ตามนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพชร ผบ.ตร., พล.ต.อ. ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร.และ พล.ต.ท.สยาม บุญสม รรท.ผบช.น. ให้ระดมจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับค้างเก่าทั่วประเทศในห้วง 25 พ.ย. ถึง 4 ธ.ค.2567 นั้น
เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.2567 พล.ต.ท.สยาม บุญสม รรท.ผบช.น., พล.ต.ต.วสันต์ เตชะอัครเกษม รอง ผบช.น., พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น., พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก. สส. บช.น., พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย, พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง รอง ผบก.สส.ฯ, พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ, พ.ต.ท.พัชรพงษ์ กาญจนวัฎศรี, พ.ต.ท.นิธิ ปิยะพันธุ์ รอง ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.วิเคราะห์ข่าวฯ บก.สส. นำโดย พ.ต.ท.ธีวร์ราธิป ชูดวง สว.กก.วิเคราะห์ข่าวฯ พร้อม ชุดปฏิบัติการที่ 2 ดำเนินการร่วมกับ กก.สส. ภ. จ.ตรัง จับกุมตัวผู้ต้องหาบัญชีม้า 8 ราย และร่วมกันลักทรัพย์ 1 ราย ดังนี้
1. นายธงชัย อายุ 43 ปี ภูมิลำเนา แขวงบางลำภูล่าง เขตปากคลองสาน กรุงเทพมหานคร นายธงชัยฯ อายุ 43 ปี ตามหมายจับศาลจังหวัดตรัง ที่ 227/2567 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2567 ในข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และโดยทุจริต หรือหลอกลวง ร่วมกันนำข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน หรือบิดเบือนหรือยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอทรอนิกส์ โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้โดยประการที่รู้หรือควรจะว่านำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือความผิดอาญาอื่นใด” นำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองตรัง
2. น.ส.รวิวรรณ อายุ 25 ปี ตามหมายจับศาลจังหวัดตรัง ที่ จ.465/2567 ลงวันที่ 14 พฤศจิกา ยน 2567 ข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น และโดยทุจริต หรือหลอกลวง ร่วมกันนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือเปิดหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอทรอนิกส์ โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้โดยประการที่รู้หรือควรจะว่านำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือความผิดอาญาอื่นใด” นำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองตรัง
3. น.ส.ฐิติพร อายุ 37 ปี ตามหมายจับศาลจังหวัดตรัง ที่ จ.318/2567 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2567 ข้อหา “ฉ้อโกงประชาชน และโดยทุจริต หรือหลอกลวง นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน”
4. น.ส.อมราวรรณ อายุ 35 ปี ตามหมายจับศาลแขวงตรัง ที่ จ 48/2565 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์” นำส่งพนักงานสอบสวน สภ.นาโยง จ.ตรัง
5. นายภานุมาศ อายุ 22 ปี ตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี ที่ จ.606/2567 ลงวันที่ 5 สิงหา คม 2567 ข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกง และโดยทุจริต หรือหลอกลวง นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยมิได้กระทำต่อประชาชนทั่วไป” นำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สภ.คลองห้า จ.ปทุมธานี
6. น.ส.ปัญญาพร อายุ 28 ปี ตามหมายจับศาลอาญามีนบุรี ที่ จ.290/2567 ลงวันที่ 20 กุมภา พันธ์ 2567 ข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกง และโดยทุจริต หรือหลอกลวง นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิด เบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยมิได้กระทำต่อประชาชน เป็นการกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ” นำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สน.คันนายาว
7. นายชัยวุฒิ อายุ 39 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 4905/2567 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2567 ข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันโดยทุจริต หรือหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอม พิวเตอร์ ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” นำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สน. พญาไท
8. น.ส.สมพร อายุ 25 ปี ตามหมายจับศาลอาญาพระโขนง ที่ จ.571/2567 ลงวันที่ 22 สิงหา คม 2567 ข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” และ
9.นายสุรเดช อายุ 34 ปี ตามหมายจับศาลจังหวัดตรัง ที่ 158/2567 ลงวันที่ 23 เมษายน 2567 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันลักทรัพย์ในเคหสถาน ในเวลากลางคืน โดยใช้ยานพาหนะ เพื่อสะดวกแก่การกระทำความผิด เพื่อการพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นจากการจับกุม” นำส่งพนักงานสอบสวน สภ.หาดสำราญ จ.ตรัง
ด้าน พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. กล่าวว่า บัญชีม้า คือ บัญชีที่ถูกเปิดเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง เช่น นำไปใช้ทำเรื่องผิดกฎหมาย หรือเอาไว้ใช้สำหรับถ่ายเท หรือใช้ในการฟอกเงิน โดยบัญชีม้าคนที่ถือครองบัญชีมักจะไม่ใช้เจ้าของตัวจริง แต่จะเป็นของมิจฉา ชีพนำไปใช้ ซึ่งส่วนใหญ่มิจฉาชีพจะใช้วิธีการจ้างวานคนทั่วๆ ไปให้ทำการเปิดบัญชีธนาคาร โดยให้เงินค่าจ้างแล้วแต่ตกลงกัน และขอแจ้งเตือนประชาชน อย่าเห็นแก่เงินเพียงเล็กน้อย โดนโทษหนัก ทั้งปรับและจำคุก หากรับเปิด “บัญชีม้า-ซิมม้า” ตามพระราชกำหนด มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 ระบุว่า เจ้าของบัญชีม้า หรือเบอร์ม้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน