ข่าวใหม่อัพเดท » ผู้ว่าฯจันทบุรี นำคณะขึ้น ฮ.บินสำรวจพื้นที่ ศึกษาข้อเท็จจริงก่อนนำมาปรับแผนป้องกันภัยแล้ง และ มาตรการป้องกันและลดฝุ่นละออง PM.2.5

ผู้ว่าฯจันทบุรี นำคณะขึ้น ฮ.บินสำรวจพื้นที่ ศึกษาข้อเท็จจริงก่อนนำมาปรับแผนป้องกันภัยแล้ง และ มาตรการป้องกันและลดฝุ่นละออง PM.2.5

30 มกราคม 2020
0

https://youtu.be/43bpmBzX8Hk

ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีนำคณะขึ้น ฮ.บินสำรวจพื้นที่ศึกษาข้อเท็จจริงก่อนนำมาปรับแผนป้องกันภัยแล้ง และ มาตรการป้องกันและลดฝุ่นละออง PM.2.5

วันนี้ ( 29 ม.ค.63 ) ที่สนามบิน ทร.3141 อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี นายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วย นายวิทวัฒน์ วันทนียกุล ผู้อำนวยการชลประทานจังหวัดจันทบุรี และนายวีระพล สุดชาฎา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เพื่อสำรวจพื้นที่และสถานการณ์ภัยแล้ง /ฝุ่นละออง หมอก ควัน PM 2. ก่อนนำข้อมูลมาปรับแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ซึ่งจันทบุรีไม่ประสบปัญหาเรื่องฝุ่นละออง หมอก ควัน PM 2.5 เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนผลไม้เกษตรกรไม่นิยมเผาใบไม้ เพราะสามารถนำมาทำปุ๋ยหมักเกิดประโยชน์มากกว่า ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้ง

นายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวภายหลังจากบินสำรวจแล้วเสร็จว่าปัจจุบันพื้นที่การเกษตรเปลี่ยนเป็นสวนทุเรียนเยอะมาก เข้าใจว่าเกษตรกรชาวสวนที่จะต้องปลูกผลไม้เศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ดี แต่การเพิ่มพื้นที่ของสวนผลไม้โดยเฉพาะทุเรียน จำเป็นที่ชาวสวนต้องวางแผนเรื่องของแหล่งน้ำ สวนผลไม้ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือพื้นที่ชลประทานก็มีโอกาสรอดพ้นวิกฤติ สวนผลไม้ของเกษตรกรรายใหญ่ที่เตรียมความพร้อมเรื่องของแหล่งน้ำก็ยังไม่น่าเป็นห่วงเท่าสวนผลไม้รายย่อยของเกษตรกรที่อยู่ห่างแหล่งน้ำที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งแน่นอน จึงอยากให้เกษตรกรที่จะปลูกพืชสวนต้องคำนึงถึงผลกระทบจากภาวะขาดน้ำและการตลาดในระยะยาวด้วย

อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำเขื่อนหลัก และอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ในจังหวัดจันทบุรีที่มีอยู่ยังมีประมาณน้ำเพียงพอสำหรับพื้นที่ในเขตชลประทาน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบจ., เทศบาลฯ, อบต. และ ส่วนราชการ ปภ.ทหาร ตำรวจได้เดินหน้าตามแผนเผชิญเหตุภัยแล้งแล้ว แต่ก็ขอให้เกษตรกร และ ประชาชนต้องร่วมมือกันประหยัดน้ำและแบ่งปันน้ำให้ทั่วถึงโดยเฉพาะน้ำจากเขื่อนคิรีธารที่จะปล่อยลงมาเป็นน้ำดิบสำหรับการประปาในเขตเมืองขอเกษตรกรที่อยู่ตามแนวส่งน้ำ หยุดสูบน้ำเข้าสวนในวันพุธที่มีการปล่อยน้ำ เพื่อให้น้ำจากเขื่อนคิรีธารสามารถลงมาเติมเป็นน้ำต้นทุนในแม่น้ำจันทบุรี เพื่อผลิตน้ำประปาได้ตามที่ชลประทานและการประปาส่วนภูมิภาควางแผนไว้

สำคัญที่สุดคือความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ต้องบริหารจัดการและมีน้ำใจแบ่งปันน้ำที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคาดว่าจันทบุรีจะผ่านพ้นวิกฤติภัยแล้งได้ก็ด้วยความร่วมมือของทุกคน

ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา  ผู้สื่อข่าว จ.จันทบุรี
นาย  พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก

error: Content is protected !!