ข่าวใหม่อัพเดท » ม.หัวเฉียว แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และ วช. ร่วมจัดการสัมมนายุทธศาสตร์ไทย–จีน ครั้งที่ 12 “ร่วมสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกันในยุคใหม่”

ม.หัวเฉียว แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และ วช. ร่วมจัดการสัมมนายุทธศาสตร์ไทย–จีน ครั้งที่ 12 “ร่วมสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกันในยุคใหม่”

30 พฤศจิกายน 2023
0

ม.หัวเฉียว แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และ วช. ร่วมจัดการสัมมนายุทธศาสตร์ไทย–จีน ครั้งที่ 12 “ร่วมสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกันในยุคใหม่”
 
มหาวิทยาลัยหัวเฉียว (Huaqiao University) แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับ สำนัก งานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน และสมาคมจีนเพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (China Society for Southeast Asian Studies) จัดการสัมมนาวิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 12” (The 12th  Thai–Chinese Strategic Research Seminar) ภายใต้หัวข้อเรื่อง “ร่วมสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกันในยุคใหม่ (Jointly Building a China-Thailand Community with a Shared Future in the New Era)” ระหว่างวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ในพิธีเปิดการสัมมนา ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ผอ.วช.) และ Professor Xu Xipeng เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งมหาวิทยาลัยหัวเฉียว พร้อมด้วย ดร.ณรงค์ศักดิ์ บุณยมาลิก กรรมการบริหารสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในการกล่าวเปิดการสัมมนา พร้อมนี้ ในการปาฐกถาพิเศษ ได้รับเกียรติจาก Keynote speaker 3 ท่าน ได้แก่

  1. Prof.Yu Hongjun อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศจีน และอดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำอุซเบกิสถาน ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิก การพัฒนาและความร่วมมือของภูมิภาค”
  2. ศาสตราจารย์ กิตติคุณ นพ. สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “One Road One Destination”
  3. Prof. Fang Ning อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยรัฐศาสตร์ สถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์ (CASS) ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ความหวังใหม่ของความทันสมัยของจีน”

สำหรับในปี 2566 นี้ ฝ่ายจีนได้เป็นเจ้าภาพจัดสัมมนา ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการสัมมนาประกอบด้วยการบรรยายและการนำเสนอผลงานวิจัย ภายใต้หัวข้อย่อย ได้แก่

  1. ประสบการณ์การบริหารประเทศ และการขจัดความยากจน(Poverty Reduction and Development Governance)
  2. หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ในโอกาสครบรอบ 10 ปี (The 10th Anniversary of the B&R Initiative and China-Thailand Cooperation)
  3. การแลกเปลี่ยนทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวไทย-จีน หลังโควิด-19 (Trade, Investment and Tourism in the Post-COVID-19 Era)
  4. จีนไทยศึกษาและการเชื่อมต่อระหว่างประชาชน
  5. (China – Thailand Studies and People-to-People Exchange)

การสัมมนาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทระหว่างจีนกับไทย ในการดำเนินการในประเด็นสำคัญด้านการวิจัยอย่างบูรณาการ ตลอดจนพัฒนาการกำหนดเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย ไทย – จีน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกันของทั้งสองประเทศ


สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน

error: Content is protected !!