ข่าวใหม่อัพเดท » การวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสาร ในการแก้ไขปัญหา จชต.

การวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสาร ในการแก้ไขปัญหา จชต.

3 กุมภาพันธ์ 2020
0

๑. บทสรุปผู้บริหาร

        จากการติดตามสถานการณ์ข่าวที่เกิดขึ้นจากการนำเสนอของสื่อมวลชนภายในประเทศในช่วงวันที่ ๒๕-๓๑ ม.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวก ๑๐๕ ข่าว จากที่มี ๑๗๓ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘-๒๔ ม.ค. ๖๓) ในส่วนของข่าวเชิงลบที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีข่าวเชิงลบ ๑๔ ข่าวในสัปดาห์นี้ จากที่มี ๔๕ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘-๒๔ ม.ค. ๖๓)

ประเด็นข่าวเชิงลบ ได้แก่

  • เหตุร้ายรายวัน : ๑) โต๊ะพูดคุยขยับ – ความรุนแรงเขยื้อน ล็อคเป้า อส.-ทหารพราน, ๒) คอลัมน์ ข่าวสดทั่วไทย: ยะลา-ยิงหนุ่มดับ, ๓) ซุ่มยิงที่ ‘บาเจาะ’ อาก้ารัวดับหนุ่ม และ ๔) เดลินิวส์ก่อนขึ้นแท่น: โจรใต้บุกยิง อส. คาร้านชำ
  • การเยียวยา: ทวงทั้งน้ำตา…เมื่อปัญหาเงินเยียวยาลามดงขมิ้น พระถูกยิงไม่ได้รับทุนการศึกษา
  • การเมือง: ๑) รถสายตรวจฉาวไม่เลิก และ ๒) ‘หมอสุภัทร’โพสต์พึ่งรัฐสภายาก

ประเด็นข่าวเชิงบวก ได้แก่

  • การพูดคุยเพื่อสันติฯ : เปิดเส้นทางโต๊ะพูดคุยสันติสุขรอบใหม่ ใครเป็นใครในคณะ BRN
  • การรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน: ๑) จับเรือประมงขนน้ำมันเถื่อน และ ๒) ‘บิ๊กแดง’ เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ
  • ยาเสพติด: จับ ๒ โจ๋รับจ้างส่งยานรก  
  • การยกระดับคุณภาพชีวิต: ๑) ด่านเบตงตรวจเข้ม ป้องกันไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ และ ๒) ด่านสุไหงโก-ลกเข้ม! คัดกรอง นทท.เข้าประเทศ เฝ้าระวังเชื้อไวรัสโคโรนา
  • สิทธิมนุษยชน: ‘กรรมการสิทธิฯ’ ร่วม ‘กอ.รมน.’ อบรมสิทธิมนุษยชนให้เจ้าหน้าที่รัฐชายแดนใต้
  • เศรษฐกิจ และการสร้างรายได้: เมืองต้นแบบที่ ๔ เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

          จากสถานการณ์ข่าวที่เกิดขึ้นจากการนําเสนอของสื่อมวลชน ส่งผลให้ระดับการรับรู้เชิงบวกที่มีต่อสถานการณ์ จชต. ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้น จาก ๒.๑๓ ในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘ – ๒๔ ม.ค. ๖๓) เป็น ๒.๙๘ ในสัปดาห์นี้

ในส่วนของประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๒๕–๓๑ ม.ค. ๖๓ ดังนี้

         การพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ เป็นประเด็นสำคัญที่สื่อต่างประเทศให้ความสนใจ ทั้งนี้การจัดสรุปประเด็นความก้าวหน้ากระบวนพูดคุยสันติสุข (media briefing) ให้กับผู้สื่อข่าวโดย พลเอกวัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุข เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม มีสื่อต่างประเทศหลายแห่งรายงานข่าวนี้ คือ สำนักข่าว ซินหัวของทางการจีน และ benarnews.org สื่อเว็บไซด์ภายใต้ Radio Free Asia สื่อที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนดำเนินงานจากรัฐบาลอเมริกัน ทั้งนี้ The Star สื่อมาเลเซียมีการนำรายงานของซินหัวไปเผยแพร่ต่อประเด็นสำคัญจาก media briefing ที่นำไปรายงานสะท้อนทัศนคติเชิงบวก เช่น พาดหัวของสำนักข่าวซินหัว “การพูดคุยเพื่อสันติสุขรอบแรกระหว่างฝ่ายรัฐไทยกับกลุ่มติดอาวุธใน จชต. ประสบความสำเร็จ” (First round of resumed peace talks with Thailand’s deep south insurgency satisfactory)ทั้งนี้รายงานข่าวของสำนักข่าวซินหัว และ benarnews.org สอดคล้องกันคือ อ้างคำพูดของ พลเอกวัลลภ ระบุว่า ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่า จะมุ่งแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ จชต. ด้วยกระบวนการสันติวิธี

จากสถานการณ์ข่าวทั้งใน และต่างประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีข้อเสนอแนะในการประชาสัมพันธ์ ดังนี้

        ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการให้ความช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ของแพทย์ทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการให้ความรู้การดูแลป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโครนาสายพันธ์ใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศจีน และ หลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนานอกจากในประเทศจีนแล้ว ยังพบในประเทศไทย มาเลเซีย และ สิงคโปร์ นอกจากนี้ในประเทศไทยยังพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่ไม่มีประวัติเดินทางไปประเทศจีนแต่ด้วยอาชีพขับรถแท๊กซี่จึงทำให้เขาได้รับเชื้อโรคจากผู้โดยสารชาวจีน ดังนั้นแม้พื้นที่ จชต. ยังไม่พบว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา แต่ก็สันนิษฐานว่าในพื้นที่เขตเมืองโดยเฉพาะคนไทยเชื้อสายจีนน่าจะมีผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวประเทศจีนในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่นานนัก และ พื้นที่ท่องเที่ยวโดยเฉพาะ อ.หาดใหญ่ และ อ.เมือง สงขลา ก็เป็นพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาท่องเที่ยว การให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่จึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ โดยมีข้อเสนอแนะในการประชาสัมพันธ์ดังนี้

  • จัดทำข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหน่วยแพทย์ทหารที่ออกไปตรวจเยี่ยมดูแลสุขภาพประชาชนในห้วงเวลานี้ ว่าแพทย์ และ บุคลากรทางการแพทย์ของกองทัพบกมีการให้ความรู้การดูแลป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” และ แจกหน้ากากอนามัยให้กับประชาชนสำหรับไว้ใช้งานเวลาที่เดินทางไปในพื้นที่เขตเมืองที่มีผู้คนหนาแน่น
  • จัดทำคลิปวิดิโอการตรวจเยี่ยมดูแลสุขภาพประชาชนตามข้อ ๑) เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ 

๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๒๕–๓๑ ม.ค. ๖๓

     ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ


ในช่วงวันที่ ๒๕ – ๓๑ ม.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวก (เส้นทึบสีเขียว) ๑๐๕ ข่าว จากที่มี ๑๗๓ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘ – ๒๔ ม.ค. ๖๓) สำหรับในมิติของแนวโน้มความถี่ (เส้นปะสีน้ำเงิน) มีแนวโน้มฯ ลดลง ในส่วนของข่าวเชิงลบที่เกี่ยวข้องกับ จชต. (เส้นทึบสีแดง) มีข่าวเชิงลบ ๑๔ ข่าวในสัปดาห์นี้ จากที่มี ๔๕ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘ – ๒๔ ม.ค. ๖๓) สำหรับในมิติของแนวโน้มความถี่ (เส้นปะสีแดง) มีแนวโน้มฯ ลดลง

๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ

เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังนี้

วัน/เดือน/ปี จำนวนข่าวเชิงบวก (1) จำนวนข่าวเชิงลบ (2) ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)
2020-01-18 26 8 3.25
2020-01-19 12 4 3
2020-01-20 38 6 6.33
2020-01-21 40 4 10
2020-01-22 21 4 5.25
2020-01-23 20 15 1.33
2020-01-24 16 4 4
  24.71 6.43 3.84
2020-01-25 11 1 11
2020-01-26 11 0 11
2020-01-27 16 6 2.67
2020-01-28 19 2 9.5
2020-01-29 11 1 11
2020-01-30 19 2 9.5
2020-01-31 18 2 9
  15 2.14 7.01

๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๒๕–๓๑ ม.ค. ๖๓

     ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

ในช่วงวันที่ ๒๕ – ๓๑ ม.ค. ๖๓ ข่าวเชิงบวก มีความถี่ลดลง ร้อยละ ๘๕ (๗ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘ – ๒๔ ม.ค. ๖๓) ๑ ข่าวในสัปดาห์นี้) สำหรับในมิติของแนวโน้มความถี่ (เส้นปะสีน้ำเงิน) มีแนวโน้มฯ เพิ่มขึ้น ในส่วนของข่าวเชิงลบที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีความถี่ ลดลง ร้อยละ ๗๕ (๔ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘ – ๒๔ ม.ค. ๖๓) ๐ ข่าวในสัปดาห์นี้) สำหรับในมิติของแนวโน้มความถี่ (เส้นปะสีแดง) มีแนวโน้มฯ ลดลง ไม่มีข่าวเชิงลบ ในสัปดาห์นี้  ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ เปิดเส้นทางโต๊ะพูดคุยสันติสุขรอบใหม่ ใครเป็นใครในคณะ BRN

     ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

ในช่วงวันที่ ๒๕-๓๑ ม.ค. ๖๓ มีข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน ๔ ข่าว จากที่มี ๒๓ ข่าว ในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘-๒๔ ม.ค. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ลดลง ภาพข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน ได้แก่ ๑) โต๊ะพูดคุยขยับ – ความรุนแรงเขยื้อน ล็อคเป้า อส.-ทหารพราน, ๒) คอลัมน์ ข่าวสดทั่วไทย: ยะลา-ยิงหนุ่มดับ, ๓) ซุ่มยิงที่ ‘บาเจาะ’ อาก้ารัวดับหนุ่ม และ ๔) เดลินิวส์ก่อนขึ้นแท่น: โจรใต้บุกยิง อส. คาร้านชำ

     ๓.๓ ประเด็นการเมือง

ในช่วงวันที่ ๒๕-๓๑ ม.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมืองเกี่ยวกับ จชต. ๑ ข่าว จากที่มี ๑๙ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘-๒๔ ม.ค. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ลดลง ในส่วนข่าวเชิงลบฯ มีข่าวเชิงลบ ๓ ข่าว จากที่มี ๒ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘-๒๔ ม.ค. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ สบาย สบายสไตล์การเมือง: เอาไว้รอดู  ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ๑) รถสายตรวจฉาวไม่เลิก และ ๒) ‘หมอสุภัทร’โพสต์พึ่งรัฐสภายาก

     ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

ในช่วงวันที่ ๒๕-๓๑ ม.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน ๘ ข่าว จากที่มี ๑๒ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘-๒๔ ม.ค. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ  ลดลง  ในส่วนข่าวเชิงลบฯ ไม่มีข่าวเชิงลบฯ ในสัปดาห์นี้ จากที่มี ๑ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘-๒๔ ม.ค. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ๑) ตรวจเยี่ยม, ๒) ทัพไทย-บรูไนพร้อมรับมือภัยพิบัติ, ๓) จับเรือประมงขนน้ำมันเถื่อน และ ๔) ‘บิ๊กแดง’ เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

     ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

ในช่วงวันที่ ๒๕-๓๑ ม.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจฯ ๒๓ ข่าว จากที่มี ๔๑ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘-๒๔ ม.ค. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ลดลงเล็กน้อย ในส่วนของข่าวเชิงลบในประเด็นเศรษฐกิจฯ มีข่าวเชิงลบฯ ๓ ข่าวในสัปดาห์นี้ จากที่มี ๙ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘-๒๔ ม.ค. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ๑) ‘สนามบินเบตง’ถูกกฎหมาย, ๒) กยท.จ.ยะลานำทีมผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบแปลงยาง ให้เกษตรกร, ๓) เอไอเอส ผนึก เอสซีจี-ม.อ.สร้างต้นแบบ5G ภาคอุตสาหกรรมสำเร็จรายแรก!, ๔) ภาพข่าว: คอลัมน์ NATIONzone UPDATE: ‘DITP พัฒนาผู้ประกอบการสินค้าอาหารฮาลาล, ๕) ‘นพดล’เตรียมรับฟังความเห็นปชช. เกี่ยวกับขุดคลองไทย 25 ก.พ. นี้, ๖) ข่าวดี!พบแหล่งน้ำมันดิบอ่าวไทยเพิ่ม, ๗) รายงาน พิเศษ : เมืองต้นแบบที่ 4 เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จะเดินหน้าอย่างไร อยู่ที่การตัดสินใจของคนในพื้นที่ และ ๘) ปักหมุดจุดเช็กอินใหม่ ‘สตรีทอาร์ทเบตง’ รวมพลัง ศิลปินดังกว่า 30 ภาพ, ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ม็อบยางชุมนุมปิดควนหนองหงส์

     ๓.๖ ประเด็นยาเสพติด

ในช่วงวันที่ ๒๕-๓๑ ม.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวก ในประเด็นยาเสพติด ๒ ข่าวจากที่มี ๑๐ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘-๒๔ ม.ค. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ลดลง ในส่วนของข่าวเชิงลบในประเด็นยาเสพติด ไม่มีข่าวเชิงลบทั้งในสัปดาห์นี้ และ ในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘ – ๒๔ ม.ค. ๖๓) ๐ ข่าวในสัปดาห์นี้ ) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ เดลินิวส์ก่อนขึ้นแท่น: จับ2โจ๋รับจ้างส่งยานรก  

     ๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน

ในช่วงวันที่ ๒๕ – ๓๑ ม.ค. ๖๓ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นสิทธิมนุษยชน

     ๓.๘ ประเด็นการบํารุงขวัญกําลังพล

ในช่วงวันที่ ๒๕ – ๓๑ ม.ค. ๖๓ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบํารุงขวัญกําลังพล

     ๓.๙ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.

ในช่วงวันที่ ๒๕ – ๓๑ ม.ค. ๖๓ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.

     ๓.๑๐ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย

ในช่วงวันที่ ๒๕ – ๓๑ ม.ค. ๖๓ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย

๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก

     ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้

ประเด็นข่าวเชิงลบ

๑. เหตุร้ายรายวัน ๑) โต๊ะพูดคุยขยับ – ความรุนแรงเขยื้อน ล็อคเป้า อส.-ทหารพราน, ๒) คอลัมน์ ข่าวสดทั่วไทย: ยะลา-ยิงหนุ่มดับ, ๓) ซุ่มยิงที่’บาเจาะ’อาก้ารัวดับหนุ่ม  และ  ๔) เดลินิวส์ก่อนขึ้นแท่น: โจรใต้บุกยิงอส.คาร้านชำ
๒. การเยียวยา ทวงทั้งน้ำตา…เมื่อปัญหาเงินเยียวยาลามดงขมิ้น พระถูกยิงไม่ได้รับทุนการศึกษา
๓. การเมือง ๑) รถสายตรวจฉาวไม่เลิก, ๒) คอลัมน์ ถูกทุกข้อ  และ  ๓) ‘หมอสุภัทร’โพสต์พึ่งรัฐสภายาก

ประเด็นเชิงบวก

๑. กีฬา ๑) ย่อยข่าวกีฬา: ฐิติวัฒน์คว้าทองมวยกีฬา นร., ๒) สีสันอุดรธานีเกมส์๓) คอลัมน์ มุมที่5, ๔) เทียบ2ทีม’ใหญ่ฟัดใหญ่’ชิงเก้าอี้ลูกหนัง, ๕) มุมที่5, ๖) คอลัมน์ มุมที่5, ๗) ‘ธีรรัตน์’สาวนักปั่นเขต1คว้าทองเสือภูเขา ‘บิ๊กติ’พอใจมาตรฐานตัดสินกีฬานักเรียน, ๘) กีฬาชายแดนใต้, ๙) จัตุรัสทั่วไทย: ตามรอย..เวทีนักออกแบบรุ่นเยาว์ GSTD13 ‘แกรนด์สปอร์ต’สร้างเยาวชนคุณภาพ, ๑๐) โปรมะกันขึ้นนำเดี่ยวกอล์ฟบุญชู, ๑๑) เข้าที่ 1  และ  ๑๒) ‘โปรไช้’นำ 2 สโตรก กอล์ฟ บุญชู เรืองกิจ แชมเปี้ยนชิพ รอบสาม ชิงเงินรวม4ล้าน,
๒. การรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ๑) เดลินิวส์ก่อนขึ้นแท่น: จับเรือ2ลำค้าน้ำมันเถื่อน, ๒) ตรวจเยี่ยม, ๓) ทัพไทย-บรูไนพร้อมรับมือภัยพิบัติ, ๔) เก็บตกข่าวฮาประสาทหาร, ๕) จับเรือประมงขนน้ำมันเถื่อน, ๖) คอลัมน์ ข่าวสั้น: ผบ.ทบ.มาเลเซียชมกองทัพไทยจัดอีเวนต์ความมั่นคง, ๗) ‘บิ๊กแดง’ เยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ  และ  ๘) ผบ.ทบ. พร้อมคณะเดินทางเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ,
๓. ยาเสพติด ๑) เดลินิวส์ก่อนขึ้นแท่น: จับ2โจ๋รับจ้างส่งยานรก  และ  ๒) บุกรวบโจ๋หาดใหญ่ค้ายาคาบ้าน,
๔. วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ๑) เสด็จฯเปิดตรุษจีนเยาวราช ทั่วไทยเซ่นไหว้คึกคัก, ๒) ปีติเสด็จฯเปิดงาน ตรุษจีนเยาวราช2563, ๓) คอลัมน์: On History: โรคห่ากาฬโรค ยุคพระเจ้าอู่ทอง ก็มีต้นกำเนิดมาจากจีน เช่นเดียวกับไวรัสโคโรนา, ๔) เลาะแผง, ๕) เฉลิมฉลอง, ๖) รายงานพิเศษ : ศอ.บต.จับมือส.พุทธสมาคม5จว.ชายแดนใต้ จัดกิจกรรมยกย่อง ‘พระเถระผู้ควรกระทำอัญชลี’, ๗) ส่องเลขเด็ดที่ปัตตานี ขอโชคลาภรับเงินขวัญถุงจาก ‘เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว’, ๘) อีก 3 วันหวยออก งวดนี้ 01/02/63 กองสลากยังไม่สัญจร  และ  ๙) คอลัมน์ ของโปรดคนดัง: คล้องหลวงปู่ทวด 3 องค์ขึ้นคอ ผ่านวิกฤติชีวิตแคล้วคลาดตลอด,
๕. การสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์ ๑) Activity for FUN: ศิลปะเด็กสามจังหวัดชายแดนใต้, ๒) คอลัมน์ Activity for FUN: ศิลปะเด็กสามจังหวัดชายแดนใต้, ๓) บันทึกสังคม, ๔) สัมผัส’พลังแห่งรัก’ศิลปะเด็กชายแดนใต้, ๕) สัมผัส’พลังแห่งรัก’ศิลปะเด็กชายแดนใต้, ๖) รอบรั้วเมืองใต้ : 30 มกราคม 2563, ๗) ไฟแรงจริง เมาไม่ขับ เชย์ ลุยไม่หยุด!  และ  ๘) เที่ยวใต้ในกรุงเทพ กับมุมมองใหม่ ที่ไม่ได้มีดีแค่ทะเล!!!,
๖. การศึกษา ๑) คันปากอยากเล่า: บางทีก็น่ารัก, ๒) อาชีวะใต้บูรณาการหลักสูตรอาชีพ, ๓) อาชีวะใต้บูรณาการหลักสูตรอาชีพ  และ  ๔) ‘บิ๊กตู่’พบนักเรียนม.6 สานต่อ ‘รินน้ำใจสู่น้องชาวใต้’ ปีที่ 16 สร้างโอกาสทางการศึกษา,
๗. การเจรจาเพื่อสันติ เปิดเส้นทางโต๊ะพูดคุยสันติสุขรอบใหม่ ใครเป็นใครในคณะ BRN
๘. การช่วยเหลือประชาชน นทพ.เร่งแก้ภัยแล้งตามนโยบายรบ.
๙. การยกระดับคุณภาพชีวิต ๑) นายมีศักดิ์ ภักดีคง, ๒) ‘เจ้าท่า’ขุดลอกอ่าวปัตตานีปล่อยสัตว์น้ำฟื้นฟูธรรมชาติ, ๓) ภาพข่าว: นายมีศักดิ์ ภักดีคง, ๔) ตรวจเยี่ยม, ๕) ตรวจวัวป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย, ๖) จับกระแสภูมิภาค: ป้องกันโรคไข้เลือดออก, ๗) เฝ้าระวัง, ๘) เอ็นไอเอจุดพลังนวัตกรรมอัพความสุข 8 พันครัวเรือน, ๙) คอลัมน์ จับกระแสภูมิภาค: ป้องกันโรคไข้เลือดออก, ๑๐) ยกระดับชีวิต’นครน่าน’ เดินหน้าแนวคิด ‘สี่เหลี่ยมนวัตกรรม’๑๑) ยกระดับชีวิต’นครน่าน’ เดินหน้าแนวคิด ‘สี่เหลี่ยมนวัตกรรม’, ๑๒) ทางคนทางข่าว, ๑๓) ‘ครม.สัญจร’ นราธิวาส สัญญาณบวก ในมิติการพัฒนาเพื่อดับไฟใต้ของ ศอ.บต., ๑๔) ปศุสัตว์เร่งฉีดวัคซีนกันโรคปากเท้าเปื่อย, ๑๕) ท้องถิ่นพูด: ทัณฑวัต พุทธวงศ์ หน.งานพื้นที่ฯชายแดนภาคใต้ ‘ฟื้นฟูนาร้างบ้านละโหะ’, ๑๖) ซี-130จ่อบินอู่ฮั่นรับ64ไทยสธ.พบอีกรายที่8, ๑๗) โล่ง! สธ.ส่งทีมดูแลนักศึกษาใต้กลับจากจีนแล้ว ยันสุขภาพดี, ๑๘) พม.นราฯพร้อมรับสังคมผู้สูงอายุ, ๑๙) ด่านเบตงตรวจเข้ม ป้องกันไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่, ๒๐) ด่านสุไหงโก-ลกเข้ม! คัดกรองนทท.เข้าประเทศ เฝ้าระวังเชื้อไวรัสโคโรนา, ๒๑) ปศุสัตว์ลุยค้นห้องเย็น’ปาดังเบซาร์’ ยึด’ซากสัตว์ปีก’ลักลอบนำเข้า สกัดแพร่โรคระบาด, ๒๒) ปศ.ยึดซากสัตว์ปีกลักลอบนำเข้าชายแดนใต้, ๒๓) ตม.เบตงใช้เครื่องแฮนเฮลเทอร์โมมิเตอร์ คัดกรองนทท. หลังมาเลย์พบผู้ติดเชื้อ3ราย, ๒๔) ‘สสส.’จัดนิทรรศการ’นักสืบจราจร’ ปลูกฝังเด็กไทยลดอุบัติเหตุบนถนน, ๒๕) จุดผ่านแดนสุไหงโก-ลกตรวจเข้มคัดกรองคนเข้า-ออกประเทศสกัดเชื้อไวรัสโคโรน่า, ๒๖) ผู้ว่าฯปัตตานีต้อนรับ’ม.ร.ว.จิยากร อาภากร เสสะเวช’ หารือโครงการสุขภาพดีใต้ร่มพระบารมี, ๒๗) หัวหน้าผู้ตรวจฯก.เกษตรลุยนราธิวาส ติดตามสถานการณ์เชื้อราในใบยาง-โรคระบาดในสัตว์กีบ, ๒๘) เตรียมจัดงานครบ15ปีแห่งการสถาปนา ม.นราธิวาสฯ เชิญ’หมอภาคย์’เล่าประสบการณ์ชีวิต, ๒๙) สสจ.นราธิวาสยืนยันยังไม่พบผู้ต้องสงสัยป่วย’ไวรัสอู่ฮั่น’, ๓๐) ไทยสมายล์ดูแลเข้ม! หน้ากาก-เจลล้างมือ ป้องกันไวรัสโคโรน่า, ๓๑) กรมทางหลวง ขอเชิญเข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 โครงการสำรวจออกแบบทางแยกต่างระดับแยกดอนยาง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี, ๓๒) ดีป้า ดัน 27 เมืองเข้า ‘City Possible’ โครงการระดับโลกของมาสเตอร์การ์ด, ๓๓) ภาพข่าว: สพร.23 ปัตตานี ฝึกอบรมสาขาภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน, ๓๔) ภาพข่าว: จังหวัดปัตตานี ฝึกอบรมผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ  และ  ๓๕) องคมนตรี ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประจำปี 2563,
๑๐. สิทธิมนุษยชน ‘กรรมการสิทธิฯ’ ร่วม ‘กอ.รมน.’ อบรมสิทธิมนุษยชนให้เจ้าหน้าที่รัฐชายแดนใต้
๑๑. เศรษฐกิจ และการสร้างรายได้ ๑) ‘สนามบินเบตง’ถูกกฎหมาย, ๒) กยท.จ.ยะลานำทีมผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบแปลงยางให้เกษตรกร, ๓) ลุยรับฟังความเห็น ขุดคลองไทยก.พ.นี้, ๔) ไทยเฮพบแหล่งน้ำมันดิบเพิ่ม๕) คอลัมน์ จับข่าวเอามายำ, ๖) คอลัมน์ จับข่าวเอามายำ, ๗) เอไอเอส ผนึก เอสซีจี-ม.อ.สร้างต้นแบบ5G ภาคอุตสาหกรรมสำเร็จรายแรก!, ๘) ภาพข่าว: คอลัมน์ NATIONzone UPDATE: ‘DITP พัฒนาผู้ประกอบการสินค้าอาหารฮาลาล, ๙) ไฟเขียวเพิ่มพท.ผลิตปิโตรเลียมแหล่งนงนุช, ๑๐) เมืองต้นแบบที่ 4 เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต, ๑๑) ‘นพดล’เตรียมรับฟังความเห็นปชช. เกี่ยวกับขุดคลองไทย 25 ก.พ. นี้, ๑๒) รายงานพิเศษ : กระจูดบ้านทอนอามานหัตถกรรมภูมิปัญญาชาวบ้าน หนึ่งในผลิตภัณฑ์โอท็อประดับพรีเมียมของนราธิวาส, ๑๓) ‘ผู้ว่าฯปัตตานี’ทบทวนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดปี63, ๑๔) ท่องเที่ยว-ทส.วางแผนดันเที่ยวในประเทศ, ๑๕) ข่าวดี!พบแหล่งน้ำมันดิบอ่าวไทยเพิ่ม, ๑๖) เกษตรฯลุยตั้งศูนย์เทคโนโลยี 77 จว. ปูพรหมปฏิรูปภาคเกษตรไทยสู่ยุค4.0, ๑๗) รายงานพิเศษ : เมืองต้นแบบที่ 4 เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จะเดินหน้าอย่างไร อยู่ที่การตัดสินใจของคนในพื้นที่, ๑๘) ปักหมุดจุดเช็กอินใหม่ ‘สตรีทอาร์ทเบตง’ รวมพลังศิลปินดังกว่า 30 ภาพ, ๑๙) อนุกมธ.ยุทธศาสตร์ชาติฯ เตรียมฟังความเห็นปชช. เกี่ยวกับการขุดคลองไทย 25 ก.พ. นี้, ๒๐) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคประจำเดือนธันวาคม 2562, ๒๑) พบแหล่งน้ำมันผลิตเพิ่มอีก 5 พันบาร์เรล/วัน กรมเชื้อเพลิงฯอนุมัติพื้นที่ปิโตรเลียมนงนุช, ๒๒) มรภ.สงขลา คว้าแชมป์ VLOG THAILAND ‘เที่ยวไทยไปให้สุด’ ในโครงการสิงห์สร้างสรรค์คนทีวี ปี 14  และ  ๒๓) 7วิสาหกิจชุมชนจับมือเอกชน ประมูลโรงไฟฟ้าชุมชนตั้งเป้าชิง133โรง,

       ๔.๒ ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level: AI) ต่อสถานการณ์ จชต

จากสถานการณ์ข่าวที่เกิดขึ้นจากการนําเสนอของสื่อมวลชน ส่งผลให้ระดับการรับรู้เชิงบวกที่มีต่อสถานการณ์ จชต. ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้น จาก ๒.๑๓ ในสัปดาห์ที่แล้ว (๑๘ – ๒๔ ม.ค. ๖๓) เป็น ๒.๙๘ ในสัปดาห์นี้ ในมิติของแนวโน้มการรับรู้เชิงบวก มีแนวโน้มฯ เพิ่มขึ้น

๕. ประเด็นสําคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๒๕ – ๓๑ ม.ค. ๖๓

    การพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้ เป็นประเด็นสำคัญที่สื่อต่างประเทศให้ความสนใจ ทั้งนี้การจัดสรุปประเด็นความก้าวหน้ากระบวนพูดคุยสันติสุข (media briefing) ให้กับผู้สื่อข่าวโดย พลเอกวัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุข เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม มีสื่อต่างประเทศหลายแห่งรายงานข่าวนี้ คือ สำนักข่าว ซินหัวของทางการจีน และ benarnews.org สื่อเว็บไซด์ภายใต้ Radio Free Asia สื่อที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนดำเนินงานจากรัฐบาลอเมริกัน ทั้งนี้ The Star สื่อมาเลเซียมีการนำรายงานของซินหัวไปเผยแพร่ต่อประเด็นสำคัญจาก media briefing ที่นำไปรายงานสะท้อนทัศนคติเชิงบวก เช่น พาดหัวของสำนักข่าวซินหัว “การพูดคุยเพื่อสันติสุขรอบแรกระหว่างฝ่ายรัฐไทยกับกลุ่มติดอาวุธใน จชต. ประสบความสำเร็จ” (First round of resumed peace talks with Thailand’s deep south insurgency satisfactory)ทั้งนี้รายงานข่าวของสำนักข่าวซินหัว และ benarnews.org สอดคล้องกันคือ อ้างคำพูดของ พลเอกวัลลภ ระบุว่า ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่า จะมุ่งแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ จชต. ด้วยกระบวนการสันติวิธี

๕.๑ benarnews.org รายงานเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ภายหลังพลเอกวัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจชต.นัดหมายผู้สื่อข่าวเพื่อสรุปสาระสำคัญของการพบปะกันอย่างเป็นทางการครั้งแรกกับตัวแทนแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายู หรือ BRN เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีรายละเอียดของรายงานข่าวดังนี้ ;

พลเอก วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ แถลงข่าวในวันศุกร์นี้ว่า ทางคณะพูดคุยฯ คาดว่าจะเจรจากับฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็นอีกครั้ง หลังจากที่ได้พบปะกันอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อสองสัปดาห์ก่อน โดยย้ำว่าทางคณะฯ ต้องการคุยกับกลุ่มที่มีอิทธิพลในพื้นที่มากที่สุดก่อน ขณะที่โฆษกของมาราปาตานี คู่เจรจาเดิมของไทย กล่าวว่า การที่มาราปาตานีจะขอร่วมเจรจาด้วยหรือไม่นั้น ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสมาชิกมาราปาตานีที่มาจากกลุ่มทางบีอาร์เอ็น

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 มกราคม นี้ คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ ได้พบปะกับแกนนำของขบวนการบีอาร์เอ็น หรือ แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายู โดยตรง อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ในกัวลาลัมเปอร์ โดยการเตรียมการของนายอับดุล ราฮิม โมฮัมหมัด นูร์ อำนวยความสะดวกของรัฐบาลมาเลเซีย ซึ่งพลเอกวัลลภ ได้พบปะพูดคุยร่วมกับคณะผู้แทนของบีอาร์เอ็น นำโดย อันนาส อับดุลเราะห์มาน (Mr. Anas Abdulrahman) ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย และกล่าวว่า สองฝ่ายได้สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความคุ้นเคยกัน เพื่อให้มีความเชื่อมั่นในกระบวนการในการพูดคุยต่อไป ซึ่งก่อนหน้านี้ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2558 ฝ่ายไทยได้เจรจากับฝ่ายมาราปาตานี ซึ่งเป็นองค์กรร่มของฝ่ายขบวนการหลายกลุ่ม

“คิดว่าประมาณต้นเดือนมีนาคมนะครับ” พลเอกวัลลภ กล่าวถึงการเจรจารอบหน้า โดยระบุถึงคู่เจรจาว่า เป็นบีอาร์เอ็น เพราะต้องการเจรจากับกลุ่มที่มีอิทธิพลสูงสุดในพื้นที่สูง

“เบื้องต้น เราจะพูดคุยกับบีอาร์เอ็นสองฝ่าย… เวลาที่เราทำงานจริง ๆ เราอยากเริ่มต้นกับกลุ่มที่มีอิทธิพลมากที่สุดก่อน และต่อไปก็อาจจะรวมถึงกลุ่มอื่น ๆ ด้วย” พลเอกวัลลภ กล่าวเพิ่มเติม

เมื่อช่วงค่ำวันศุกร์นี้ นายอับดุล ราฮิม นูร์ ผู้อำนวยความสะดวกชาวมาเลเซีย ได้กล่าวยืนยันกับเบนาร์นิวส์ ถึงการพูดคุยฯที่จะมีขึ้น

“ใช่ เป็นเรื่องจริง จะมีการพูดคุยฯ ระหว่างรัฐบาลไทยและกลุ่มแบ่งแยกดินแดนจังหวัดชายแดนใต้ ในเดือนมีนาคมนี้ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์” นายราฮิม นูร์ กล่าว

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญสถานการณ์สามจังหวัดชายแดนใต้ ตั้งข้อสังเกตว่า มาราปาตานี อาจจะไม่มีอิทธิพลควบคุมกองกำลังฝ่ายปฏิบัติการในพื้นที่ได้จริง ซึ่งทางฝ่ายไทยได้ร้องขอให้ นาย อับดุล ราฮิม โมฮัมหมัด นูร์ อำนวยความสะดวกของรัฐบาลมาเลเซีย ช่วยติดตามแกนนำหัวรุนแรงของบีอาร์เอ็นมาร่วมโต๊ะเจรจา

แม้ว่า พลเอกพัลลภ ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวอย่างชัดเจนว่า การเจรจาคราวหน้าจะเป็นการเจรจากับบีอาร์เอ็นก็ตาม แต่พลเอกวัลลภเชื่อว่า บีอาร์เอ็นและมาราปาตานี จะพูดคุยกัน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายร่วมเจรจาทั้งคู่ก็ได้ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย กล่าวว่า ในมาราปาตานี มีตัวแทนจากกลุ่มบีอาร์เอ็นอยู่ด้วย เช่น นายอาวัง ญาบะ หัวหน้าคณะพูดคุยของมาราปาตานี นายสุกรี ฮารี อดีตหัวหน้าชุดเจรจา และนายอาหมัด ชูโว

“ตอนนี้เราเริ่มคุยกับบีอาร์เอ็น แต่คิดว่า ทางฝ่ายเขาก็คงมีการประสานงานซึ่งกันและกัน ที่จะเชิญกลุ่มอื่นๆ เข้ามาพูดคุยด้วย ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องภายในของเขา” พลเอกพัลลภ กล่าว

พลเอกวัลลภ กล่าวอีกว่า ในการพบปะกันรอบแรก สองฝ่าย ได้ยอมรับเรื่อง peace dialogue process framework (กรอบกระบวนการหรือแนวทาง) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของงานธุรการต่างๆ ที่จะเป็นการอำนวยความสะดวกในการพูดคุยต่อไป และคราวหน้า จะเป็นการหยิบยกข้อเสนออะไรต่างๆ ที่แต่ละฝ่ายจะเสนอเข้ามา ซึ่งต้องคอยติดตามอีกครั้งหนึ่งว่า จะมีข้อเสนออะไรบ้าง

โฆษกมาราปาตานี: ให้สมาชิกบีอาร์เอ็นฯ ในมาราปาตานี คุยกับบีอาร์เอ็นเอง

ในวันนี้ นายอาบู ฮาฟิซ อัล-ฮาคิม ได้ตอบคำถามเบนาร์นิวร์ ที่ว่า มาราปาตานีจะร่วมการเจรจาพร้อมกับบีอาร์เอ็นหรือไม่ โดยกล่าวว่า ตนได้ฝากภาระไว้ที่สมาชิกมาราปาตานี ที่มาจากกลุ่มบีอาร์เอ็น

“ขณะนี้ มาราปาตานีกำลังประสานกันอยู่ ซึ่งในมาราปาตานี ก็มีตัวแทนของบีอาร์เอ็นอยู่ ยังไม่ลงตัว ให้เขาคุยกันเอง เป็นเรื่องภายใน” นายอาบู ฮาฟิซ กล่าว

นับตั้งแต่ฝ่ายขบวนการก่อความไม่สงบ ปล้นอาวุธสงครามไปกว่าสี่ร้อยกระบอก จากค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 เป็นต้นมา ได้เกิดเหตุการณ์ยิง-ระเบิด ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 7,000 ราย

ทั้งนี้ ในปี 2556 สมัยที่นางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ฝ่ายไทยได้ริเริ่มการเจรจากับฝ่ายบีอาร์เอ็น ที่มีนายฮัซซัน ตอยิบ เป็นแกนนำ แต่ล้มเหลวในปลายปีเดียวกัน จากนั้น ในเดือนสิงหาคม 2558 ในสมัยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายก­รัฐมนตรี ฝ่ายขบวนการฯ ต่างๆ ได้ตั้งองค์กรร่ม ที่ชื่อว่า “มาราปาตานี” ขึ้นมาเจรจากับฝ่ายไทย แต่ได้สะดุดลงอีกครั้งในต้นปี 2562 ซึ่งจริงๆ แล้วในมาราปาตานี ก็มีที่มีตัวแทนฝ่ายการเมืองของบีอาร์เอ็น รวมอยู่ด้วยเช่นกัน แต่ฝ่ายบีอาร์เอ็นบางกลุ่ม ได้เรียกร้องให้ฝ่ายไทยเจรจากับบีอาร์เอ็นโดยตรง

หลังจากพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น นำโดย นายอันนาส อับดุลเราะห์มาน เมื่อสองสัปดาห์ก่อน พลเอกวัลลภ ตอบคำถามผู้สื่อข่าว ต่อ ความมั่นใจว่ากลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มบีอาร์เอ็นหรือไม่ ว่า “ในที่ประชุม เขาก็แนะนำว่าเขาเป็นผู้นำหัวหน้าคณะพูดคุยกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่มาพูดคุยในครั้งนี้ เพราะฉะนั้นการที่เขาแนะนำตัวเองอย่างนี้ และจากมาเลเซีย เราก็มีความค่อนข้างมั่นใจว่าเขาเป็นตัวแทนบีอาร์เอ็นที่มาพูดคุยกับฝ่ายเรา”

พลเอกวัลลภ ยังกล่าวตอบคำถามผู้สื่อข่าวอีกว่า ในการเจรจาครั้งนี้ จะมีผู้เชี่ยวชาญร่วมสังเกตการณ์เป็นครั้งแรกอีกด้วย ซึ่งคู่เจรจาสองฝ่ายเห็นชอบ

“ขอเรียนนิดนึงว่า experts ที่สอบถามนี่ เขามาในนามบุคคลนะครับ ไม่ได้มาในนามขององค์กรหรือภาครัฐ ซึ่งเขาก็มีความเชี่ยวชาญในเรื่องกระบวนการสันติภาพ เพราะฉะนั้น การที่เขาเข้ามา บทบาทหนึ่งก็จะทำให้เกิดความเชื่อมั่น ความไว้วางใจในกระบวนการพูดคุยนะครับ” พลเอกวัลลภกล่าว และระบุว่า จะเป็นผู้สังเกตการณ์ในเฉพาะคราวนี้เท่านั้น และอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

(Thailand’s top southern peace negotiator said Friday that he anticipated a next round of direct talks in March with BRN, the most powerful of the armed separatist groups, but it remained unclear whether MARA Patani, a panel of insurgent organizations, would participate.

Earlier this month Thai delegates and representatives of the rebel group known as Barisan Revolusi Nasional, or the National Revolutionary Front (BRN), held official bilateral talks in Kuala Lumpur for the first time in years.

“I think early March,” Gen. Wanlop Rugsanaoh, the chief Thai negotiator, told a news conference in Bangkok when asked when the next meeting would occur.

He said the change in dialogue partners in the Malaysia-brokered peace process had occurred because his side wanted to involve the southern border region’s largest rebel group in negotiations.

Since 2015, Bangkok has held formal talks with MARA Patani to end the decades-long insurgency in the mainly Muslim and Malay-speaking Deep South, but the effort has failed to achieve any breakthroughs.

Late Friday, Malaysian facilitator Abdul Rahim Noor separately confirmed the upcoming meeting.

“Yes, it is true. There will be a meeting between the Thai government and the Deep South separatists in March in Kuala Lumpur,” he told BenarNews.

Wanlop said the first meeting allowed both sides to get acquainted and agree on a framework for talks, while the next session would focus on presenting terms and conditions for peace.

On Jan. 20, Wanlop led a seven-member delegation, including a justice ministry official and an intelligence agency official, in meeting with a BRN delegation headed by Anas Abdulrahman (also known as Hipni Mareh). Anas is a former teacher at a religious school in southern Yala province, who is wanted in Thailand over allegations that he trained insurgents.

“At the meeting, he introduced himself as the head of the BRN peace talk delegation this time, the same as Malaysia’s introduction of him. We are quite confident that he is the right BRN representative to talk to us,” Wanlop told reporters.

BRN holds seats on the MARA panel but, experts say, the umbrella body may not have control of hardcore BRN fighters in the field, prompting Thailand’s new top peace negotiator to pursue contact with the group’s de facto leaders through Rahim Noor.

“Initially, we want to have bilateral talks with the BRN. … When we work, we want to work with the most influential group first and other groups may join,” Wanlop said.

The two sides agreed that future talks for the first time would include peace process experts who would observe the negotiations, according to the Thai general.

“The experts you mentioned are to join on an individual basis, not in the name of organizations or any governmental agencies. They are peace experts so their roles in the process could add to the credibility,” Wanlop said, adding that the experts could change depending on the nature of specific discussions.

Umbrella group’s role

MARA Patani spokesman Abu Hafez Al-Hakim said members of the umbrella group were involved in BRN as well. Thai officials have said that Awang Jabat, who has a lead role in MARA, Sukree Hari, who resigned as lead negotiator but remains on the panel, and Ahmad Chuwo are all from the BRN.

“At the moment, MARA Patani is coordinating with the BRN. It is not concluded yet,” Abu Hafez told BenarNews about the panel’s possible role in the upcoming meeting. “There are BRN members in MARA Patani. Let them talk.”

“There’s BRN members in MARA who met the others in BRN. So let them sort it out among themselves. When it’s done, then only the other groups can hold meetings with BRN,” he added.

With Malaysia agreeing in 2013 to serve as a facilitator, the Thai government and BRN negotiators began discussions but failed to reach an agreement that year.

Later, BRN and other rebel groups including the Patani United Liberation Organization (PULO), the Patani Islamic Mujahideen Movement (GMIP) and the Islamic Liberation Front of Patani (BIPP) began negotiating under the MARA Patani banner.

Prior to the unannounced talks earlier this month, BRN’s top leaders had stayed away from peace negotiations between the government and MARA Patani that stalled out last year.

The Deep South borders Malaysia and encompasses Pattani, Narathiwat and Yala provinces as well as four districts in Songkhla province. Nearly 7,000 people have been killed in violence in the region since the insurgency flared up again in early 2004 after a dormant period.)

ที่มาข้อมูล ; https://www.benarnews.org/thai/news/TH-peace-talks-01312020170904.html

https://www.benarnews.org/english/news/thai/more-talks-01312020143757.html

นอกจากนี้ยังมีรายงานของสำนักข่าวซินหัวที่มีเนื้อหาคล้ายกัน ซึ่งมีการนำไปเผยแพร่ในสื่อมาเลเซีย

https://www.thestar.com.my/news/regional/2020/01/31/first-round-of-resumed-peace-talks-with-thailand039s-deep-south-insurgency-satisfactory

๖. ข้อเสนอแนะในการประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสาร ในช่วงเวลาต่อไป

    ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการให้ความช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ของแพทย์ทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการให้ความรู้การดูแลป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโครนาสายพันธ์ใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศจีน และ หลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนานอกจากในประเทศจีนแล้ว ยังพบในประเทศไทย มาเลเซีย และ สิงคโปร์ นอกจากนี้ในประเทศไทยยังพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่ไม่มีประวัติเดินทางไปประเทศจีนแต่ด้วยอาชีพขับรถแท๊กซี่จึงทำให้เขาได้รับเชื้อโรคจากผู้โดยสารชาวจีน ดังนั้นแม้พื้นที่ จชต. ยังไม่พบว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา แต่ก็สันนิษฐานว่าในพื้นที่เขตเมืองโดยเฉพาะคนไทยเชื้อสายจีนน่าจะมีผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวประเทศจีนในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่นานนัก และ พื้นที่ท่องเที่ยวโดยเฉพาะ อ.หาดใหญ่ และ อ.เมือง สงขลา ก็เป็นพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาท่องเที่ยว การให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่จึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ โดยมีข้อเสนอแนะในการประชาสัมพันธ์ดังนี้

  • จัดทำข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหน่วยแพทย์ทหารที่ออกไปตรวจเยี่ยมดูแลสุขภาพประชาชนในห้วงเวลานี้ ว่าแพทย์ และ บุคลากรทางการแพทย์ของกองทัพบกมีการให้ความรู้การดูแลป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” และ แจกหน้ากากอนามัยให้กับประชาชนสำหรับไว้ใช้งานเวลาที่เดินทางไปในพื้นที่เขตเมืองที่มีผู้คนหนาแน่น
  • จัดทำคลิปวิดิโอการตรวจเยี่ยมดูแลสุขภาพประชาชนตามข้อ ๑) เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ 

error: Content is protected !!