ปลุกซอฟต์ พาวเวอร์เมืองโอ่ง “เชนธนา” พร้อมเทรนการขายออนไลน์ให้ หวังสร้างชื่อเสียงให้กับชอฟต์เพาว์เว่อร์เมืองไทย กระจายรายได้สร้างรายได้การจ้างแรงงานในท้องถิ่นด้วยการกระตุ้นการขายให้ทุกคนในแต่ละชุมชนมีอาชีพทำกินจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดราชบุรีและในทุกๆจังหวัดอย่างยั่งยืน
นายธนาตรัยฉัตร ภูโชคอนันต์ (เชน ธนา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อมาโด้ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า วันนี้ตนเเละคณะ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดราชบุรี ร่วมกับกลุ่มภูมิปัญญาทั้งถิ่นเพื่อพบปะผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดราชบุรีเพื่อส่งเสริมช่วยเหลือผลักดันการตลาดให้กับกลุ่มผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภครวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุจากธรรมชาติ อาทิเช่น เถาวัลย์ ผักตบชวา หวาย เครื่องปั้นดินเผา (โอ่งราชบุรี) ที่เป็นสินค้าจากฝีมือแรงงาน ชาวราชบุรี ที่นำมาผลิตกระเป๋า รองเท้า รวมถึง ผ้าฝ้ายทอมือ รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตลอดจน ถึง น้ำมะพร้าว น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลที่ผลิตจากอ้อยดำ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือซอฟต์ พาวเวอร์ by ราชบุรีที่หลายคนยังไม่รู้จักมากนัก
“เชน ธนา” กล่าวว่า ดังนั้นการที่ตนเปิดบริษัท โชว์บายเชน ธนา จำกัด เพื่อเสาะแสวงหาสิน ค้าจากชุมชนจากทั่วประเทศนำมาจำหน่ายเเละโชว์ศักยภาพของชุมชนนั้นๆเพื่อสร้างรายได้กระจายลงไปสู่ชุมชน ดังนั้น “โชว์บายเชนธนา” จึงได้ร่วมกับสินค้าโอท็อปทั่วประเทศในการผลักดันสู่ตลาดออนไลน์เพื่อให้เป็นสินค้าซอฟต์ พาวเวอร์ของไทยโดยเร็วเเละยั่งยืน เเละการมาจังหวัดราชบุรีในวันนี้คือจังหวัดที่เจ็ดที่ตนตั้งเป้าจะเเสวงหาสินค้าวิสาหกิจชุมชน สินค้าโอท็อปเเละผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ยังไม่มีการเปิดตัวจากทุกจังหวัดทั่วประเทศเพราะคือซอฟต์ พาวเวอร์ 77 จังหวัดของเมืองไทยโดยระบบการค้าออนไลน์เเละรายการต่างๆที่ตนรับผิดชอบนั้นจะช่วยเป็นประตูการค้าบานใหม่ให้ชาวราชบุรีมีช่องทางสร้างรายได้เเละขยายตลาดได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เเละคนรุ่นใหม่เเละคนรุ่นต่างๆของราชบุรีจะได้เรียนรู้ทักษะการค้าบนโลกออนไลน์ที่ตนยินดีให้ข้อเเนะนำเพื่อให้พวกเขาภูมิใจในการขายสินค้าชุมชนของตัวเองที่สะสมองค์ความรู้มาหลายชั่วคนให้รู้จักมากขึ้น“
สืบสานมรดกการทอผ้าจกไท-ยวน ซึ่งมีลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความละเอียดอ่อนทั้งลวดลายและการเลือกใช้สี ซึ่งสีที่นิยมใช้ คือ สีเขียว สีแดง สีดำ ด้วยความเชื่อที่ว่า เป็นสีที่ทรงพลังและสดใส ถักทอแซมให้เกิดเป็นหลากหลายลวดลาย ในรูปแบบลวดลายดั้งเดิม และพัฒนาออกแบบเป็นลวดลายที่ร่วมสมัย
แรงบันดาลใจของคุณชนัยพรฯ คือเป็นคนชอบนุ่งผ้าซื่น ผ้าไทย โดยเฉพาะผ้าไทยยวน จึงอยากจะช่วยเผยแพร่ สู่กลุ่มคนภายนอกให้รู้จักมากขึ้น จึงเริ่มจากการซื้อผ้าจากชาวบ้าน เพิ่มบาบาทชุมชนให้เข้มแข็ง นำเข้าวิสาหกิจและขายต่อไปยังทั่วประเทศไทย เพื่อเป็นการอนุรักษ์ผ้าจกมรดกไทย-ยวนให้สืบทอดต่อไป
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน