ข่าวใหม่อัพเดท » ชาวลำพูนหลายร้อยคน ไม่เอาโรงไฟฟ้าขยะ ต่อต้าน นายกฯ อบจ. ลงมารับฟังปัญหา

ชาวลำพูนหลายร้อยคน ไม่เอาโรงไฟฟ้าขยะ ต่อต้าน นายกฯ อบจ. ลงมารับฟังปัญหา

31 สิงหาคม 2022
0

ลำพูน-เวทีรับฟังความคิดเห็น ให้เอกชนทำโรงไฟฟ้าขยะ ของ อบจ.ลำพูน ไม่ราบรื่น ชาวบ้านเป็นร้อย ชูป้ายต่อต้าน “ไม่เอาโรงไฟฟ้าขยะ” ย้ำเป็นเพียงเวทีรับฟังความเห็น ไม่ใช่เวทีลงมติประชาวิจารณ์

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 น. ณ หอประชุม อบจ.ลำพูน ได้เชิญชาวบ้านใน จ.ลำพูน ประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการมอบให้เอกชนดำเนินการ หรือร่วมดำเนินการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อแปรสภาพเป็นพลังงานไฟฟ้า ของ อบจ.ลำพูน มีนายอนุพงษ์ วาวงศ์มูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธาน พร้อมนายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ นายก อบจ.ลำพูน และ ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี และ รศ.ดร.อรรณพ วงเรือง ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมและความเป็นมาของโครงการเทคโนโลยีการจัดการขยะชุมชนอย่างยั่งยืน กระบวนการผลิตพลังงานสะอาดจากวัตถุเหลือใช้ การป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและกระบานการกำกับดูแลโครงการ

ก่อนการประชุมมีประชาชนประมาณ 500 คน และมีประชาชนส่วนหนึ่งจำนวนมากกว่า 200 คนที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้าขยะก็เดินทางมารวมตัวหน้าห้องประชุม แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยและไม่ต้องการให้สร้างโรงไฟฟ้าขยะในเขตรับผิดชอบของ อบจ.ลำพูนเลย ได้นำป้ายมาชู เขียนข้อความ เช่น “ไม่เอาโรงไฟฟ้าขยะ” และ “ถ้ามันดีเอาไปตั้งไว้บ้านพวกคุณเลย” และสวมเสื้อเขียนข้อความว่า “ไม่เอา” ติดไว้ด้านหน้าอกเสื้อด้านซ้ายอีกด้วย และกล่าวโจมตีกลุ่มทุนเอกชนที่จะเข้าไปดำเนินการกำจัดขยะของ อบจ.ลำพูนอย่างต่อเนือง ว่าการประชุมครั้งนี้เป็นเพียงรับฟังความคิดเห็นเท่านั้น ไม่ใช่การลงมติประชาพิจารณ์แต่อยางใด

อย่างไรก็ตามบรรยากาศการประชุมครั้งนี้ กรณีชาวบ้านที่ไม่พอใจกับการประชุมครั้งนี้ พบว่า ชาวบ้านส่วนหนึ่ง มีบ้านเรือนอยู่ใกล้บ่อขยะเดิมอยู่แล้วในรัศมี 3 กม.คือ ต.ศรีบัวนบาน อ.เมือง จ.ลำพูน จึงไม่พอใจอย่างยิ่ง จึงได้ออกมาต่อต้านการแสดงความคิดเห็นในเวทีดังกล่าว

ตัวแทนชาวบ้านยังทำหนังสือโดย “กลุ่มคนลำพูนไม่เอาโรงไฟฟ้าชยะ” ทำหนังสือถึง นายก อบจ.ลำพูน ระบุว่า ขอให้ยุติการประชุมรับฟังความคิดเห็นในการดำเนินการโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อแปรสภาพเป็นพลังงานไฟฟ้าของ อบจ.ลำพูนไว้ก่อน เพื่อให้มีการพูดคุยหาทางออกร่วมกันก่อน และจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะก่อน เนื่องจาก 1.พื้นที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากอยู่ใกล้ชุมชน และศูนย์ราชการต่างๆของจังหวัดลำพูน, 2.อาจเกิดการแย่งชิงทรัพยากรน้ำใต้ดิน เนื่องจากตำบลศรีบัวบานเป็นพื้นที่แห้งแล้ง และปริมาณน้ำมีไม่เพียงพอในการทำเกษตร, 3.อาจเกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อมได้ เช่น น้ำเสีย และกลิ่นเหม็น, 4.อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ระบบทางเดินหายใจ โรคเครียด และโรคมะเร็ง, 5.อาจเกิดปัญหาด้านคมนาคมขนส่ง ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุกับชาวบ้านได้

และในที่ประชุมได้ให้ผู้เข้าประชุมทั้งหมดได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และกรอกแบบแสดงความคิดเห็นตามสิทธิและเสรีภาพของทุกคน เพื่อรวมรวมความเห็นในการพิจารณาการให้เอกชนทำโรงไฟฟ้าขยะ อบจ.ลำพูน จะดำเนินการได้หรือไม่ต่อไป


error: Content is protected !!