ข่าวใหม่อัพเดท » สถาบันพระปกเกล้า ลงใต้ขับเคลื่อนเชิงรุกสันติวัฒนธรรมในสถานการศึกษา ผ่านความรู้ให้น้องในห้องเรียน

สถาบันพระปกเกล้า ลงใต้ขับเคลื่อนเชิงรุกสันติวัฒนธรรมในสถานการศึกษา ผ่านความรู้ให้น้องในห้องเรียน

8 กรกฎาคม 2022
0

สถาบันพระปกเกล้า ลงใต้ขับเคลื่อนเชิงรุกสันติวัฒนธรรมในสถานการศึกษา ผ่านความรู้ให้น้องในห้องเรียน

วันที่ 8 กรกฎาคม 2565  สถาบันพระปกเกล้า โดยสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล ร่วมกับโรงเรียนเร๊าะห์มานียะห์ และมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ดำเนินโครงการการขับเคลื่อนการสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา ณ โรงเรียนเร๊าะห์มานียะห์ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ควบคู่กับวิชาสามัญ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

โดยมี ผอ.ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ดร.ชลัท ประเทืองรัตนา ตลอดจนเจ้าหน้าที่สำนักฯ มาเป็นวิทยากรจัดกิจกรรมแก่นักเรียนของโรงเรียน และมีผู้แทน สช.อ.จะนะ นายอับดุลรอหมาน สอมัน (นักวิชาการการศึกษา ชำนาญการ) มาร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการ โดยมี ดร.สุรชัย (ฟูอ๊าด) ไวยวรรณจิตร ในฐานะผู้บริหารโรงเรียนให้การต้อนรับ

สำหรับการอบรมแบบมีส่วนร่วม บรรยายโดย นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล พร้อมด้วย ดร.ชลัท ประเทืองรัตนา นักวิชาการผู้ชำนาญการและนักวิจัยโครงการฯ ดร.พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล ผู้จัดการโครงการมูลนิธิฟรีดริชเนามัน ได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ “TUNA ACT Model” เพื่อขับเคลื่อนสันติวัฒนธรรม ความรู้สันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา : ความหมายและหลักการสำคัญ ”ความรู้“ ธรรมชาติ พลวัต ประเภท การจัดการความขัดแย้งความรู้ “การเข้าใจตนเองและผู้อื่น” ความรู้ “การอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธีภายใต้ความหลากหลาย” “การวิเคราะห์ความขัดแย้งและบริบท สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา” ในรูปแบบการบรรยายแบบมีส่วนร่วมและใช้กิจกรรมต่างๆ ประกอบการเรียนรู้ทั้งเกม แป้ง เก้าอี้ เชือก และปิดท้ายของวันด้วย การวิเคราะห์ความขัดแย้งและบริบท/สภาพแลดล้อมที่เอื้อต่อสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา

โดยกิจกรรมแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม คือ แบบคละชั้นปี ในวันที่สอง วิทยาการบรรยายให้ความรู้ในเรื่อง “การสื่อสารเพื่อความเข้าใจ Thinking Environment “เข้าใจและร่วมมือต้าน Hate Speech ในสถานศึกษา” ดร.พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล ผู้จัดการโครงการมูลนิธิฟรีดริช เนามัน จากนั้นเป็นกิจกรรม “เกมการตีตรา” โดยเป็นการบรรยายแบบมีส่วนร่วมและใช้กิจกรรมต่างๆ ประกอบการเรียนรู้

สุดท้ายเป็นการขับเคลื่อนสันติวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา : จัดทำแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แนวคิดโครงการที่น่าสนใจ อาทิ โครงการปรับเปลี่ยนทัศนคติไม่ให้เกิดการใช้คำพูด Bully  ในเรื่องความงาม โครงการ ไม่ให้เกิดการ Bully จากการดูพี่เป็นตัวอย่างที่ดีและ โครงการสานสัมพันธ์สันติวัฒนธรรม ผ่านการอบรมให้ความรู้กับน้องในโรงเรียน


ภาพ/ข่าว
นายโยธิน พรมแตง
บรรณาธิการข่าวอาวุโส
สำนักข่าวความมั่นคง
รายงาน

error: Content is protected !!