” ไม่ไปไม่รู้ ไม่ดูก็ไม่เห็น” กอ.รมน.โดยศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๕ กอ.รมน.(ศปป.๕ กอ.รมน.) นำคณะสื่อมวลชนและสื่อบุคคล เดินทางลงไปยังพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปลายด้ามขวานทองที่มีเหตุความไม่สงบมาตั้งแต่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗
พลโท ธัชพล เปี่ยมวุฒิ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๕ กอ.รมน.(ศปป.๕ กอ.รมน.) ในฐานะหน่วยงานของกอ.รมน. ที่กำกับดูแลการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จชต.) นำคณะสื่อมวลชน สื่อบุคคล และเจ้าหน้าที่ ศปป.๕ กอ.รมน. เดินทางไปรับทราบสถาน การณ์ ชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ศึกษาประเพณี วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ สภาพเศรษฐกิจ สังคม ของชนถิ่นปลายด้ามความ ที่มีเอกลักษณ์ และอัตตลักษณ์ที่แตกต่างจากพี่น้องประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทย
โดยเริ่มจากหน่วยงานความมั่นคง คือ หน่วยนาวิกโยธิน ในนามของกองทัพเรือ ที่มีที่ตั้งของหน่วยงานปกติ คือ ค่ายจุฬาภรณ์ ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส โดยจัดกำลังพลและสิ่งอุปกรณ์ในการสนับสนุน กอ.รมน.ภาค ๔ สน. ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นมาช้านาน การปฏิบัติงานด้านกิจการพลเรือน การเตรียมความพร้อมช่วยเหลือประชาชนเมื่อประสบภัยพิบัติ การส่งเสริมอาชีพให้กลุ่มแม่บ้านรอบค่าย หรือส่งเสริมอาชีพให้กับแม่บ้านภายในค่ายจุฬาภรณ์ โดยหน่วยนาวิกโยธินหน่วยนี้ มีผลการปฏิบัติทั้งทางทหาร งานกิจการพลเรือน ที่เป็นที่ยอมรับของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสมาช้านาน หลังจากนั้นคณะสื่อ มวลชนสัญจร จชต. เดินทางเข้าที่พักในพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
ต่อมาในช่วงเช้าของวันที่ ๒ เดินทางไปยังเขื่อนป้องกันตลิ่งแม่น้ำโก-ลก โดยมี นาง สุชาดา พันธ์นรา นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโล-ลก พร้อมด้วยผู้นำท้องที่ ผู้นำชุมชน ให้การต้อนรับ เล่าความเป็นมาของการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม วิถีชีวิตของพี่น้องที่ข้ามแม่น้ำไปมาทั้งสองประเทศไทย-มาเลเซีย และการสร้างตลาดริมน้ำเพื่อส่งเสริมการค้าขายบริเวณชายแดน
เวลา ๑๐.๓๐ น. ระหว่างเดินทางไปทำบุญที่วัดชลธาราสิงหา หรือวัดพิทักษ์แผ่นดิน อ.ตาก ใบ จ.นราธิวาส คณะสื่อมวลชนสัญจร แวะบริเวณด่านชายแดน อ.สุไหงโก-ลก โดยท่านนายอำเภอสุไหงโก-ลก, ผูู้แทนตรวจคนเข้าเมืองนราธิวาส, ผู้แทนด่านศุลกากร, ผู้แทนส่วนราชการที่ปฏิบัติงานที่ด่านชายแดน ให้การต้อนรับ เล่าเรื่องราวที่จะมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ ๒ จะลดการคับคั่งของยานพาหนะที่ผ่านไปมา ส่งผลให้การข้ามแดนสะดวกยิ่งขึ้น
เมื่อเดินทางถึงวัดชลธาราสิงเห พี่น้องประชาชนไทยพุทธ-มุสลิม หน่วยนาวิกโยธินที่ดูแลพื้นที่ อ.ตากใบ ให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชนฯ เมื่อได้เวลาที่ดี จึงเดินทางขึ้นไปยังศาลาการเปรียญ พล.ท.ธัชพล ผอ.ศปป.๕ กอ.รมน., พ.อ.มานิตย์ เผ่าพงษ์จันทร์ รอง ผบ.ฉก. นราธิวาส, น.ท.มานพ สืบสาย ผบ.ฉก.นย.ทร.๓๓ และพี่น้องชาว อ.ตากใบ ร่วมกันทำบุญถวายสังฑทานและจตุปัจจัย ถวายพระภิกษ์สงฆ์ เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป และเมื่อเดินทางมายัง จชต. การแสดงศิลปะวัฒนธรรมอย่างหนึ่งในการแสดงต้อนรับผู้มาเยือน คือการรำมโนราห์ พร้อมกับชิมอาหารพื้นถิ่นของชาวตากใบ เรียกได้ว่า “อิ่มบุญ อิ่มตา อิ่มท้องและอิ่มใจ”
ในช่วงบ่ายคณะสื่อมวชนสัญจร จชต.เดินทางไปยัง ริมแม่น้ำโก-ลก ที่บ้านตาเซ๊ะ ต.นานาค อ.ตากใบ จ.นราธิวาส โดยมี พล.ต.เฉลิมพร ขำเขียว ผบ.ฉก.นราธิวาส/ผบ.บก.ควบคุมสุริโยทัย ให้การต้อนรับ และบรรยายการดำเนินการโครงการเพิ่มประเสิทธิภาพป้องกันชายแดนไทย-มาเลเซีย การเฝ้าตรวจพื้นที่ชายแดน เพื่อป้องกันกลุ่มขบวนการก่อความไม่สงบลักลอบเข้ามายังประเทศ ตลอดจนการป้องกันการกระทำผิดกฏหมายทุกรูปแบบ
หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจก่อนจะเข้าไปยังงานเลี้ยงรับรอง คณะสื่อมวลชนสัญจร ร่วมเดินทางชมประวัติศาตร์เมืองนราธิวาส หรือ มนารอ ตามถนนเส้นทางริมแม่น้ำบางนรา เพื่อย้อนอดีตของเมื่องมนารอ ชมวิถีชีวิตที่ราบง่าย สงบ
และในช่วงกลางคืน คณะสื่อมวลชนสัญจร ร่วมรับประทานอาหารเย็น ในงานเลี้ยงรับรอง “เย็นสายน้ำ สายชีวต และสายสัมพันธ์” โดยมี นายปรีชา นวลน้อย รักษาการผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส พร้อมหัวหน้าส่วนราชการร่วมรับประทานอาหารพื้นถิ่น เช่น นาซิ ดาแฆ ท่ามกลางเสียงดนตรีมาลายู และการแสดงทางวัฒนธรรม รำรอเง็งและตาลีกีปัส ในงานนี้ ท่านรองปรีชา กล่าวต้อนรับ และเล่าเรื่องราวความน่าอยู่ของชาวบางนรา
เช้าวันที่ 3 ก่อนกลับ กทม. เข้าเยี่ยมชม ศูนย์การศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส เรียนรู้ศาสตร์พระราชา พระเมตตาที่เผื่อแผ่ พสกนิกรปลายด้ามขวาน
ซึ่งระยะเวลา สามวันสองคืน ที่ใช้ชีวิตบนปลายด้ามขวานทอง เมืองมนารอ ทุกคนต่างได้เห็นชีวิตพี่น้องที่อยู่ในแต่ละวัน เช้าตื่น มาทำงานกิจวัตรของตนเอง วิถีที่ราบง่าย สงบ สันติ อย่างนี้ เป็นพื้นฐานที่ยืนหยัดให้ทุกชีวิต อยู่ร่วมกัน คนจากภูมิภาคอื่น คงจะได้เห็นได้สัมผัส ถึงเรื่องราวที่แท้จริง ขอบคุณ ศปป.5 กอ .รมน. ที่จัดกิจกรรมครั้งนี้