ข่าวใหม่อัพเดท » “เสมา 3” ชง ปราจีนโมเดลต้นแบบ นำการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ

“เสมา 3” ชง ปราจีนโมเดลต้นแบบ นำการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ

23 ตุลาคม 2019
0

          วันนี้​ วันอังคาร​ที่ 22 ต.ค.62​ ณ ห้องประชุมโกวิท วรพิพัฒน์ ชั้น 3 อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ​ : ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรี​ช่วยว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ เปิดเผยหลังจากการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการจังหวัดต้นแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ (ปราจีนบุรีโมเดล) ว่า “ตนได้กำหนดแนวนโยบายในการบริหาร การศึกษา“ มุ่งจัดการศึกษาเพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัย ได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Leave No One Behind)

         โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทาง การศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายของรัฐบาล เป็นไปตาม เป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี ค.ศ. 2030 (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) ที่ประชาคมโลกตกลงร่วมกันในเรื่องของการขจัดความเหลื่อมล้ำ การเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมของคนทุกกลุ่ม โดยน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน

         “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นแนวทางในการดำเนินการ โดยให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ประชากรที่มีคุณภาพ เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ ให้มี ความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม รัฐบาลจึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับนโยบาย ด้านการศึกษา มีการปฏิรูประบบการบริหารจัดการศึกษา ทุ่มเทงบประมาณสำหรับการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ อย่างเต็มที่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่ง ขันเพื่อพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศให้มีความ เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ

         แต่สภาพปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาด้านการศึกษาหลายประการสำหรับโครงการจังหวัดต้นแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ (ปราจีนบุรีโมเดล) นั้นมีวัตถุ ประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการศึกษาในส่วนภูมิภาคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการในจังหวัดปราจีนบุรี และเพื่อส่งเสริมความเสมอภาค และลดความ เหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยคาดว่าจะสามารถ สร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา ได้แก่ เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน เด็กตกหล่น หมายถึง ประชากรวัยเรียนที่ไม่เคยเข้ารับการศึกษา และเด็กออกกลางคัน หมายถึง ประชากรวัยเรียนที่ได้รับการศึกษาแล้วออกจากระบบการศึกษา ในขณะที่ยังไม่จบหลักสูตรการศึกษา ซึ่งมีสาเหตุหลายประการด้วยกัน รวมถึงเด็กที่ติดยาเสพติด

          ซึ่งประชากรกลุ่มดังกล่าวจึงเป็นผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา จึงถือเป็นภารกิจสำคัญ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการให้ประชากรกลุ่มดังกล่าวได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม และเสมอภาค ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการยังคงประสบปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก เนื่องจากประชากรลดลง ในบางพื้นที่มี สถานศึกษาในระดับเดียวกันเป็นจำนวนมาก และมีแผนการรับนักเรียนที่มีจำนวนมากกว่าประชากรวัยเรียน มาตรการการควบรวม และเลิกสถานศึกษาขนาดเล็ก ยังคงเป็นปัญหาความเห็นที่แตกต่างกัน ในขณะเดียวกัน

          หลักการจัดการศึกษา กำหนดให้ทุกภาคส่วนสามารถจัดการศึกษาได้ทุกระดับ ทุกประเภทการศึกษา ยังไม่มี การวางแผนในการจัดตั้งสถานศึกษาให้สอดคล้องกับจำนวนผู้เรียนในแต่ละพื้นที่ สำหรับผู้เรียนที่ยังขาดการวิเคราะห์ตนเองให้สามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัดและความสนใจของตนเอง ยังไม่มีการวิเคราะห์​ และให้คำปรึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้เรียนเลือกเส้นทาง การศึกษาต่อและประกอบอาชีพได้ตรงตามความถนัด ความสนใจของตนเองและสอดคล้องกับความต้องการ ของตลาดงาน จึงยังคงมีปัญหาของการว่างงานของผู้ที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา

          ซึ่งหน่วยงานทางการศึกษา​ และสถานศึกษาต้องใช้ข้อมูลสำหรับการวางแผนสำหรับการเปิดสาขาอาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และตลาดงาน อีกทั้งขาดการบูรณาการงานด้านการศึกษาระหว่างหน่วยงานทางการศึกษา สถานศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการจัดการศึกษาในพื้นที่ระดับจังหวัด ขาดการวางแผนเพื่อการระดมทรัพยากรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน การบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ยังไม่เป็นระบบ ยังคงปรากฏความเหลื่อมล้ำของนักเรียนและสถานศึกษา ในการได้รับการสนับสนุนทรัพยากร จากต้นสังกัดที่แตกต่างกัน ดร.กนกวรรณ กล่าว

          ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวต้องอาศัยการดำเนินการให้มีการวางแผนดำเนินการ โดยการบูรณาการทั้งกิจกรรมกรรม บุคลากร และ งบประมาณ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน คาดหวังว่า จะสามารถช่วยเหลือประชากรวัยเรียนให้ได้เข้ารับการศึกษาทุกคน สามารถจัดทำระบบให้คำปรึกษา การวิเคราะห์ตนเอง เพื่อการศึกษาต่อและเส้นทางสู่การประกอบอาชีพ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดปราจีนบุรี จัดทำ Education mapping ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี และวางระบบการระดมและการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกันในจังหวัดปราจีนบุรีได้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป ดร.กนกวรรณ กล่าว

สุรเชษฐ​ ศิลา​นนท์​ ​รายงาน​

error: Content is protected !!