มรภ.ยะลา ใช้หลักสูตรภาษามลายู สู่ตลาดแรงงานอาเซียน เพิ่มโอกาสให้เยาวชนชายแดนใต้
อาจารย์มะนาวาวี มามะ ประธานหลักสูตรภาษามลายู คณะมนุษยศาสตร์ สังคม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้เล็งเห็นความสำคัญของภาษามลายูและตลาดแรงงาน ดังนั้นอาเซียนกับภาษามลายู จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับนักศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรามีนักศึกษาที่จบไปแล้วและได้ทำงานที่ประเทศมาเลเซียจำนวนไม่น้อย และการตอบโจทย์สำหรับหลักสูตรนี้คือ การพัฒนาทางด้านภาษาจากมลายูท้องถิ่นยกระดับเป็นภาษามลายูกลาง เนื่องจากมีความแตกต่างกัน และความสำคัญของภาษามลายูกลางคือความเป็นนานาชาติ
ประธานหลักสูตรภาษามลายู คณะมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ยังกล่าวด้วยว่า มหาวิทยาลัยจะมีการปรับปรุงหลักสูตรต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้หลักสูตรเดิม ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเน้นนักศึกษาออกไปฝึกงานตามบริษัทต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะที่อินโดนีเซีย ขณะนี้มีความต้องการของตลาดแรงงานมาก เป็นล่ามภาษาไทย ซึ่งหากมองถึงศักยภาพแล้ว นักศึกษาสามารถยืนหยัดอยู่ในตลาดแรงงานเหล่านี้ได้
ขณะที่ นายนัศรุดดีน ยามา นักศึกษาหลักสูตรภาษามลายู ปี 3 มองว่า ภาษามลายูเป็นโอกาสที่น่าสนใจ สำหรับการไปทำงานประเทศต่างๆ ในอาเซียน ภาษามลายูเป็นภาษาที่คนในพื้นที่ส่วนใหญ่เขาใช้กัน ตัวเองต้องการต่อยอดภาษาที่เป็นภาษามลายูกลาง ต้อง การที่จะเรียนรู้วัฒนธรรมและภาษาจึงตัดสินใจเลือกที่จะเรียนภาษามลายูเพื่อต่อยอดความรู้ที่มี และเมื่อภาคเรียนที่ผ่านมาตนเองได้มีโอกาสรับทุนแลกเปลี่ยนจากทางมหาวิทยาลัยมาลัง ประเทศอินโดนีเซีย เมืองมาลังอยู่ในเกาะชวา มีการใช้ภาษาชวากับภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งเราเองก็ต้องไปเรียนรู้ทั้งภาษาอินโดนีเซียและภาษาชวาไปด้วย
“ด้วยประชากร 3 ร้อยกว่าล้านคนของอินโดนีเซีย เขามีเรียนรู้การใช้ชีวิตด้วยกัน ความเป็นหนึ่งเดียวกันซึ่ง ชาวอินโดนีเซียจะไม่มองในเรื่องของความแตกต่างทางศาสนา แต่เขาเลือกที่จะเข้าใจกันและอยู่ร่วมกันอย่างอย่างมีความสุข รู้สึกดีที่ได้มีโอกาสเรียนรู้”
#หลักสูตรภาษามลายูสู่ตลาดแรงงานอาเซียน #เยาวชนชายแดนใต้ #มรภยะลา #สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ #NNT #ILOVETHAILAND
ขอบคุณข้อมูล : thainews