ประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา กองทัพภาคที่ 3 เยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กธารีฉัตร มอบ การบ้านวิชาแรก สนุกคิด เรียนรู้ สู่อนาคต พัฒนาการที่ดี ต้องมาพร้อมกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ดี คุณภาพของคนไม่สามารถสร้างได้ในวันเดียว… พัฒนาการของคนจะถูกเสริมสร้างอย่างจริงจังในช่วง 0 – 6 ขวบแรกของชีวิต ทั้งพัฒนาการของสมอง ภาษาและการสื่อสาร ความมั่นคงทางอารมณ์ สุขภาวะ และอื่นๆ ก็ขึ้นอยู่กับอิฐก้อนแรก การบ้านชุดแรก ที่ผู้ใหญ่จะช่วยกันมอบให้
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 พันเอก หญิง สุชาดา แจ่มสุวรรณ ประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา กองทัพภาคที่ 3 เยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กธารีฉัตร การจัดการเรียนการสอน การดูแลโภชนาการอาหารให้กับเด็กนักเรียน กระบวนการส่งเสริมพัฒนาการทั้งการสื่อสาร การเรียนรู้ ความจำ การแก้ไขปัญหา ให้กับน้องเด็กๆ นักเรียน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างทรัพยากรที่ทรงคุณค่า การดูแลรับผิดชอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กถือเป็น ภารกิจที่สําคัญในการแบ่งเบาภาระให้กับบุตรหลานกำลังพลและมวลชนรอบค่ายฯ ซึ่งจะต้องจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กเล็กให้พัฒนาการเต็มศักยภาพตามวัย หลังรับฟังการบรรยายสรุปได้มอบแนวทางการดำเนินงาน พร้อมขอบคุณคณะครูและส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กธารีฉัตร กองทัพภาคที่ 3 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
โดย ประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา กองทัพภาคที่ 3 ได้รับฟังบรรยายสรุป รับฟังปัญหาขัดข้อง ให้ข้อเสนอแนะ ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจคุณครูและพบปะพูดคุยร่วมทำกิจกรรมกับเด็กนักเรียน
ซึ่งการออกแบบวิชาเรียน ที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กธารีฉัตร กองทัพภาคที่ 3 เน้นพัฒนาการของเด็ก กระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งหมายให้เด็กๆ ทำความเข้าใจเรื่องสุขภาวะและหน้าที่ของตนเอง ที่เหมาะสมตามวัยของเด็ก จะไม่เร่งรัดว่าเด็กๆ เข้าโรงเรียนแล้วต้องท่อง ก.ไก่ ข.ไข่ ให้ได้ แต่คุณครูใส่ใจพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สุขภาวะ ส่งเสริมผ่านการวาดรูป ปั้นดินน้ำมัน ซึ่งได้มีการสื่อสารกับผู้ปกครองให้รับทราบแนวทางร่วมกัน ทั้งนี้ กระบวนการเรียนการสอน ให้การศึกษา จะได้รับพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของนักเรียนแต่ละคน
อาจเรียกได้ว่า นี่คือการออกแบบตั้งแต่ต้นทางและอย่างเข้าใจในการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ที่เด็กๆ จะให้ความไว้วางใจและอบอุ่นใจเมื่อได้มาโรงเรียน และเมื่อถามว่า เป็นไปได้ไหมที่จะมีโรงเรียนที่ถูกออกแบบอย่างเข้าใจ เป็นของชุมชน และได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการอย่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งนี้ ตอบอย่างไม่ลังเลว่า “เป็นไปได้แน่นอน แต่ต้องเริ่มจากความเข้าใจ”
นที มีเดช รายงาน