“บูรณาการความร่วมมือหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดน่าน ฝึกซักซ้อมการบรรเทาสาธารณภัย และการช่วยเหลือประชาชน และเพื่อเตรียมความในการช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง”
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 มณฑลทหารบกที่ 38/ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย มณฑลทหารบกที่ 38 กำลังพลโรงพยาบาลค่ายสุริยพงษ์ ร่วมกับ ส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันฝึกซ้อมการบรรเทาสาธารณภัย และช่วยเหลือประชาชน ตามแนวความคิดในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ในห้วงวันที่ 18 – 19 กรกฎาคม 2567 โดยได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดน่าน ณ หอกระโดดสูง34 ฟุต นฝ.นศท.มทบ.38 และ อ่างเก็บน้ำห้วยแหด
โดยโรงพยาบาลค่ายสุริยพงษ์ ได้ชุดแพทย์ทหารเผชิญเหตุฉุกเฉิน (M-MERT) เข้าร่วมฝึกซ้อมการบรรเทาสาธารณภัย และช่วยเหลือประชาชน ได้เข้ารับการฝึกการกู้ภัยทางดิ่ง กู้ภัยทางน้ำ และได้เข้าร่วมซ้อมแผนเผชิญเหตุ จำลองเหตุการณ์นักท่องเที่ยวจมน้ำ และสูญหาย บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยแหด จำนวน 11 คน ทาง รพ.ค่ายสุริยพงษ์ ได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ทำการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน และให้การรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ ประสานงานเพื่อส่งต่อผู้ป่วยไป รพ. ที่มีศักยภาพเหมาะสม ในสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งการบันทึกยอดผู้ป่วยผู้ป่วยเจ็บอย่างเป็นระบบ เพื่อรายงานศูนย์บัญชาการสถานการณ์อย่างถูกต้อง และทีมกู้ภัยทางน้ำ ออกทำการค้นหาผู้บาดเจ็บ และนำส่ง รพ.สนาม ตามแผนปฏิบัติการ อย่างรวดเร็ว ในการฝึกครั้งนี้เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพให้กับทีม และความรับผิดชอบ ตามแบบแผนบรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก และเพื่อเตรียมความในการช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง
ตามแผนบรรเทาสาธารภัย กระทรวงกลาโหม ได้กำหนดให้มณฑลทหารบก โดย ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก ในฐานะผู้แทนกระทรวงกลาโหม เป็นผู้บูรณาการควบคุมอำนวยการในการใช้ทรัพยากรทางทหาร เพื่อสนับสนุนการบรรเทาสาธารณภัยและการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงาน กำลังพลทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน เกิดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามแผน ในระดับ 1 และ 2 ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ พร้อมทั้งเป็นการบูรณาการ การประสานสอดคล้องกัน ระหว่างหน่วยงานด้านการบรรเทาสาธารณภัย ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพกำลังพล และหน่วยรับผิดชอบพื้นที่ ตามแผนบรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ให้สามารถปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานฝ้ายพลเรือน ภาคเอกชน มูลนิธิ สมาคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และฝึกการอำนวยการ และการปฏิบัติงานด้านการช่วยเหลือประชาชน และการบรรเทาภัยพิบัติ ให้เข้าใจในระบบการควบคุมบังคับบัญชา ขอบเขตความรับผิดชอบรวมถึงมีความรู้ความสามารถในการประเมินสถานการณ์ภัยพิบัติ แนวโน้มทิศทางและระดับความรุนแรง เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลและรายงานสถานการณ์ พร้อมทั้งสามารถปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับประชาชน จากสาธารณภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเครื่องมือและยุทโธปกรณ์ที่มี
ปฏิบัติภารกิจภายใต้เจตนารมณ์ของผู้บัญชาการทหารบก เพื่อให้หน่วยในกองทัพบก เป็นหน่วยที่มีศักยภาพ ทันสมัย และเป็นที่เชื่อมั่นของประชาชน
นที มีเดช รายงาน