วันนี้ (2 ส.ค.67) ที่โถงแสงจันทร์ ศาลากลางจังหวัดจันทบุรี เครือข่ายวุฒิอาสาธนาคารสองจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วย สมาคมพหุภาคีพัฒนาประชาสัมคม, สภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี, เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจันทบุรี, ศูนย์ต่อสู่เพื่อเอาชนะความยากจนภาคประชาชนจังหวัดจันทบุรี, เครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.นายายอาม , เครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ท่าใหม่ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมแถลง เปิดปฏิบัติการ “kick off จันทบุรีโมเดล เปิดยุทธการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำอย่างมีส่วนร่วม” หวังดึงประชาชน และภาคราชการ เข้ามามีส่วนร่วม
นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานเครือข่ายวุฒิอาสาธนาคารสมองจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันเกิดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำอย่างหนัก ในพื้นที่ลุ่มน้ำพังราด และอ่าวคุ้งกระเบน ของจันทบุรี แม้ว่า แม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานราชการและภาคเอกชนได้พยายามแสวงหามาตรการและแนวทางเพื่อควบคุมกำจัดไม่ให้ปลาชนิดนี้แพร่ขยายพันธุ์ ทั้งการออกประกาศห้ามมิให้เพาะเลี้ยง และนำปลาหมอคางดำไปปล่อยในแหล่งน้ำอย่างเด็ดขาด ซึ่งมาตรการต่างๆที่ออกมาของภาครัฐเป็นการดำเนินงานในระยะเร่งด่วน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบูรณาการและผนึกกำลังในการสร้างความเป็นหุ้นส่วนร่วมกันแก้ไขปัญหา
ด้านนางสาวอินทิรา มานะกุล ประธาน เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจันทบุรี ระบุว่า การระบาดของปลาหมอคางดำ ซึ่งไม่ใช่สัตว์เศรษฐกิจ และกำลังสร้างความกังวลในหมู่ประชาชน เนื่องจากการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหานี้ยังไม่เพียงพอ ทำให้จำเป็นต้องมีการดำเนินมาตรการที่เข้มงวดและรัดกุมเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดในพื้นที่ 16 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ
โดยจังหวัดจันทบุรี ได้กำหนดกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนเชิงรุกไว้ 3 มาตรการ ประกอบด้วย
- มาตรการที่ 1 การสร้างความตระหนักรู้และสื่อสารข้อมูลอย่างถูกต้อง โดยจะต้อง
- สร้างความรู้ผ่านรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายให้กับนักเรียน เยาวชน และประชาชนทั่วไป
- นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เพื่อลดความตระหนกและการแก้ปัญหาอย่างไม่ถูกวิ
- สร้างความร่วมมือในการเฝ้าระวังพื้นที่ที่ยังไม่มีการระบาด
- ประชาสัมพันธ์ช่องทางการแจ้งข้อมูลข่าวสารกรณีการระบาด
- มาตรการที่ 2 กการมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอคางดำ โดยจะต้อง
- ศึกษาความเหมาะสมของเครื่องมือประมงในการกำจัดปลาหมอคางดำ
- จัดกิจกรรมรณรงค์การจัดการปลาหมอคางดำอย่างบูรณาการ
- ศึกษาและส่งเสริมการขยายผลในการนำไปใช้ประโยชน์ ป้องกันการระบาดซ้ำ
- มาตรการที่ 3 การผลักดันกฎหมายและมาตรการควบคุม โดยจะต้อง
- ออกประกาศให้ปลาหมอคางดำเป็นวาระของจังหวัดจันทบุรี
- ออกมาตรการควบคุมการนำปลามาจำหน่ายและปล่อยในแหล่งน้ำ (นักอภัย ทาน) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเพิ่มเติม
ส่วนทางด้าน นายสมพร รุ่งกำเนิดวงศ์ ประมงจังหวัดจันทบุรี ระบุว่า ทางจังหวัดได้ประชุมเพื่อแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำ โดยมาตรการหนึ่งที่สำคัญคือ การปล่อยปลาผู้ล่าเพื่อกำจัดลูกอ่อนของปลาหมอคางดำ โดยภาครัฐได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างความรับรู้แก่ประชาชนทุกภาคส่วน โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านหน่วยงานของประมงอำเภอ และการประชุมระดับอำเภอร่วมกับผู้นำท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีมาตรการตรวจสอบและควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
นอกจากนี้ ทางกรมประมงได้ขอรับงบประมาณจากรัฐบาลในการแก้ปัญหานี้ โดยมีการรับซื้อปลาหมอคางดำจากเกษตรกรในราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม และผู้รวบรวมจะได้รับ 5 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อส่งไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำนี้ ทางจังหวัดได้จัดกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายและชุมชนท้องถิ่น โดยมีแผนที่จะจัดกิจกรรมที่อ่าวคุ้งกระเบนในวันที่ 6 และ 19 ซึ่งจะมีผู้แทนจากหลายภาคส่วนและชุมชนมาร่วมมือกันอย่างเต็มที่
ขณะที่ นายนิวัติ ธัญญชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดและคณะทำงานแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำระดับชาติ ระบุว่า ทางจังหวัดจันทบุรีได้ดำเนินการจัดประชุมก่อนหน้านี้ เพื่อวางมาตรการแก้ไขปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำ โดยได้ตกลงที่จะเน้นการดำเนินการในพื้นที่สำคัญ 6 แห่ง ซึ่งพบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการถูกทำลายของระบบนิเวศ โดยเฉพาะแหล่งหญ้าทะเลที่มีความสมบูรณ์ที่สุดในอ่าวคุ้งกระเบน
ทั้งนี้จากการศึกษาและสำรวจโดยกรมประมงและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพบว่าปลาหมอคางดำมีพฤติกรรมกินพืชและสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศ การระบาดนี้ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ไม่สามารถจับสัตว์น้ำชนิดอื่นได้ เช่น ปลากระบอก กุ้งขาว และปูแสม ทางจังหวัดจึงได้จัดกิจกรรมใหญ่ในวันที่ 6 และ 19 สิงหาคม 2567 ที่บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน เพื่อเริ่มกระบวนการกำจัดปลาหมอคางดำ โดยจะประสานงานร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมและหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆ รวมถึงการใช้ทหาร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และตำรวจในการดำเนินการนี้
นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยบูรพาในการเข้าร่วมวิเคราะห์และวางแผนการจับปลาหมอคางดำ โดยในครั้งแรก รัฐมนตรีธรรมนัส พรหมเผ่า ได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 15 ล้านบาท จากกองทุนสวนยางเพื่อใช้ในการดำเนินการรับซื้อปลาหมอคางดำจากชาวบ้านในราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งชาวบ้านยังไม่ค่อยออกมาจับปลาหมอคางดำ เนื่องจากปัจจุบันสามารถจับกุ้งแชบ๊วยในราคาที่สูงกว่า ทางจังหวัดจึงได้วางแผนจัดกิจกรรมเพิ่มเติมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบของปลาหมอคางดำต่อระบบนิเวศ ทั้งนี้จังหวัดจันทบุรีเปิดจุดรับซื้อปลาหมอคางดำ 5 จุด ประกอบด้วยnเทศบาลตำบลช้างข้าม 2 จุด, นิวัติ (เดือนเต็มซีฟ๊ด) อ.นายายอาม, ท่าเทียบเรืออ่าวคุ้งกระเบน และจุดใกล้ อบต.คลองขุด
นอกจากนี้ในการปฏิบัติการ kick off จันทบุรีโมเดล ผู้ที่ไม่ประสงค์จำหน่าย ก็สามารถส่งต่อให้กับผู้ล่า และเครือข่ายร่วมนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักได้ด้วย
ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา จ.จันทบุรี 089-6767346
พสิษฐ์ เขม้นเขตวิทย์ รายงาน ศูนย์รวมข่าวภาคตะวันออก 062-7584334