ข่าวใหม่อัพเดท » “อลงกรณ์” ประกาศนโยบายส่งเสริมเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรมูลค่าสูง ตั้งเป้าสร้างรายได้ 2 ล้านล้านบาทภายในปี 2030

“อลงกรณ์” ประกาศนโยบายส่งเสริมเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรมูลค่าสูง ตั้งเป้าสร้างรายได้ 2 ล้านล้านบาทภายในปี 2030

22 มิถุนายน 2022
0

“อลงกรณ์” ประกาศนโยบายส่งเสริมเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรมูลค่าสูง ตั้งเป้าสร้างรายได้ 2 ล้านล้านบาทภายในปี 2030

ในงานเสวนาหัวข้อ “อินทรีย์ – เคมี โอกาสของไทย ภายใต้วิกฤตอาหารโลก” วันนี้ ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค โดยมีนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นประธานเปิดงานซึ่งจัดโดยกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย และเกษตรกรผู้ปลูกผักแบบ GAP พร้อมด้วย นางสาวเพชรรัตน์ เอกแสงกุล ประธานกิตติมศักดิ์ กรรมการคณะกรรมการกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, นายสุภัค เหล่าดี เลขานุการฝ่ายวิชาการ สมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย, ดร.จรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศ ไทย, นายสุรวุฒิ ศรีนาม เกษตรกรผู้ปลูกผักมาตรฐาน GAP, ผู้แทนภาคเอกชน-ภาครัฐ- เกษตรกร, และผู้แทนพรรคการเมือง เช่น นายอลงกรณ์ พลบุตร พรรคประชาธิปัตย์, นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง พรรคภูมิใจไทย, นางสาวสกุณา สาระนันท์ พรรคเพื่อไทย, และ ดร. เดชรัต สุขกำเนิด พรรคก้าวไกล ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และหาทางออกในการเพิ่มศักยภาพการผลิตวัตถุดิบทางการเกษตรอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ใช้ปัจจัยการผลิต ปุ๋ย และสารเคมีเกษตรเพื่ออาหารปลอดภัย
 

นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ภายใต้วิกฤติโควิด การเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศและสงครามรัสเซีย-ยูเครน กระทบต่อห่วงโซ่การผลิตอาหารและราคาอาหารแพงขึ้น ทำให้โลกเผชิญปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นโอกาสในวิกฤติของไทย ในฐานะที่เป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรชั้นนำของโลกและเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับ 12 ของโลกจากกว่า 200 ประเทศ

เพื่อตอบโจทย์โอกาสแห่งอนาคต พรรคประชาธิปัตย์จึงกำหนดแนวทางในการพัฒนาภาคเกษตรด้วย 5 เป้าหมายในการสร้างมิติใหม่จากครัวไทยสู่ครัวโลกได้แก่

  1. เป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยท็อปเทนของโลก
  2. เพิ่มรายได้เกษตรกร เพิ่มรายได้ส่งออกอาหาร 2 ล้านล้านภายในปี 2030
  3. ประเทศชั้นนำเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองและชนบท
  4. ลดก๊าซเรือนกระจกแก้ปัญหาโลกร้อน ตอบโจทย์
  5. Climate Change
  6. ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหาร ขจัดความอดอยากหิวโหย

ทั้งนี้มีนโยบายหลักๆที่ยกมาเป็นตัวอย่าง เช่น

  1. นโยบายประกันรายได้เกษตรกรสู่การเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืนด้วยการต่อยอดพัฒนาสู่เกษตรมูลค่าสูง
  2. นโยบายส่งเสริมเกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง และเกษตรยั่งยืน บนฐาน คุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตร
  3. นโยบายตลาดนำการผลิต และระบบการค้าที่เป็นธรรม(Fair trade)
  4. นโยบายส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตรเพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลิตภาพการผลิต(productivity)
  5. นโยบายอาหารแห่งอนาคตเป็นทางเลือกใหม่ในการผลิตสินค้าเกษตร เช่นโปรตีนทางเลือกใหม่ ได้แก่ โปรตีนแมลง โปรตีนพืช สาหร่าย ผำ เห็ด เป็นต้น
  6. นโยบายโลจิสติกส์เกษตร เชื่อมไทยเชื่อมโลกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการเปิดประตูการค้าใหม่เช่นเกตเวย์อีสาน-เหนือ -ใต้ -ออก -ตกรวมทั้งเส้นทางขนส่งใหม่ๆเช่นเส้นทางรถไฟจีน-ลาว

สำหรับประเด็นเรื่องเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์ จะขับเคลื่อนสนับสนุนส่งเสริมเกษตรปลอดภัยด้วย 3 แนวทางไปพร้อมๆ กัน ได้แก่
1.เกษตรอินทรีย์
2.เกษตรเคมี-อินทรีย์
3.เกษตรเคมี

ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม

  1. เกษตรรายย่อย
  2. เกษตรพาณิชย์
  3. เกษตรอุตสาหกรรม
  4. เกษตรส่งออก

โดยจะส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจเกษตรหรือนิคมเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อเป็นฐานการแปรรูปอาหารปลอดภัยใน18กลุ่มจังหวัดตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่เพื่อกระจายโอกาส การค้า การลงทุนและการจ้างงานไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ

“ประเทศไทยนำเข้าปุ๋ยเคมีที่เป็นธาตุอาหารของพืชเมื่อปีที่แล้วกว่า 5 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 100% ขณะที่มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพปีละ 2 ล้านตัน มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 1.3 ล้านไร่ จากพื้นที่เกษตรทั้งประเทศ 149 ล้านไร่ กลุ่มเกษตรอินทรีย์และกลุ่มเกษตรเคมีจึงควรหันหน้าร่วมมือกันให้มากขึ้น โดยยึดแนวทางเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรมูลค่าสูงเป็นสำคัญด้วยมาตรการGAPและเกษตรกรรมยั่งยืนโดยเฉพาะในภาวะขาดแคลนอาหารทั่วโลกถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจของไทยทางด้านการส่งออกสินค้าเกษตรในฐานะครัวโลก “นายอลงกรณ์กล่าวในท้ายที่สุด


error: Content is protected !!