น่าน – หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา คนใหม่เปิดอุทยานให้นักท่องเที่ยวรีบไปชมดอกชมพูภูคา 1 เดียวในโลก บานอวดโฉมต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมในขณะนี้ ซึ่งดอกชมพูภูคาจะออกช่อดอกสีชมพูสวยสดงดงาม ปีละ 1 ครั้ง เท่านั้น ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – ปลายมีนาคม บางปีถึงต้น เมษายน และ ต้นเสี้ยวดอกขาวป่า ต้นปาล์มยักษ์
ที่ทำการอุทยาแห่งชาติดอยภูคา ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน มียอดเขาที่สูงลิบลิ่วถึง 1,939 เมตร จากระดับทะเลแล้ว ที่สุดของอุทยานแห่งชาติแห่งเมืองน่านนี้ ยังมากมายไปด้วยโถงถ้ำและน้ำตกงามนับสิบแห่ง อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมของพืชพรรณไม้ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์มากมาย ทั้งกระโถนพระฤาษี เต่าร้างยักษ์ ก่วมภูคา และชมพูภูคาที่ว่ากันว่าสูญสิ้นไปจากโลกแห่งนี้แล้วนั้น ยังพบยืนต้นตระหง่านโดดเด่นเป็นหนึ่งเดียวในโลก
นายรณกฤต จักร์เงิน (หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา) รับตำแหน่ง หน.อช.ดอยภูคา จาก นายฉัตรชัย โยธาวุธ ย้ายไปรับตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (ตาก) นายรณกฤต จักร์เงิน ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยาน แห่งชาติดอยภูคา เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566 เคยปฏิบัติงานทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่าน และหัวหน้าอุทยานแห่งชาตินันทบุรี ก่อนมาทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ ดอยภูคา หลังจากรับตำแหน่ง หน.อช.ดอยภูคา สามารถปฏิบัติหน้าที่ ลดจำนวนการเกิด Hotspot น้อยกว่าปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ถึง 312 จุด
ในช่วงนี้ เชิญชวนนักท่องเที่ยวถ้าอยากเห็นดอกชมพูภูคาบาน รีบขึ้นไปชมได้ต้นนี้ อยู่ที่บริเวณร้านอาหาร ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ยังมี ต้นก่วมภูคาและต้นเมเปิ้ล เป็นพืชชนิดเดียวกัน ต้นก่วมภูคา ต้นอ่อนจะมี 5 แฉก ต้นแก่มี 3 แฉก สีแดงทั้งต้น และต้นเมเบิ้ลมี 5 แฉก ช่วงผลัดใบจะมีสีแดงทั้งต้น ในช่วงเดือน ธ.ค.- ม.ค.ที่ผ่านมา ต้นนางพญาเสือโคร่งเพิ่งจะโรยไปที่บริเวณลานดูดาว
ส่วนต้นเต่าร้างยักษ์อายุกว่า 1 พันปี มีให้ชมได้ที่หน้าด้านหน้าทางเข้าด่านเก็บค่าธรรมเนียม อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน กม. 25 บนถนนสายหลัก 1256 ปัว – บ่อเกลือ ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน และบริเวณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เต่าร้างยักษ์ภูคา เป็นพันธุ์ไม้ในวงศ์ปาล์มที่ชอบอาศัยอยู่ในนิเวศป่าดงดิบ พบได้เฉพาะตามลาดไหล่เขาชัน ระดับความสูง 1,500-1,700 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง เมื่อโตเต็มที่ปาล์มโบราณชนิดนี้จะสูงได้ถึง 40 เมตร และใบมี ขนาดใหญ่โดดเด่น แผ่นใบยาวได้ถึง 4 เมตร จัดเป็นปาล์มที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์ไปจากโลก สารถดูได้ในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติดอยภูคา ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร หรือขับรถไปชมได้บริเวณริมถนน ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปเพียง 4 กิโลเมตรเท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ เฉพาะถิ่น/หายาก เช่น กุหลาบพันปี ชิงชี่ภูคา กระดิ่งภูคา เศวตแดนสรวง นกไต่ไม้สีสวยเป็นนกไต่ไม้ที่หายาก นกกะรองทองแก้มขาว และนกพญาปากกว้างหางยาว เต่าปูลูเป็นสัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์
อุทยานแห่งชาติดอยภูคามีสิ่งอำนวยความสะดวกหลายประการ เช่น บ้านพักนักท่องเที่ยว ลานกางเต็นท์ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เป็นต้น มีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น เส้นทาง
ศึกษาธรรมชาติ ร้านค้าสวัสดิการ และร้านอาหาร สภาพอากาศมีความหนาวเย็นตลอดทั้งปี บ้านพัก นักท่องเที่ยวหลังใหญ่มีจำนวน 8 หลัง บ้านเกวียนจำนวน 16 หลัง ซึ่งบ้านพักทั้งสองประเภทนี้จะรองรับนักท่องเที่ยวได้ทั้งหมด 133 คน ลานกางเต็นท์รองรับได้ทั้งหมด 50 หลัง บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวได้ 510 คน/วัน แหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นของอุทยานแห่งชาติดอยภูคามีจุดท่องเที่ยว หลายแห่ง เช่น ลานดูเดือน ลานดูดาว จุดชมวิว 1715 น้ำตกขุนน้ำปัว น้ำตกตาดหลวง เป็นต้น
มีกิจกรรมเดินป่าทั้งหมด5 เส้นทาง ได้แก่
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติเฉลิมพระเกียรติชมพูภูคาระยะทาง 4 กิโลเมตร
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติภูพันเจ็ด (โรงเรียนนักเดินป่า) ระยะทาง 6 กิโลเมตร
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะไกลเด่นช้างนอน ระยะทาง 19 กิโลเมตร
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติขุนน้ำปัว ระยะทาง 13 กิโลเมตร
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะไกลดอยภูแว ระยะทาง 18 กิโลเมตร
จ.ส.อ.สันติไฌญ จารุพิพัฒน์บุตร Nation TV-NAN