วันจันทร์ที่ 14 ต.ค.67 เวลา 09.00 น. นายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดการแข่งขันเรือยาวประเพณีสัมพันธ์ไทย-ลาว ประจำปี 2567 ชิงถ้วยพระราชทาน พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชนร่วมในพิธี นายนิวัต เจียวิริยบุญญา นายกเทศมนตรีเมืองนครพนม กล่าวในนามคณะกรรมการจัดการแข่งขันเรือยาวประเพณีสัมพันธ์ไทย-ลาว ชิงถ้วยพระราชทาน ในวันนี้ ว่าประเพณีการจัดการแข่งขันเรือยาว ได้ถือสืบทอดกันมาแต่โบราณ
สำหรับในปีนี้ ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-16 ตุลาคม 2567 โดยมีเรือจากจังหวัดต่างๆ และเรือสาธาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้การสนับสนุน ส่งเรือเข้าร่วมแข่งขันด้วย วัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่และอนุรักษ์ ไว้ซึ่งเอกลักษณ์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขง อยู่ริมแม่น้ำและผูกพันกับสายน้ำ ทั้งการสัญจรไปมา และการประกอบอาชีพ อันจะทำให้คนรุ่นปัจจุบัน เกิดความเข้าใจในรากเหง้า ทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ ซึ่งดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียง สอดคล้องกับธรรมชาติ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ส่งเสริมประเพณี การแข่งขันเรือยาว ในลุ่มน้ำโชงและส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มศักยภาพ ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียง ของจังหวัดนครพนมสู่สาธารณะ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ในท้องถิ่นได้เกิดความรัก ความสามัคคี และรักษา
ประเพณีนี้ยนนนนนนให้คงอยู่สืบไป ขขขจบเป็นการส่งเสริม ความจนอันดีระหว่าขจขยง ประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงและเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ของจังหวัดนครพมสู่อินโดจีน
การแข่งขันเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทานประจำปี ในงานประเพณีออกพรรษาและไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม ได้รับพระหากกุมาธิคุณป็นที่สุดจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าพระราชทาน ถ้วยรางวัลสำหรับเรือ ประเภท 55 ฝีพาย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลประเภทเรือ 12 ฝีพาย ประเภทเรือเชื่อมสัมพันธไมตรี ระหว่างประเทศไทย กับ เรือสาธาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 35 ฝีพาย และประเภทเรือ 40 ฝีพาย
นายกนิวัต กล่าวต่อว่า การจัดการแข่งขันเรือยาวในครั้งนี้ กำหนดจัดการแข่งขันเรือยาว ออกเป็น 4 ประเภท มีเรือเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวนทั้งสิ้น 63 ลำ และมีรางวัลการแข่งขันกว่า 5 แสนบาท แยกเป็นประเภทเรือ 12 ฝีพาย รางวัลชนะเลิศ รับถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และถ้วยเกียรติยศ พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท ประเภทเรือเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างเรือจากประเทศไทยและเรือจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 35 ฝีพาย รางวัลชนะเลิศ รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และถ้วยเกียรติยศ พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท ประเภทเรือ 40 ฝีพาย รางวัลชนะเลิศ รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และถ้วยเกียรติ ยศ พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 140,000 บาท และประเภทเรือ 55 ฝีพาย รางวัลชนะเลิศ รับถ้วย พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถ้วยเกียรติยศ พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 280,000 บาท
นายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่ได้รับความร่วมมือจาก คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองนครพนม ตลอดจน พี่น้องชาวเรือทุกท่าน เป็นอย่างดี ขอบคุณนายกเทศมนตรีเมืองนครพนม พนักงานเทศบาล
และพี่น้องประชาชนทุกท่าน หน่วยงานราชการ เอกชน และหลายภาคส่วน ที่เห็นความสำคัญ และยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมแห่งสายน้ำนี้ ให้คงอยู่และจัดกิจกรรมดีๆ นี้ เป็นประจำทุกปี
ท่านสักดา แก้วมณีไซ รองเจ้าเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน พร้อมคณะได้มาร่วมในพิธีเปิด เรือทางคำม่วนก็มาแข่งขันเรือประเพณีในครั้งนี้หลายลำ และขอเชิญชวนพี่น้องชาวนครพนมไปร่วมแข่งเรือที่เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ระหว่างวันที่ 15-17 ต.ค.67
ปีนี้ หลังพิธีเปิดการแข่งขันศึกจ้าวลำน้ำโขงเรือยาวประเพณีสัมพันธ์ ไทย-ลาว ปกติจะมีพิธีตีช้างน้ำนอง ซึ่งเป็นพิธีโบราณที่หาชมได้ยาก เพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ เทวดา พญานาค แม่คงคา ตามความเชื่อของคนลุ่มน้ำโขง เพื่อความเป็นสิริมงคล และความปลอด ภัยในการประลองความแข็งแกร่งของร่างกายพายแข่งขันชิงจ้าวลำน้ำโขง โดยเรือที่เข้าร่วมแข่งจะมีการโห่ร้อง เป็นจังหวะเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย จากนั้นฝีพายจะใช้ใบพาย ยกขึ้นเหนือน้ำอย่างพร้อมเพรียง ทำให้น้ำกระเซ็นเป็นฝอยขึ้นบนอากาศ ลักษณะคล้ายโขลงช้างกำลังเล่นน้ำคนโบราณจึงนำมาเปรียบเป็นพิธีตีช้างน้ำนอง ในช่วงการแข่งขันเรือยาวประเพณีออกพรรษา แต่ปีนี้ไม่มีพิธีนั้น เนื่องจากเรือและนักพายไม่พร้อม ทางคณะกรรมการประกาศยกเลิกพิธีดังกล่าว
ฟร้องข่าวด่วน/เทพข่าวร้อน/เพลิงพระกาฬ/รายงาน