ข่าวใหม่อัพเดท » “สุชาดา” เลขานุการ รมว.กระทรวง อว. เปิดตัวแอป “ZERO CARBON” ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐานสากล

“สุชาดา” เลขานุการ รมว.กระทรวง อว. เปิดตัวแอป “ZERO CARBON” ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐานสากล

24 พฤศจิกายน 2023
0

“สุชาดา” เลขานุการ รมว.กระทรวง อว. เปิดตัวแอป “ZERO CARBON” ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐานสากล ดันกิจการด้านการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมไทย มุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2566 : นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้รับมอบหมายจากนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รมว.กระทรวง (อว.) ให้เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าว แอปพลิเคชัน “ZERO CARBON” เพื่อใช้ในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการชดเชยคาร์บอน จากกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) เพื่อมุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยมี รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผอ.หน่วยบริหารและการจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ให้การต้อนรับ ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพ

นางสาวสุชาดาฯ กล่าวว่า แอปพลิเคชัน “ZERO CARBON” เกิดจากการพัฒนาชุดแอปพลิ เคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับผู้ประกอบการเพื่อใช้ในการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการชดเชยคาร์บอน จากกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ สนับสนุนทุนวิจัยโดย (บพข.)กองทุน (ววน.) พร้อมใช้งานบนสมาร์ทโฟน โดยช่องทางการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “Zero Carbon” ได้แก่ Google Play และ App Store ซึ่งมีความสะดวกและรวดเร็วต่อกาประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในการวัด การลด และการชดเชยคาร์บอนได้ด้วยตนเอง บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ ในอุตสาห กรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมไมซ์ มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมชดเชยคาร์บอนผ่านแอปพลิเคชัน มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ต่อไป

“แอปพลิเคชัน “ZERO CARBON” ไม่ใช่แค่ก้าวสำคัญของประเทศไทยในความเป็นกลางทางคาร์บอนเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญญาณแห่งความหวังในการบรรลุเป้าหมายสูงสุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด โดยกระทรวง (อว.) พร้อมที่จะหนุนและส่งเสริมทางวิชาการด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ Pain Point ต่างๆ ของภาคอุตสาหกรรม พร้อมทำให้ประเทศไทยสามารถอนุรักษ์ธรรมชาติ ให้มีความสมบูรณ์ ควบคู่กับการสร้างงานสร้างรายได้ที่เป็นผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต” นางสาวสุชาดาฯ กล่าว


error: Content is protected !!