วช. นำทัพ สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ร่วมประกวดและจัดแสดงในงาน “The 49th International Exhibition of Inventions Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยหน่วยงานวิจัยภาครัฐ สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา พร้อมด้วยภาคเอกชน ร่วมนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม เข้าร่วมประกวด และจัดแสดงในงาน “The 49th International Exhibition of Inventions Geneva”
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ผอ.วช.) กล่าวว่า การแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมของประเทศ ที่ร่วมประกวดและจัดแสดงในเวทีของงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 49 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 17–21 เมษายน 2567 ในครั้งนี้ มีผลงานจากนานาประเทศทั้งจากทวีปยุโรป เอเชียและอเมริกา เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการมากกว่า 1,000 ผลงาน จากกว่า 40 ประเทศ นับเป็นโอกาสสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยในการได้แลกเปลี่ยนความรู้เทคโนโลยีและประสบการณ์กับนักประดิษฐ์และนักวิจัยจากนานาประเทศและได้เผยแพร่ผลงาน รวมถึงได้แสดงความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสายตาชาวโลกในปีนี้ (วช.) ได้สนับสนุนหน่วยงานเครือข่าย ด้านสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน จาก 37 หน่วยงาน มาร่วมนำเสนอ จำนวน 94 ผลงาน (วช.) มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ศักยภาพของนักประดิษฐ์นักวิจัยไทย ณ เวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติครั้งนี้ จะเป็นอีกจุดเริ่มต้นสำคัญของการยกระดับให้งานวิจัยและผลงานประดิษฐ์คิดค้นของคนไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมด้วยสถาบันการศึกษา ที่มาร่วมนำเสนอผลงานทั้ง 37 แห่ง ประกอบด้วย
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- มหาวิทยาลัยทักษิณ
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
- โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง
- โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
- โรงเรียน พนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา”
- โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา
- สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
- กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- การไฟฟ้านครหลวง
- สมาคมกีฬาเครื่องบินจําลองและวิทยุบังคับ
- บริษัท อินโน ไวเทิลเทค จํากัด
- บริษัท ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหาร ซีพีเอฟ จํากัด
- บริษัท ไบโอ-อัพ จํากัด
- บริษัท เวคิน (ประเทศไทย) จํากัด
- บริษัท ดอกบัวคู่ จํากัด
- บริษัท เทพประทานสมุนไพร จํากัด
- บริษัท ยูไนเต็ต แคร์ เซอร์วิส จํากัด
- บริษัท 7 ดราก้อน อินโนเวชั่น (ประเทศไทย) จํากัด
- บริษัท เอพี 2022 จํากัด
- บริษัท เฮลท์ อินโนวิชั่น จํากัด
(วช.) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้แสดงศักยภาพของคนไทยที่มีความสามารถในด้านการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้นที่ไม่แพ้ชาติใดในเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาตินี้และเป็นจุดเริ่มต้นของการยกระดับให้ผลผลิตจากงานวิจัยและผลงานประดิษฐ์คิดค้นของคนไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล