ดร.สัณหพจน์ สุขศรีเมือง ส.ส.จังหวัดนครศรีฯ เขต 2 มอบหมายคณะทำงานลงพื้นที่สำรวจพื้นที่การใช้นวัตกรรมใหม่ “ป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง”
ดร.สัณหพจน์ สุขศรีเมือง ส.ส.จังหวัดนครศรีฯ เขต 2 (อ.ปากพนัง หัวไทร เชียรใหญ่) มอบหมายให้นายคเชนทร์ พลประดิษฐ์ ผู้ชำนาญการประจำตัว ส.ส. นายวงศธร ดวงไทย ผู้ช่วยดำเนินงาน ส.ส. พร้อมด้วย นายชินวัฒน์ เจริญศรี ส.อบจ.อ.ปากพนัง เขต 1 ร่วมลงพื้นที่ บริเวณชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง อ.ปากพนัง-หัวไทร ได้แก่ ชายทะเลบ้านเกาะทัง ต.ท่าพญา บ้านหน้าโกฏิ ต.ขนาบนาก อ.ปากพนัง พื้นที่มัสยิดดารุณเอียะสาน (บ้านหนองมนต์) ต.เกาะเพชร ร่วมด้วยผู้ใหญ่เยาวดี โต๊ะเอียด ผู้ใหญ่บ้านม.6 ต.เกาะเพชร มัสยิดบ้านต้นสน และพื้นที่ม.8 ต.หน้าสตน อ.หัวไทร
โดยมีตัวแทน บ.ไทย ไวร์ริ่ง ซิสเต็ม ร่วมสำรวจพื้นที่เพื่อดำเนินโครงการศึกษา “การทดสอบประสิทธิภาพอุปกรณ์ลดการกัดเซาะชายฝั่ง (Derosion Lattice)” ซึ่งเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีโดยนักวิจัยชาวไต้หวัน โดยใช้ตาข่ายลดการกัดเซาะมาช่วยบรรเทาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณปลายโครงสร้างแข็งป้องกันชายฝั่ง (เขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง) ซึ่งได้ทำการติดตั้งเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ชายหาดบ้านเกาะแต้ว ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา
สำหรับอุปกรณ์ดังกล่าว มีลักษณะเป็นโครงสร้างตาข่ายลดการกัดเซาะชั่วคราว มีความยาวประมาณ 20 ม. ติดตั้งที่ปลายเขื่อนหินทิ้งเมื่อวันที่ 4-7 ก.ย.64 ตามโครงการวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิภาพของตาข่ายดักตะกอนในการลดพลังงานคลื่นที่จะเข้ามากระทบกับชายฝั่ง และส่งเสริมการตกสะสมของตะกอนที่ชายฝั่งเพื่อช่วยลดแนวชายฝั่งถอยร่น
ทั้งนี้โครงการวิจัยการติดตั้งตาข่ายลดการกัดเซาะ ได้มีศึกษาวิจัยร่วมกับ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, วิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (ศูนย์หันตรา), สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เพื่อพัฒนาต่อยอดให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดกับการใช้งานในประเทศไทย
ดรชัย #สัณหพจน์สุขศรีเมือง #คลื่นกัดเซาะชายฝั่ง #นวัตกรรม #ชายฝั่งทะเล #ลุ่มน้ำปากพนัง #หัวไทร #ปากพนัง #ชัยชวนคิด #จะตอบแทนพี่น้องด้วยผลงาน