๑.สถานการณ์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต.
๑.๑ สถานการณ์ภายในประเทศ
๑.๑.๑ สถานการณ์ข่าวเชิงลบ
ภาพข่าวเชิงลบในสัปดาห์นี้ เกิดขึ้นจาก ประเด็นอาชญากรรมในพื้นที่ (คนร้ายขับ กระบะยิงชาวบ้าน ‘บาเจาะ’ ดับ คาดสร้างสถานการณ์-ขัดแย้งธุรกิจ), ประเด็นเหตุร้ายรายวัน ( ควบ ปิคอัพ ยิงใส่ป้อมหน้าค่ายปิเหล็ง รับ ๑๖ ปีปล้นปืน), ประเด็นสิทธิมนุษยชน (ก่อน ‘วิ่งไล่ลุง’ นศ.PerMAS เผย ทหารเข้าถามข้อมูลกับแม่ เช็คเคยร่วมแฟลชม็อบ ‘ไม่ถอยไม่ทน’ หรือไม่), ประเด็นกระบวนการยุติธรรม (Man of the Year 2019 คณากร เพียรชนะ ‘คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษาคืนความเป็นธรรมให้ประชาชน’) และ ประเด็นการเมือง (๑) ‘ทวี’ ชี้ทางออกในการแก้ไฟใต้ ปัญหาอาจจะอยู่ที่ ‘ภาวะผู้นำ’, ๒) ๑๖ ปี ไฟ ใต้ เมื่อกลไกสภาขึงขัง ระวังเป็น’จุดตาย’รัฐบาลลุงตู่, ๓) เอาแล้ว! กมธ.กฎหมาย สภาฯ เรียก ‘๔ ผบ.ทบ.’ แจง หลัง ‘บุรินทร์’ ซัดทอด ไล่จับ นักกิจกรรม, ๔) ฝ่ายค้านล็อคเป้าถล่มงบกลาง-กห. ซุกเบี้ยเลี้ยงดับไฟใต้ ๔ พันล้าน? และ ๘) เดลินิวส์: เด็กยุคใหม่สะท้อนความจริง)
๑.๑.๒ สถานการณ์ข่าวเชิงบวก
ภาพข่าวเชิงบวกในสัปดาห์นี้ เกิดขึ้นจาก ประเด็นการสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์ (ตัวแทนครู-นักเรียนชายแดนใต้ เข้าพบ’บิ๊กตู่’ทำเนียบรัฐบาลในโอกาสวันเด็ก-วันครู), ประเด็นเศรษฐกิจ และการสร้างรายได้ (๑) เบตงคึกคักนักท่องเที่ยวมาเลย์-สิงคโปร์, ๒) มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา สนับสนุน หลักสูตรภาษามลายูสู่ตลาดแรงงาน และ ๓) รายงาน: ‘ศอ.บต.’เร่งดันหลังเกษตรกรชายแดนใต้ ให้พ้น วิกฤตราคายางดิ่งเหว ‘๔ โลฯ ๑๐๐’), ประเด็นทุจริตคอรัปชั่น: อธิบดีป่าไม้ตั้งสอบข้อเท็จจริง เลิกจ้าง จนท.พิทักษ์ป่ายะลา, ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (๑) ‘มทภ.๔’ หวังดับไฟใต้ได้ ใช้ความจริง-ลดเงื่อนไข, ๒) เปิดแผนประทุษกรรมปล้นปิค อัพยิงถล่ม ค่ายปิเหล็ง, ๓) ‘ตม.ปัตตานี’ ตรวจเข้มพื้นที่ รวบเมียนมา หลบหนีเข้าเมือง, ๔) มท.๒ ลุยตรวจเยี่ยม-ให้กำลังใจ อส.ชายแดนใต้, ๕) มภท.๔ สั่งลุยกวาดล้าง! แก๊งมอดไม้ เหิมรุกป่า สงวนฯ ยะลาเสียหาย ๔๐ ไร่ และ ๖) เร่งไล่ล่า ‘๑๙ โรฮิงญา’ แหกศูนย์กักตัวตม.สงขลา ล่าสุดจับได้แล้ว ๑ คน) และ ประเด็นยาเสพติด (๑) ทัพภาค ๔ เดินหน้าแก้ปัญหายาเสพติดในสตูล, ๒) ‘บิ๊กป้อม’ ขึงขังยันยึด กม. ฟันฉับตำรวจโยงยาเสพติดต้องให้ออก, ๓) ออกจากคุกมา หมาดๆ! หนุ่มซุกยาบ้า ๒ พันเม็ด สารภาพหาเงิน ซื้อรถเก๋ง และ ๕) บุกทลายโกดัง บุหรี่ไฟฟ้ารายใหญ่ ยึดของกลางมูลค่า ๕ ล้านบาท)
๑.๒ สถานการณ์ข่าวจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้
๑.๒.๑ การหลบหนีของผู้ต้องหาชาวโรฮิงญา ๑๙ คนจากสถานที่ควบคุมตัวตำรวจตรวจคนเข้าเมือง อ.สะเดา จ.ว.ส.ข. เมื่อวันที่ ๘ มกราคม เป็นประเด็นทื่สื่อมวลชนต่างประเทศสนใจ และ รายงานมากที่สุดในประเด็นเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องด้วยประเด็นผู้อพยพชาวโรฮิงญาเป็นประเด็นสากลที่ถูกจับตา และ เป็นปัญหาระดับโลก ทั้งนิ้สื่อที่รายงานประเด็นนี้ประกอบด้วยสำนักข่าว Reuters, Straits Times สื่อสิงคโปร์ และ สื่อมาเลเซียหลายแห่ง
๑.๒.๒ Benarnews.org หยิบงานวิจัยของนักวิชาการในประเทศสิงคโปร์ ประจำวิทยาลัยนานาชาติศึกษา เอส ราชา รัตนัม แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง เกี่ยวกับทิศทางการพูดคุยเพื่อสันติสุขใน จชต. มารายงาน โดยระบุ ว่า “แนวโน้มในประเด็นที่ยังคงมีปัญหาต่อเนื่อง ระหว่างรัฐบาลไทย และ ขบวนการแบ่งแยกดินแดน บีอาร์เอ็น คงเป็นประเด็นที่กลุ่มบีอาร์เอ็นเรียกร้องให้มีประชาคมนานาชาติเข้าสังเกตการณ์ร่วมในการพูดคุยฯ กับรัฐบาลไทยด้วย” พร้อมกับชี้ว่า หากบีอาร์เอ็นไม่เข้าร่วมโต๊ะเจรจา ก็ยากที่จะเห็นความคืบหน้าของกระบวนการสร้างสันติสุข
๑.๒.๓ สื่อมาเลเซียรายงานว่า มัสยิดกรือเซะแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวมาเลเซียมากเป็นลำดับต้นๆ
๒. ข้อพิจารณา: จากสถานการณ์ข่าวในข้อ ๑ มีข้อพิจารณาดังนี้
๒.๑ ภาพข่าวในประเด็นการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ จชต. (วิ่งไล่ลุง) ค่อนข้างมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกับ ประเด็นสิทธิมนุษยชน (ทหารเข้าถามข้อมูล) และประเด็นกระบวนการยุติธรรม (คณากร เพียรชนะ Man of the Year 2019) ดังนั้นไม่มากก็น้อยย่อมส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่ การเตรียมในการการปฏิบัติการข่าวสารเพื่อลดผลกระทบในประเด็นต่างๆ เหล่านี้ มีความจำเป็นหากภาคประชาสังคมในพื้นที่นำประเด็นเหล่านี้ไปขยายผล
๒.๒ สืบเนื่องจากเหตุการณ์ชาวโรฮิงญา ที่หลบหนีจากที่ควบคุมใน จว.ส.ข. ได้รับความสนใจจากสื่อทั้งไทย และต่างประเทศ ดังนั้นจึงใช้โอกาสนี้ ในการเปิดพื้นที่ข่าวในเรื่องการจับกุม และ ช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์
๓. ข้อเสนอ : จากข้อพิจารณาในข้อ ๒ เห็นควรประชาสัมพันธ์ ตามแนวทางดังนี้
๓.๑ ประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติงานป้องกัน และ ปราบปรามการค้ามนุษย์ในพื้นที่รับผิดชอบของ กอ.รมน.ภาค ๔ สน. ในรอบปี ๒๕๖๒ ทั้งนี้ควรมีการดำเนินการจัดทำเอกสารข้อมูลตัวเลขสถิติการจับกุม และ ช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์ ในรอบปี ๒๕๖๒ เผยแพร่แก่สื่อมวลชน และ ช่องทางเผยแพร่ข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์ ในห้วงเวลาที่สื่อมวลชนกำลังให้ความสนใจกับข่าวผู้ต้องขังชาวโรฮิงญา ๑๙ คนหลบหนีออกจากที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาของสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง อ.สะเดา จ.ว.ส.ข. เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ดังนั้นห้วงสัปดาห์นี้จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติงานป้องกัน และ ปราบปรามการค้ามนุษย์ในพื้นที่รับผิดชอบของ กอ.รมน.ภาค ๔ สน. เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่สื่อมวลชนทั้งไทย และ ต่างประเทศ สนใจติดตามข่าวผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮิงญาไหลบหนีออกจากที่ควบคุมตัวที่ ตม.อ.สะเดา จึงเป็นช่วงเวลาที่ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกัน และ ปราบปรามการค้ามนุษย์ในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย จะได้รับความสนใจ และ เผยแพร่อย่างกว้างขวาง (highly media exposure)
๓.๒ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเชิงบวกสะท้อนประวัติศาสตร์ความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ปัตตานี และ จังหวัดชายแดนภาคใต้ สืบเนื่องจากรายงานข่าวของ New Straits Times สื่อมาเลเซีย เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ระบุว่า มัสยิดกรือเซะเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นลำดับต้นๆ ในหมู่นักท่องเที่ยวมาเลเซีย ซึ่งนิยมเดินทางมาละหมาด และ ฟังเรื่องราวประวัติศาสตร์ และร่ องรอยความรุนแรงจากเหตุการณ์เมื่อปี ๒๕๔๗ จากการบอกเล่าของเจ้าหน้าที่มัสยิด และ โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดกรือเซะ ซึ่งเป็นการรับฟังข้อมูลด้านที่เป็นประวัติศาสตร์บาดแผล ชาวมุสลิมถูกเจ้าหน้าที่ทหารไทยสังหารที่มัสยิดกรือเซะ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรม คือกระทรวงวัฒนธรรม และ กรมศิลปากร หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ ควรดำเนินการจัดพื้นที่แสดงนิทรรศการ ที่มีเนื้อหาด้านบวกสะท้อนความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมในดินแดนแห่งนี้มาตั้งแต่อดีต โดยนอกจากภาษาไทยแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่นิทรรศการต้องมีคำอธิบายเป็นภาษามลายู เพื่อให้นักท่องเที่ยวมาเลเซียที่เดินทางมาเยือนมัสยิดกรือเซะได้รับข้อมูลเชิงบวก ด้วย