ข่าวใหม่อัพเดท » พล.อ.สมบัติ ธัญญะวัน บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การน้อมนำจิตอาสาพระราชทาน สู่ประเทศชาติมั่นคงประชาชนมีความสุข”

พล.อ.สมบัติ ธัญญะวัน บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การน้อมนำจิตอาสาพระราชทาน สู่ประเทศชาติมั่นคงประชาชนมีความสุข”

23 ธันวาคม 2024
0

21 ธันวาคม 2567 พล.อ.สมบัติ ธัญญะวัน นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์ นถปภ.รอ. ได้เป็นผู้แทนจากศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การน้อมนำจิตอาสาพระราชทาน สู่ประเทศชาติมั่นคงประชาชนมีความสุข”

โดยสรุปเนื้อหาใจความได้ดังนี้

  1. ความมั่นคงเปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ ที่ถูกยึดโยงด้านราก ที่คอยส่งอาหารหล่อเลี้ยงลำต้นเหมือนดั่ง ศาสนาที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวของคนในชาติ ลำต้นที่มีแก่นหมายถึงสถาบันกษัตริย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ปกป้องและสร้างชาติมา ใบไม้และกิ่งไม้เปรียบเสมือนชาติที่ประกอบไปด้วย ประชาชนและการปกครอง ที่ทุกคนต้องมีจิตสำนึกของความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ
  2. ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่ผ่านมาในอดีต เป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านต่างๆให้กับประเทศชาติ จนถึงรัชสมัยของพระบรมชนกาธิเบศร ฯ ที่ได้พระราชทานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นการสร้างความมั่นคงด้านการพัฒนามนุษย์ในระยะยาวซึ่งเป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ จนได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล UNDP Human Development Lifetime Achievement Award จากองค์การสหประชาชาติในปี พ.ศ.2549
  3. ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงรับสานปณิธานต่อภายใต้พระปฐมบรมราชโองการ “เราจะสืบสาน รักษา ต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป“ และได้พระราชทาน ”จิตอาสา เราทำความดีด้วยหัวใจ“ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีในหลักของการแบ่งปัน การทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน และการเริ่มทำดีที่ตัวเราเอง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานส่วนหนึ่งของการเดินตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ได้ให้ประโยชน์ และการนำไปใช้ คือ การเริ่มทำดีที่ตนเอง และจบด้วยตนเอง ปรับเปลี่ยนแนวความคิด โดยไม่ตัดสินคนอื่นด้วยความคิดตน
  4. การทำจิตอาสานี้ มีหลักคือ การฝึกตนเองให้ลดความเห็นแก่ตัว ฝึกการแบ่งปัน โดยใช้การเริ่มทำดีให้เป็นธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่สามารถทำได้โดยไม่ต้องคิด เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนจิตใต้สำนึกให้มีความเป็นจิตอาสา ถ้าสามารถทำได้เช่นนี้ จะเป็นการพัฒนาสังคมและประเทศชาติได้มั่นคงและยั่งยืนตามพระราชปณิธาน “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานพระราชปณิธาน ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

นที มีเดช รายงาน

error: Content is protected !!