๑. บทสรุปผู้บริหาร
ใน ม.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ๕๖๖ ข่าว จากที่มี ๕๘๗ ข่าว ใน ธ.ค. ๖๒ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๑๘๘ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓ จากที่มี ๑๕๓ ข่าวใน ธ.ค. ๖๒
ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ เหตุร้ายรายวัน, อาชญากรรมในพื้นที่, สิทธิมนุษยชน, การเมือง และ การบำรุงขวัญกำลังพล
ประเด็นส่งที่ผลกระทบในเชิงบวก ได้แก่ การเยียวยา, การพูดคุยเพื่อสันติสุข, กระบวน การยุติธรรม, การ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน, ยาเสพติด, ทุจริตคอรัปชั่น, เศรษฐกิจ และการสร้างรายได้, การยกระดับคุณภาพชีวิต, การศึกษา, การสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์, วัฒนธรรม และวิถีชีวิต, การช่วยเหลือประชาชน และ กีฬา
จากสถานการณ์ข่าวดังที่กล่าวข้างต้น ส่งผลให้การรับรู้เชิงบวกที่มีต่อสถานการณ์ จชต. ใน ม.ค. ๖๓ ลดลง จาก ๒.๑๓ ใน ธ.ค. ๖๒ เป็น ๑.๙๐ ใน ม.ค. ๖๓
ประเด็นสำคัญที่สื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายงาน ในช่วง ม.ค. ๖๓ สรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้
- สำนักข่าว Bernama รายงานเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ว่า สมาคมครูสถาบันการศึกษาแห่งรัฐกลันตัน (IPGKKB) ได้จัดการอบรมทักษะการสอนภาษามลายู และอังกฤษให้กับครูโรงเรียนเอกชน ๕๐ คนจากจังหวัดนราธิวาส และ ปัตตานี โดยจัดขึ้นที่โกตาบารู ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี ๒๕๖๒ โดย ดร.นาริต้า โมฮัมหมัด นูร์ รองผู้อำนวยการ IPGKKB พูดถึงโครงการนี้ว่า เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษามลายู และ อังกฤษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย คือ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา และ สตูล ซึ่งมีปัญหาขาดแคลนครูที่มีทักษะการสอนทั้งสองภาษา นี้ นอกจากนั้น ดร.นาริต้า บอกว่า เบื้องต้น IPGKKB มีโครงการฝึกอบรมทักษะการสอนภาษามลายู และ อังกฤษเฉพาะครูโรงเรียนเอกชนก่อน หลังจากนั้นจะขยายความร่วมมือจัดฝึกอบรมให้กับครูโรงเรียนรัฐบาล ซึ่ง ดร.นาริต้า หวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาของไทย เช่นเดียวกับที่ IPGKKB ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซีย ให้ช่วยเหลือฝึกอบรมครูสอยภาษามลายู และ ภาษาอังกฤษ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
- การหลบหนีของผู้ต้องหาชาวโรฮิงญา ๑๙ คนจากสถานที่ควบคุมตัวตำรวจตรวจคนเข้าเมือง อ.สะเดา จ.ว.ส.ข. เมื่อวันที่ ๘ มกราคม เป็นประเด็นทื่สื่อมวลชนต่างประเทศสนใจ และ รายงานมากที่สุดในประเด็นเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องด้วยประเด็นผู้อพยพชาวโรฮิงญาเป็นประเด็นสากลที่ถูกจับตา และ เป็นปัญหาระดับโลก ทั้งนิ้สื่อที่รายงานประเด็นนี้ประกอบด้วยสำนักข่าว Reuters, Straits Times สื่อสิงคโปร์ และ สื่อมาเลเซียหลายแห่ง
- Benarnews.org หยิบงานวิจัยของนักวิชาการในประเทศสิงคโปร์ ประจำวิทยาลัยนานาชาติศึกษา เอส ราชา รัตนัม แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง เกี่ยวกับทิศทางการพูดคุยเพื่อสันติสุขใน จชต. มารายงาน โดยระบุ ว่า “แนวโน้มในประเด็นที่ยังคงมีปัญหาต่อเนื่อง ระหว่างรัฐบาลไทย และ ขบวนการแบ่งแยกดินแดน บีอาร์เอ็น คงเป็นประเด็นที่กลุ่มบีอาร์เอ็นเรียกร้องให้มีประชาคมนานาชาติเข้าสังเกตการณ์ร่วมในการพูดคุยฯ กับรัฐบาลไทยด้วย” พร้อมกับชี้ว่า หากบีอาร์เอ็นไม่เข้าร่วมโต๊ะเจรจา ก็ยากที่จะเห็นความคืบหน้าของกระบวนการสร้างสันติสุข
- สื่อมาเลเซียรายงานว่า มัสยิดกรือเซะแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวมาเลเซียมากเป็นลำดับต้นๆ
- การเดินทางเยือนจังหวัดอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย ของ พล.อ.อภิรักษ์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก เพื่อพบหารือกับ พล.อ.แอนดิกา เปอกาซา ผู้บัญชาการทหารบกอินโดนีเซีย เป็นประเด็นข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนต่างประเทศมากที่สุด โดยสำนักข่าวต่างประเทศระดับ โลก ๒ แห่ง คือ Reuters และ AP รายงานข่าวนี้ เป็นแหล่งข้อมูลข่าวทุติยภูมิที่มีการนำไปรายงานต่อ เช่น Washington Post และ Straits Times เป็นต้น
- AP และ Benarnews อ้างความเห็นผศ.ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี เชื่อว่า การเยือนจังหวัดอาเจะห์ของ พล.อ.อภิรักษ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อกดดันแกนนำ ขบวนการบีอาร์เอ็น ให้เข้าร่วมกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้รายงานข่าวหลายแหล่ง ระบุว่า แกนนำขบวนการบีอาร์เอ็นเดินทางออก จากมาเลเซียไปพำนัก ที่จังหวัดอาเจะห์ เพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดดันจากรัฐบาลมาเลเซียที่ต้องการให้บีอาร์เอ็นส่งตัวแทนเข้าร่วมกระบวนการพูดคุยฯ
- สื่อหลายสำนักรายงานว่า ผบ.ทบ.ไทย และอินโดนีเซีย มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรอง เพื่อขจัดภัยก่อการร้ายโดยทั้งสองประเทศจะไม่ปล่อยให้ผู้ที่เป็นภัย ต่อความมั่นคงหลบซ่อนตัว และ ใช้ทั้งสองประเทศเป็นฐานปฏิบัติการก่อการร้าย
- AP อ้างความเห็นของรุ่งระวี เฉลิมศรีภิญโญรัช ระบุว่า ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกองทัพบกไทย และ อินโดนีเซีย ที่จังหวัดอาเจะห์ บ่งชี้ว่า รัฐบาลไทยยังมุ่งเน้น จัดการปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยมาตรการทางทหาร และเมื่อพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ จะพบว่า ให้ความสำคัญกับ กระบวนการพูดคุยสันติสุขน้อยมาก
- อาชญากรรมตามแนวชายแดนมาเลเซีย-ไทย โดยเฉพาะการลักลอบขนสิ่งของผิดกฏหมาย ข้ามแดนซึ่งเจ้าหน้าที่ป้องกันชายแดนมาเลเซียตรวจพบงูเห่า ๑๕๐ ตัวซุกซ่อนในกระสอบที่ชายแดนด้านรัฐปะลิสเตรียมลักลอบ เข้าประเทศไทย และ พบใบกระท่อม บรรจุใส่ถุง ๕๐๐ กว่ากิโลกรัมที่ชายแดนด้านรัฐเคดาห์ เตรียมลักลอบขนเข้าประเทศไทย
การปฏิบัติการข่าวสารสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ จชต. ใน ม.ค. ๖๓ สรุปได้ดังนี้
- ประชาสัมพันธ์กิจกรรมวันเด็กภายใต้สโลแกน “เขตทหารยินดีต้อนรับเด็กๆ และ ผู้ปกครอง” เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๖๓ ในวันเสาร์ที่ ๑๑ มกราคม
- ประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติงานป้องกัน และ ปราบปรามการค้ามนุษย์ในพื้นที่รับผิดชอบของ กอ.รมน.ภาค ๔ สน. ในรอบปี ๒๕๖๒
- ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเชิงบวกสะท้อนประวัติศาสตร์ความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ปัตตานี และ จังหวัดชายแดนภาคใต้ สืบเนื่องจากรายงานข่าวของ New Straits Times สื่อมาเลเซีย เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ระบุว่า มัสยิดกรือเซะเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นลำดับต้นๆ ในหมู่นักท่องเที่ยวมาเลเซีย
- ประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคพื้นฐานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในโอกาสการประชุม ครม.สัญจร ที่จ.นราธิวาส ในระหว่างวันที่ ๒๐ และ ๒๑ มกราคม นี้
- ประชาสัมพันธ์รายละเอียดข้อตกลงความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกองทัพบกไทย และ อินโดนีเซีย ซึ่ง พล.อ.อภิรักษ์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ลงนามกับ พล.อ.แอนติกา เปอกาซา ผู้บัญชาการทหารบกอินโดนีเซีย ที่จังหวัดอาเจะห์ เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม เนื่องจากได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและประชาคมระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง
- ประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากการพบปะพูดคุยอย่างเป็นทางการระหว่างคณะพูดคุยฯ ที่มี พลเอกวัลลภ รักเสนาะ กับ ผู้แทนขบวนการบีอาร์เอ็น ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม
- ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการให้ความช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ของแพทย์ทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการให้ความรู้การดูแลป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโครนาสายพันธ์ใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศจีน และ หลายประเทศทั่วโลก
๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำเดือน ม.ค. ๖๓
๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ
๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ
เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวัน มาคำนวณหาค่าสัดส่วน พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วน ดังแสดงในตารางด้านล่าง
วดป. | จำนวนข่าวเชิงบวก (1) | จำนวนข่าวเชิงลบ (2) | ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2) |
2020-01-01 | 10 | 2 | 5.00 |
2020-01-02 | 6 | 9 | 0.67 |
2020-01-03 | 19 | 10 | 1.90 |
2020-01-04 | 13 | 4 | 3.25 |
2020-01-05 | 10 | 8 | 1.25 |
2020-01-06 | 17 | 9 | 1.89 |
2020-01-07 | 37 | 4 | 9.25 |
2020-01-08 | 19 | 4 | 4.75 |
2020-01-09 | 20 | 13 | 1.54 |
2020-01-10 | 17 | 15 | 1.13 |
2020-01-11 | 17 | 11 | 1.55 |
2020-01-12 | 14 | 4 | 3.50 |
2020-01-13 | 22 | 14 | 1.57 |
2020-01-14 | 22 | 6 | 3.67 |
2020-01-15 | 12 | 4 | 3.00 |
2020-01-16 | 18 | 4 | 4.50 |
2020-01-17 | 15 | 8 | 1.88 |
2020-01-18 | 26 | 8 | 3.25 |
2020-01-19 | 12 | 4 | 3.00 |
2020-01-20 | 38 | 6 | 6.33 |
2020-01-21 | 40 | 4 | 10.00 |
2020-01-22 | 21 | 4 | 5.25 |
2020-01-23 | 20 | 15 | 1.33 |
2020-01-24 | 16 | 4 | 4.00 |
2020-01-25 | 11 | 1 | 11.00 |
2020-01-26 | 11 | 0 | 11.00 |
2020-01-27 | 16 | 6 | 2.67 |
2020-01-28 | 19 | 2 | 9.50 |
2020-01-29 | 11 | 1 | 11.00 |
2020-01-30 | 19 | 2 | 9.50 |
2020-01-31 | 18 | 2 | 9.00 |
18.26 | 6.06 | 4.75 |
๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วง ม.ค. ๖๓
๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข
ใน ม.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข ๘ ข่าว จากที่มี ๗ ข่าว ใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๔ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓ จากที่มี ๒ ข่าว ใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่
๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน
ใน ม.ค. ๖๓ มีข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน ๔๑ ข่าว จากที่มี ๒๕ ข่าวใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ค่อนข้างคงที่
๓.๓ ประเด็นการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ จชต.
ใน ม.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ๔๒ ข่าว จากที่มี ๘ ข่าวใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ เพิ่มขึ้น ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๖๙ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓ จากที่มี ๓๕ ข่าว ใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ค่อนข้างคงที่
๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
ใน ม.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ๖๔ ข่าว จากที่มี ๑๐๕ ข่าว ใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ลดลง ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๑๖ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓ จากที่มี ๓๖ ข่าว ใน ธ.ค ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้ม ค่อนข้างคงที่
๓.๕ แนวโน้มความถี่ข่าวในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล
ใน ม.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล ๒ ข่าว จากที่มี ๑๕ ข่าว ใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๒ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓ จากที่ไม่มีข่าว ใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่
๓.๖ แนวโน้มความถี่ข่าวในประเด็นสิทธิมนุษยชน
ใน ม.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นสิทธิมนุษยชน ๒ ข่าวจากที่มี ๔ ข่าว ใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๔ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓ จากที่มี ๑๗ ข่าว ใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่
๓.๗ แนวโน้มความถี่ข่าวในประเด็นเศรษฐกิจ และการสร้างรายได้
ใน ม.ค. ๖๒ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นเศรษฐกิจฯ ๑๑๑ ข่าว จากที่มี ๑๑๕ ข่าว ใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๑๗ ข่าว ใน ธ.ค. ๖๒ จากที่มี ๓ ข่าว ใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่
๓.๘ แนวโน้มความถี่ข่าวในประเด็นยาเสพติด
ในช่วง ม.ค. ๖๓ มีข่าวเชิงบวก ในประเด็นยาเสพติด ๓๘ ข่าว จากที่มี ๑๗ ข่าว ใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ เพิ่มขึ้น ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๙ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓ จากที่มี ๑ ข่าวใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่
๓.๙ แนวโน้มความถี่ข่าวในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)
ในช่วง ม.ค. ๖๓ ไม่มีข่าวเชิงบวก ในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย จากที่มี ๔ ข่าว ใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ ไม่มีข่าวเชิงลบ ใน ม.ค. ๖๒ จากที่มี ๑ ข่าวใน ธ.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่
๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก
๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ในเดือน ม.ค. ๖๓
๔.๒ ระดับผลกระทบต่อการรับรู้ (Awareness Level: AI)
จากสถานการณ์ข่าวดังที่กล่าวข้างต้น ส่งผลให้การรับรู้เชิงบวกที่มีต่อสถานการณ์ จชต. ใน ม.ค. ๖๓ ลดลง จาก ๒.๑๓ ใน ธ.ค. ๖๒ เป็น ๑.๙๐ ใน ม.ค. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มการรับรู้ มีแนวโน้ม ลดลง
๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วง ม.ค. ๖๓
- สำนักข่าว Bernama รายงานเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ว่า สมาคมครูสถาบันการศึกษาแห่งรัฐกลันตัน (IPGKKB) ได้จัดการอบรมทักษะการสอนภาษามลายู และอังกฤษให้กับครูโรงเรียนเอกชน ๕๐ คนจากจังหวัดนราธิวาส และ ปัตตานี โดยจัดขึ้นที่โกตาบารู ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี ๒๕๖๒ โดย ดร.นาริต้า โมฮัมหมัด นูร์ รองผู้อำนวยการ IPGKKB พูดถึงโครงการนี้ว่า เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษามลายู และ อังกฤษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย คือ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา และ สตูล ซึ่งมีปัญหาขาดแคลนครูที่มีทักษะการสอนทั้งสองภาษา นี้ นอกจากนั้น ดร.นาริต้า บอกว่า เบื้องต้น IPGKKB มีโครงการฝึกอบรมทักษะการสอนภาษามลายู และ อังกฤษเฉพาะครูโรงเรียนเอกชนก่อน หลังจากนั้นจะขยายความร่วมมือจัดฝึกอบรมให้กับครูโรงเรียนรัฐบาล ซึ่ง ดร.นาริต้า หวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาของไทย เช่นเดียวกับที่ IPGKKB ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซีย ให้ช่วยเหลือฝึกอบรมครูสอยภาษามลายู และ ภาษาอังกฤษ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
- การหลบหนีของผู้ต้องหาชาวโรฮิงญา ๑๙ คนจากสถานที่ควบคุมตัวตำรวจตรวจคนเข้าเมือง อ.สะเดา จ.ว.ส.ข. เมื่อวันที่ ๘ มกราคม เป็นประเด็นทื่สื่อมวลชนต่างประเทศสนใจ และ รายงานมากที่สุดในประเด็นเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องด้วยประเด็นผู้อพยพชาวโรฮิงญาเป็นประเด็นสากลที่ถูกจับตา และ เป็นปัญหาระดับโลก ทั้งนิ้สื่อที่รายงานประเด็นนี้ประกอบด้วยสำนักข่าว Reuters, Straits Times สื่อสิงคโปร์ และ สื่อมาเลเซียหลายแห่ง
- Benarnews.org หยิบงานวิจัยของนักวิชาการในประเทศสิงคโปร์ ประจำวิทยาลัยนานาชาติศึกษา เอส ราชา รัตนัม แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง เกี่ยวกับทิศทางการพูดคุยเพื่อสันติสุขใน จชต. มารายงาน โดยระบุ ว่า “แนวโน้มในประเด็นที่ยังคงมีปัญหาต่อเนื่อง ระหว่างรัฐบาลไทย และ ขบวนการแบ่งแยกดินแดน บีอาร์เอ็น คงเป็นประเด็นที่กลุ่มบีอาร์เอ็นเรียกร้องให้มีประชาคมนานาชาติเข้าสังเกตการณ์ร่วมในการพูดคุยฯ กับรัฐบาลไทยด้วย” พร้อมกับชี้ว่า หากบีอาร์เอ็นไม่เข้าร่วมโต๊ะเจรจา ก็ยากที่จะเห็นความคืบหน้าของกระบวนการสร้างสันติสุข
- สื่อมาเลเซียรายงานว่า มัสยิดกรือเซะแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวมาเลเซียมากเป็นลำดับต้นๆ
- การเดินทางเยือนจังหวัดอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย ของ พล.อ.อภิรักษ์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก เพื่อพบหารือกับ พล.อ.แอนดิกา เปอกาซา ผู้บัญชาการทหารบกอินโดนีเซีย เป็นประเด็นข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนต่างประเทศมากที่สุด โดยสำนักข่าวต่างประเทศระดับ โลก ๒ แห่ง คือ Reuters และ AP รายงานข่าวนี้ เป็นแหล่งข้อมูลข่าวทุติยภูมิที่มีการนำไปรายงานต่อ เช่น Washington Post และ Straits Times เป็นต้น
- AP และ Benarnews อ้างความเห็นผศ.ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี เชื่อว่า การเยือนจังหวัดอาเจะห์ของ พล.อ.อภิรักษ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อกดดันแกนนำ ขบวนการบีอาร์เอ็น ให้เข้าร่วมกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้รายงานข่าวหลายแหล่ง ระบุว่า แกนนำขบวนการบีอาร์เอ็นเดินทางออก จากมาเลเซียไปพำนัก ที่จังหวัดอาเจะห์ เพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดดันจากรัฐบาลมาเลเซียที่ต้องการให้บีอาร์เอ็นส่งตัวแทนเข้าร่วมกระบวนการพูดคุยฯ
- สื่อหลายสำนักรายงานว่า ผบ.ทบ.ไทย และอินโดนีเซีย มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรอง เพื่อขจัดภัยก่อการร้ายโดยทั้งสองประเทศจะไม่ปล่อยให้ผู้ที่เป็นภัย ต่อความมั่นคงหลบซ่อนตัว และ ใช้ทั้งสองประเทศเป็นฐานปฏิบัติการก่อการร้าย
- AP อ้างความเห็นของรุ่งระวี เฉลิมศรีภิญโญรัช ระบุว่า ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกองทัพบกไทย และ อินโดนีเซีย ที่จังหวัดอาเจะห์ บ่งชี้ว่า รัฐบาลไทยยังมุ่งเน้น จัดการปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยมาตรการทางทหาร และเมื่อพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ จะพบว่า ให้ความสำคัญกับ กระบวนการพูดคุยสันติสุขน้อยมาก
- อาชญากรรมตามแนวชายแดนมาเลเซีย-ไทย โดยเฉพาะการลักลอบขนสิ่งของผิดกฏหมาย ข้ามแดนซึ่งเจ้าหน้าที่ป้องกันชายแดนมาเลเซียตรวจพบงูเห่า ๑๕๐ ตัวซุกซ่อนในกระสอบที่ชายแดนด้านรัฐปะลิสเตรียมลักลอบ เข้าประเทศไทย และ พบใบกระท่อม บรรจุใส่ถุง ๕๐๐ กว่ากิโลกรัมที่ชายแดนด้านรัฐเคดาห์ เตรียมลักลอบขนเข้าประเทศไทย
๖. สรุปประเด็นการสนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสารสำคัญในเดือน ม.ค. ๖๓
- ประชาสัมพันธ์กิจกรรมวันเด็กภายใต้สโลแกน “เขตทหารยินดีต้อนรับเด็กๆ และ ผู้ปกครอง” เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๖๓ ในวันเสาร์ที่ ๑๑ มกราคม
- ประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติงานป้องกัน และ ปราบปรามการค้ามนุษย์ในพื้นที่รับผิดชอบของ กอ.รมน.ภาค ๔ สน. ในรอบปี ๒๕๖๒
- ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเชิงบวกสะท้อนประวัติศาสตร์ความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ปัตตานี และ จังหวัดชายแดนภาคใต้ สืบเนื่องจากรายงานข่าวของ New Straits Times สื่อมาเลเซีย เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ระบุว่า มัสยิดกรือเซะเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นลำดับต้นๆ ในหมู่นักท่องเที่ยวมาเลเซีย
- ประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคพื้นฐานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในโอกาสการประชุม ครม.สัญจร ที่จ.นราธิวาส ในระหว่างวันที่ ๒๐ และ ๒๑ มกราคม นี้
- ประชาสัมพันธ์รายละเอียดข้อตกลงความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกองทัพบกไทย และ อินโดนีเซีย ซึ่ง พล.อ.อภิรักษ์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ลงนามกับ พล.อ.แอนติกา เปอกาซา ผู้บัญชาการทหารบกอินโดนีเซีย ที่จังหวัดอาเจะห์ เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม เนื่องจากได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและประชาคมระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง
- ประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากการพบปะพูดคุยอย่างเป็นทางการระหว่างคณะพูดคุยฯ ที่มี พลเอกวัลลภ รักเสนาะ กับ ผู้แทนขบวนการบีอาร์เอ็น ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม
- ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการให้ความช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ของแพทย์ทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการให้ความรู้การดูแลป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโครนาสายพันธ์ใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศจีน และ หลายประเทศทั่วโลก