วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 10.30 – 12.00 น. ณ ห้องดวงกมล โรงแรม เดอะ สุโกศล : รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้มหาวิทยาลัยในสังกัดที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศ ไทย (ทปอ.) โดยการสนับสนุนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ และสานพลังประชารัฐ D1 การยกระดับนวัตกรรมและการผลิต (Innovation & Productivity) โดยใช้งบประมาณกลางปี 2560 จำนวน 1,423 ล้านบาท ภายใต้ “โครงการ Innovation Hubs เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศตามนโยบายประเทศไทย 4.0” โดยมี ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เป็นประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยสู่ภาคเอกชน วิสาหกิจชุมชน และการพัฒนานวัตกรรมโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย อันนำไปสู่การสร้างผู้ประกอบการใหม่และยกระดับผู้ประกอบการเดิม ด้วยการสนับสนุนให้มีโครงสร้างพื้นฐานประเภทเครื่องมือที่สามารถขยายงานวิจัยสู่ระดับต้นแบบ ทุนพัฒนานวัตกรรมต่อยอดงานวิจัยจากห้องปฏิบัติการสู่เชิงพาณิชย์ และการสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรมรายใหม่หรือ Startup ผลผลิตหลักของโครงการนี้ประกอบไปด้วย จำนวนผู้ประกอบการใหม่ การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลงานวิจัยที่ออกสู่เชิงพาณิชย์ การยกระดับชุมชน เป็นต้น
เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมจึงมีความจำเป็นในการกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคของประเทศ ดำเนินการในรูปแบบศูนย์กลางนวัตกรรม (Innovation Hubs) ของแต่ละประเด็น อาศัยกลไกการทำงานของทุกภาคส่วนแบบประชารัฐ (Public Private Partnership–PPP) ประกอบไปด้วยเครือข่ายมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน วิสาหกิจชุมชน และหน่วยงานรัฐ โดยมุ่งเน้นใน 5 กลุ่มเรื่องดังนี้
1. เกษตรและอาหาร
2. พลังงานชีวภาพ
3. สังคมสูงอายุ
4. เมืองอัจฉริยะ และ
5. เศรษฐกิจสร้างสรรค์
ผลการดำเนินงานสามารถสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการ สร้างมูลค่าเพิ่มจากงานวิจัยและพัฒนา มีผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนผู้ประกอบการต่อไปในอนาคต
ในนามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยขอขอบคุณรัฐบาลโดยเฉพาะท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสานพลังประชารัฐ D1 เป็นอย่างสูงที่ได้สนับสนุนโครงการนี้ และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัยที่ร่วมกันผลักดันและนำผลงานจากงานวิจัยและพัฒนาสู่การพัฒนาประเทศชาติ แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของพลังมหาวิทยาลัย ทปอ.ให้คำมั่นสัญญาว่าพวกเราจะร่วมกันขับเคลื่อนประเทศด้วยองค์ความรู้จากงานวิจัยและพัฒนาให้มากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต
ผลการดำเนินงานภาพรวมของโครงการ Innovation Hubs ผู้อำนวยการโครงการ Innovation Hubs ทปอ. รศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล โครงการ Innovation Hubs เป็นโครงการริเริ่มในการสร้างเศรษฐกิจนวัตกรรมจากโมเดล Thailand 4.0 ที่ได้รับการสนับ สนุนจากรัฐบาลโดยการผลักดันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ และประชารัฐ D1 งบประมาณที่สนับสนุนให้กลุ่มมหาวิทยาลัยของ ทปอ. ได้นำมาขับเคลื่อนและผลักดันผลงานจากการวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ออกมาสู่การใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมใน 5 กลุ่มเรื่องที่เป็นจุดเด่นของประเทศคือ
- เกษตรและอาหาร มุ่งเน้นการผลิตสินค้าเกษตร และอาหารคุณภาพชั้นนำเพื่อการบริโภคและส่งออก
- พลังงานชีวภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานชีวภาพที่เป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะก๊าซชีวภาพ และชีวมวลสำหรับชุมชน
- สังคมสูงอายุ มุ่งเน้นอาหารเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ และการดูแลและฟื้นฟูสุขภาพ ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศและของโลก
- เมืองอัจฉริยะ มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ของเมือง เช่น การคมนาคม การขนส่งสินค้า การจัดการด้านพลังงาน ความปลอดภัย การส่งเสริมระบบนิเวศทางเศรษฐกิจ ตลอดจนนวัตกรรมทางด้านสิ่งแวดล้อม
- เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมด้วยการบูรณาการความรู้และเทคโนโลยีกับต้นทุนภูมิปัญญาและศักยภาพท้องถิ่น สร้างสรรค์ให้เกิดแผ่นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
โดยมหาวิทยาลัยได้ร่วมมือร่วมใจกันทำงานด้วยกันและร่วมกับภาคเอกชน SME และวิสาหกิจชุมชน สร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการจากนวัตกรรม ผลการดำเนินงานโดยรวมของโครงการนี้ทำให้เกิดการถ่ายทอดผลงานจากการวิจัยถึง 569 โครงการ เกิดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากการวิจัยถึง 549 ผลิตภัณฑ์ มีเครือข่ายวิจัยที่เข้มแข็ง ในระยะเวลาเพียง 2 ปี สามารถเพิ่มยอดขายจากผลิตภัณฑ์นวัตกรรมไม่ต่ำกว่า 1,407 ล้านบาท เท่ากับงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน มูลค่าที่ได้จะเพิ่มขึ้นหลังจากนี้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เกิดบริษัท Startup ไม่น้อยกว่า 179 บริษัท สามารถจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและนำไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีไม่ต่ำกว่า 158 รายการ สามารถยกระดับ SME ให้มีความสามารถในการแข่งขันไม่น้อยกว่า 347 ราย และที่สำคัญคือมีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับผู้ประกอบการในทุกภูมิภาคของประเทศ เช่น โรงงานต้นแบบแปรรูปอาหาร ห้องปฏิบัติการผลิตชุดวินิจฉัย และศูนย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นต้น
ปัจจุบันโครงการ Innovation Hubs ได้เป็นฐานต่อยอดไปสู่เศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลปัจจุบันอันจะนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง กับดักความเหลื่อมล้ำ และกับดักความไม่สมดุลต่อไปในอนาคต
1.ศูนย์กลางนวัตกรรมเกษตรและอาหาร (Agiculture&Food Innovation Hubs) โดย รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี Innovation Hubs ด้านเกษตรและอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรและเอกชนท้องถิ่นให้เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรและอาหาร รวมถึงการกระจายความช่วยเหลือไปยังเกษตรกรและชุมชนทั่วภูมิภาคของประเทศไทยในการยกระดับมาตรฐานผลผลิตทางการเกษตรและอาหาร และช่วยพัฒนาธุรกิจเกิดใหม่ (start-up) การดำเนินงาน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การพัฒนาโรงงานต้นแบบการแปรรูปอาหาร และการพัฒนาธุรกิจโดยใช้ฐานเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยในเครือข่าย ทปอ.
โครงการได้พัฒนาโรงงานต้นแบบการแปรรูปอาหารทั่วประเทศ 5 แห่ง ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยศิลปากร และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของผู้ประกอบการในการขยายผลงานวิจัยจากห้องปฏิบัติการสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ โรงงานต้นแบบเหล่านี้ปัจจุบันได้เริ่มเปิดดำเนินการและให้บริการแก่เอกชนในภูมิภาคต่าง ๆ แล้ว เป็นที่นิยมของผู้ประกอบการในภูมิภาคอย่างกว้างขวาง
การพัฒนาธุรกิจโดยใช้ฐานเทคโนโลยี มีจำนวนทั้งสิ้น 298 โครงการ ใช้งบประมาณ 143.58 ล้านบาท เป็นโครงการที่เพิ่มมูลค่าสินค้า 78%, เพิ่มคุณภาพสินค้า 62%, ลดต้นทุนการผลิต 9%, โครงการเน้นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เวชสำอาง และโภชนาการ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยี อาทิเช่น การสร้างเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพนม การสร้างเครื่องควบคุมอุณหภูมิโรงเพาะเห็ดเพื่อควบคุมคุณภาพเห็ด และการผลิตซอฟท์แวร์เพื่อการควบคุมการผลิตผักไฮโดรโปนิกส์
จากการประเมินพบว่า โครงการมีส่วนช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น 55% เป็นการยกระดับคุณ ภาพชีวิตของคนในชุมชนหรือคนในพื้นที่ให้ดีขึ้น การเกิดการสร้างงานในชุมชนหรือคนในพื้นที่ เกิดทางเลือกหรือช่องทางในการสร้างรายได้ให้มั่นคง การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมอาหาร และเกิดผลประโยชน์ต่อเนื่อง นั่นคือ ความต้องการสินค้าเกษตรเพื่อการแปรรูปที่เพิ่มขึ้น จึงมีแนวโน้มของการจ้างงานเพิ่มขึ้นในภาคการเกษตรอีกด้วย
ตัวอย่างของโครงการที่เกิดผลกระทบในหลายมิติ ได้แก่ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถั่วลายเสือ ของ บริษัทกุ๊บไตและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น เพิ่มความเข้มแข็งให้ตัวธุรกิจเอง และเอื้อต่อเกษตรกรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิดผลกระทบอื่นที่ตามมาคือ พัฒนาชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรและการแปรรูปผลิตผลการเกษตร สร้างงาน สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ประชาชนทั่วไปสามารถแวะชมผลงานได้ที่ “กุงคุณลุง” จังหวัดแม่ฮ่องสอน
กล่าวโดยสรุป ผลผลิตของโครงการ Innovation Hubs กลุ่มเกษตรและอาหาร ก่อให้เกิดผลประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะทั้งทางตรงและทางอ้อม นั่นคือ นอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มผู้ประกอบการหรือผู้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว ผู้ประกอบการ บุคคล หรือกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องก็ได้รับผลประโยชน์ด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น ผลประโยชน์จึงเกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเกษตรและอาหาร
2 ศูนย์กลางนวัตกรรมพลังงานชีวภาพ (Bioenergy Innovation Hubs) โดย รศ. ดร.คณิต วัฒนวิเชียร Bioenergy Innovation Hubs หรือศูนย์ลางนวัตกรรมพลังงานชีวภาพ มุ่งเน้นการนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ขยะพลาสติก และก๊าซชีวภาพหรือก๊าซไบโอมีเทน มาเพิ่มมูลค่าโดยใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยเพื่อเปลี่ยนวัสดุเหลือทิ้งและขยะเป็นพลังงาน ได้แก่ ก๊าซชีวภาพอัด (Compressed Biomethane Gas หรือ CBG) ถ่านอัดแท่ง (Biochar) และน้ำมันไพโรไลซิส (Pyrolysis Oil) มีการบริหารจัดการหลายรูปแบบทั้งวิสาหกิจชุมชน บริษัท SME ในพื้นที่ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดศูนย์กลางนวัตกรรม 3 ศูนย์ ได้แก่
2.1.ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) โดยใช้นวัตกรรมของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สร้างระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดจากน้ำเสียโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มด้วยเทคโนโลยีเมมเบรน มีกำลังผลิตประมาณ 6 ตันต่อวัน หรือ 1,980 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่า 32.85 ล้านบาทต่อปี (อ้างอิงราคาก๊าซ NGV นอกแนวท่อส่งก๊าซ 16.59 บาทต่อกิโลกรัม) ที่ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และมีส่วนผลักดันให้เกิดประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอมีเทนสำหรับยานยนต์พ.ศ. 2561
2.2.ศูนย์นวัตกรรมแปรรูปชีวมวลเหลือทิ้งด้วยนวัตกรรมเป็นเชื้อเพลิงแข็ง (Biochar) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานร่วมกับผู้นำวิสาหกิจชุมชนในการบริหารจัดการและเรียนรู้เทคโนโลยีในการแปรรูปชีวมวลเหลือทิ้งของแต่ละพื้นที่ ได้แก่ กะลามะพร้าวในอำเภอแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม เศษไม้ไผ่จากการทำข้าวหลาม ใน หนองมน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และเศษเหง้ามันสำปะหลังในอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี โดยสามารถผลิตถ่านอัดแท่งและถ่านกัมมันต์ไม่ต่ำกว่า 200 ตันต่อเดือน ต่อพื้นที่ เป็นมูลค่าประมาณ 24 ล้านต่อปีต่อพื้นที่
2.3.ศูนย์นวัตกรรมน้ำมันไพโรไลซิส จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการต่อยอดงานวิจัยในการนำขยะพลาสติกมาผลิตน้ำมันผสมเพื่อนำน้ำมันไปผลิตกระแสไฟฟ้า โดยนำขยะพลาสติกจากบ่อขยะในพื้นที่ อบต. มหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับบริษัทอยุธยาพลังงานสะอาด และ อบต. แพรกษา จังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับ บริษัทอีสเทิร์น เอเนอร์จี้ พลัส จำกัด มีกำลังการผลิตน้ำมันผสมทดแทนดีเซลไม่ต่ำกว่า 1 ล้านลิตรต่อปี มีมูลค่าประมาณ 12 ล้านบาทต่อปี ต่อพื้นที่
นอกจากนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจาก Bioenergy Innovation Hubs สามารถถ่ายทอดไปสู่ชุมชนและภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้แล้ว ยังมีส่วนในการจัดการด้านวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและขยะพลาสติก ในการช่วยผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นการนำไปสู่การปฏิบัติจริง รวมทั้งช่วยลดปัญหาการเผาวัสดุเหลือทิ้งการเกษตรซึ่งทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและฝุ่นควันที่กลายเป็นหนึ่งปัญหาหลักของประเทศ
3.ศูนย์กลางนวัตกรรมสังคมสูงอายุ (Ageing Society Innovation Hubs) โดย ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ โครงการ Innovation Hubs กลุ่มเรื่องสังคมผู้สูงอายุ สนับสนุนสำหรับการดำเนินงาน รวมทั้งสิ้น 98 โครงการ แก่ 16 มหาวิทยาลัย สังกัดภายใต้ ทปอ. รายละเอียดดังนี้ โครงการวิจัยเพื่อแปลงผลงานสู่การใช้ประโยชน์ (Translational Research) และประเภทบริษัท Startup จำนวน 89 โครงการ โครงการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านชุดตรวจวินิจฉัย (Diagnostic) แก่ 7 มหาวิทยาลัย ได้แก่ ม.เชียงใหม่, ม.ขอนแก่น, ม.นเรศวร, ม.สงขลานครินทร์, ม.มหิดล, ม.บูรพา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการการพัฒนาบ้านอัจฉริยะเพื่อผู้สูงอายุในยุค Thailand 4.0 และโครงการการพัฒนาวิธีวิเคราะห์สารกลุ่มคาเทชินในชาเมี่ยงสาหรับห้องปฏิบัติการมาตรฐาน สามารถจัดกลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์โครงการ โครงการการพัฒนาบ้านอัจฉริยะเพื่อผู้สูงอายุ รวมทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรชนิดใหม่ ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคไวรัส เชื้อแบคทีเรีย รวมถึงความปลอดภัยทางอาหาร Application หรือระบบจัดการต่างๆ ที่ช่วยเหลือ แจ้งเตือน ป้องกัน อำนวยความสะดวก รวมถึงการดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ยา/อาหาร/อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสะดวกในการทาน ครีม หรือชุดเวชสำอาง และ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ
ตัวอย่างผลงานกลุ่มเรื่องสังคมผู้สูงอายุมีผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดรายได้จากทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ มีดังนี้
3.1.โครงการ “แผนธุรกิจและการพัฒนาระบบผลิตน้ายาฆ่าเชื้อสาหรับจุลชีพที่ดื้อยาปฏิชีวนะ” ตลาดภายในประเทศ ผลิตภัณฑ์น้ายาฆ่าเชื้อจุลชีพที่ดื้อยาปฏิชีวนะ (STEREX) ได้ขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์แล้ว โดยในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม พ.ศ.2561 มียอดขายในประเทศรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,500,000 บาท
3.2.โครงการ “วุ้นไคโตซานจับไขมัน” ปัจจุบันมีรายได้โดยรวมเกิดขึ้นประมาณ 250 ล้านบาท และมีการจัดตั้งบริษัทใหม่เพื่อการส่งออกเรียบร้อยแล้ว และมีนักลงทุนสนใจลงทุน
3.3.โครงการ Diagnostic Technology and Development platform ได้สนับสนุนการจัดทำห้องปฏิบัติการที่มีความแตกต่างกันเพื่อพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยให้กับ 7 มหาวิทยาลัย
3.4.โครงการ Thailand Clinical Research Enterprise (“TCRE”) หรือ “ศูนย์ทดสอบยาและเวชภัณฑ์ทางคลินิกระดับประเทศ เกิดขึ้นสืบเนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมเล็งเห็นความสำคัญถึงการส่งเสริมงานวิจัยทางคลินิก ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ก่อนที่จะขึ้นทะเบียนและสามารถนำมาใช้โดยผู้ป่วยและผู้บริโภคทั่วไป
4.ศูนย์กลางนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (Smart City Innovation Hubs) โดย ดร.อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร Smart City หรือเมืองอัจฉริยะ คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ICT (Information,Communication and Technology) ในการบริหารจัดการเมืองให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด เพื่อให้เมืองน่าอยู่ การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคดิจิทัล และสภาวะของสังคมผู้สูงอายุทั่วโลก ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย Smart City Innovation Hubs ได้ดำเนินงานร่วมวางแผนสกัดปัญหาของเมือง โดยวางกรอบแนวทางการพัฒนาเมืองหรือชุมชน ร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และผู้บริหารเมือง นำไปสู่การต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล โดย สถาบันการศึกษาเครือข่าย ทปอ.ใช้เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเข้าไปช่วยในการแก้ไขปัญหาของเมือง จัดแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ
4.1.การคมนาคม (Mobility)
4.2.ความเป็นอยู่และสุขภาวะ (Living)
4.3.ด้านสาธารณูปโภค (Utilities)
4.4.การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economy) และ
4.5.สิ่งแวดล้อม (Environment) พร้อมทั้งจัดทำ แพลตฟอร์มข้อมูลส่วนกลางของเมือง (City Data Platform) เพื่อรองรับการบริหารจัดการบนพื้นฐานของข้อมูลที่เกิดขึ้น โดยมีเมืองนำร่อง ได้แก่
- อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ทางด้านสิ่งแวดล้อม ระบบบริหารจัดการน้ำ ป้องกันอุทกภัยในพื้นที่ แจ้งเตือนประชาชน ไม่ให้เกิดผลกระทบความเสียหายจาก สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง และสภาพอากาศ PM 2.5 ที่สามารถแจ้งเตือนประชาชนแบบเรียลไทม์
- จังหวัดขอนแก่นที่มีระบบบริหารจัดการขยะ
- บางแสน จังหวัดชลบุรี ทางด้าน smart health ในมุมของ smart living ตรวจวัดการล้ม และเก็บข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนบางแสน ทำให้สามารถวิเคราะห์และดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุได้มีประสิทธิภาพ ระบบบริหารจัดการพลังงานทางเลือกจาก solar cell
- จังหวัดเชียงใหม่ ระบบบริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง ระบบบริหารจัดการด้านการคมนาคมขนส่ง การบริหารจัดการจราจรแท็กซี การเดินรถบรรทุก ระบบดูแลรักษาความปลอดภัยด้วยกล้องวงจรปิด
ในภาพรวมโครงการได้ร่วมมือกับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการรายย่อย 45 ราย มีการสร้างรายได้จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่องค์กรมากกว่า 10 ล้านบาท และมีการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจรวมกว่า 580 ล้านบาทจากผลการนำงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ในภาคธุรกิจและพื้นที่ร่วมดำเนินการ
นอกจากนี้แล้ว นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นจาก Smart City Innovation Hub ยังสามารถถ่ายทอดไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้แก่ การควบคุมยานพาหนะผ่านทางไกลแบบเรียลไทม์ในโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยความร่วมมือกับบริษัท AIS และ SCG โดยสามารถนำไปใช้ในพื้นที่ที่เสี่ยงภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน (เพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนของภาคอุตสาหกรรมการผลิต) ระบบวิเคราะห์พฤติกรรมของสัตว์ทำให้การเลี้ยงมีประสิทธิภาพสูงสุด (เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน) และการขยายผลระบบบริหารจัดการสุขภาพเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย (ทำให้ลดความสูญเสียในการรักษาโรค)
5.ศูนย์กลางนวัตกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Hubs) โดย รศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล เป็นโครงการที่นำเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดม ศึกษา ซึ่งประกอบด้วยมหาวิทยาลัยแม่ข่าย 9 แห่งกระจายในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และมีสถาบัน การศึกษาทั้งใน ทปอ. และนอก ทปอ. ร่วมมือกันในการนำองค์ความรู้และเทคโนโล ยี ที่เกิดจากการวิจัยมาต่อยอดส่งเสริมศักยภาพของท้องถิ่น โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์และบริการ โดยมุ่งเน้นที่งานหัตถกรรมและการพัฒนา Application ที่ส่งเสริมธุรกิจสร้างสรรค์ เช่น ท่องเที่ยว ขณะเดียวกันก็จะมีการพัฒนาศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ University Creative Counsel Network Hub 9 แห่งทั่วประเทศ เพื่อดำเนินภารกิจในการสร้างสิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้เกิดการนำวิจัยมาต่อยอดศักยภาพในท้องถิ่น และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชน โดยในปีแรกได้มีการสนับสนุนให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการจำนวน 100 รายการ ผู้ประกอบการใหม่ 27 ราย โดยใช้งบประมาณ 93 ล้านบาท กระจายให้กับมหาวิทยาลัย 34 แห่งในพื้นที่ 37 จังหวัด และการพัฒนาศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ University Creative Counsel Network Hub ให้สามารถเป็นเครื่องมือในการสนองนโยบายภาครัฐในการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับท้องถิ่น เพื่อส่งผลต่อการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศต่อไป ผลการประเมินอัตราผลตอบแทนทางสังคมเป็น 2.4 เท่าของเงินลงทุน คิดเป็นผลกระทบทางสัมคมรวม 223 ล้านบาท
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน