง.) ให้ตรวจสอบว่าการเบิกค่าล่วงเวลาเป็นซึ่งมีคำพิพากษาศาลแรงงานกลางตัดสินว่าเป็นค่าล่วงเวลาจริงบางส่วน แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ที่ต้องมาร้อง (สตง.) วันนี้ เพื่อให้พิสูจน์ว่าพวกเราได้มีการทำงานล่วงเวลาจริง เบิกเงินค่าล่วงเวลาจริง ไม่ใช่เบิกเท็จตามที่ ดีเอสไอ กล่าวหา โดยมี นายวุฒิไกร วงษ์กรอบศิลป์ ผอ.ตรยจสอบพิเศษที่ 1 สำนักตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้รับหนังสือเพื่อเสนอผู้ตรวจเงินแผ่นดินพิจารณาต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ดีเอสไอ รับคดีนี้เป็นคดีพิเศษเมื่อ 2560 โดยแถลงข่าวมีผู้ต้องหาจำนวนทั้งสิ้น 800 คน

ล่าสุด ทาง ดีเอสไอ ได้มีหมายเรียกให้ผู้ต้องหามารับทราบข้อกล่าวหาเพียง 32 คนเท่านั้น โดยผู้ต้องหา 4-5 คนได้ทยอยกันไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ ดีเสไอ แล้ว และในวันที่ 17-20 พ.ค.65 นี้ผู้ต้องหาที่เหลือก็จะไปรับทราบข้อกล่าวหา แต่ข้อกล่าวหาของ ดีเอสไอ กลายเป็นข้อหาเบิกความเท็จ และนำสืบพยานหลักฐานเท็จเท่านั้น ไม่ใช่ข้อหาทุจริตเบิกค่าล่วงเวลาตามที่ ดีเอสไอ ตั้งเป็นคดีพิเศษ แต่อย่างใด


สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน

error: Content is protected !!