สถานการณ์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต.
๑. สถานการณ์ภายในประเทศ
๑.๑.สถานการณ์ข่าวเชิงลบ
ภาพข่าวเชิงลบในสัปดาห์นี้ เกิดขึ้นจาก ประเด็นอาชญากรรมในพื้นที่ (ยิง ๒ อส. ดับคาร้านจิ้มจุ่ม ตร. ชี้ปมทะเลาะร้านนวด), ประเด็นการเจรจาเพื่อสันติ (อย่าหลงละเลิง ‘พูดคุยสันติสุข’ สถานการณ์จะเป็นบวก ระวังเดินตามหมากกลที่มี ‘ต่างชาติ’ บงการ), ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (คนร้ายป่วนใต้! ลอบทำลายกล้องวงจรปิด ในพื้นที่ ต.ปากู ปัตตานี) และ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (๑) สลด! จนท.อส.คว้าปืนยิงตัวเองดับคาบ้านพัก และ ๒) ผ่าโปรเจค “บ้านจัดสรรทหาร” แบบไหนมีเงินทอน-งาบหัวคิว?)
๑.๒ สถานการณ์ข่าวเชิงบวก
ภาพข่าวเชิงบวกในสัปดาห์นี้ เกิดขึ้นจาก ประเด็นยาเสพติด (ตร.-ทหารสนธิกำลัง จับหนุ่มใหญ่ลอบขน ‘กัญชาอัดแท่ง’ ยึดของกลาง ๕๐๐ กิโล), ประเด็นเศรษฐกิจ และการสร้างรายได้ (๑) ศอ.บต. ถกพัฒนาท่องเที่ยว ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้, ๒) รายงาน: ‘ไผ่-โรงไฟฟ้า-ทุนเกาหลี’ จิ๊กซอว์อนาคต เศรษฐกิจ ชายแดนใต้, ๓) ลดภาษีอุ้มเขตเศรษฐกิจพิเศษ กระตุ้นลงทุน ๑๐ จังหวัดชายแดน และ ๔) ‘เบตง ไฮแลนด์’ ที่พักแสนอบอุ่นกลางสายหมอกขุนเขา ให้บริการ โดย นศ.การอาชีพเบตง พร้อมรองรับการเปิดสนาม บินเบตงกลางปี ๖๓ นี้) และ ประเด็น รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน: ๑) “โพลล์ทหาร” ชี้ชาวบ้านชายแดนใต้พอใจ นโยบายแม่ทัพ จี้ยกระดับปราบยาเสพติด และ ๒) พลทหารฮีโร่! กระโดดน้ำช่วยเหลือหญิงฆ่าตัวตายได้อย่างปลอดภัย
๒ สถานการณ์ข่าวจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้
๒.๑ สื่อต่างประเทศไม่มีประเด็นรายงานข่าวเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ประเด็นหลักที่สื่อต่างประเทศรายงานเกี่ยวกับประเทศไทยมี ๒ ประเด็นหลัก คือ เหตุกราดยิงประชาชนที่จังหวัดนครราชสีมา และ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ COVID19 ในประเทศไทย
๒..๒ ประเด็นสากลที่มีความเกี่ยวพันกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบสัปดาห์นี้ คือ รายงานข่าวของสำนักข่าว AFP กรณีเหตุเรือผู้อพยพชาวโรฮิงญาล่มในทะเลทางใต้ของบังกลาเทศขณะพยายามแล่นเรืออพยพไปมาเลเซียเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๑๕ คน และ สูญหายกว่า ๕๐ คน โฆษกหน่วยเจ้าหน้าที่ยามฝั่งชี้แจง สาเหตุที่เรือล่มเกิดจากน้ำหนักบรรทุกมากเกินไป คือมีผู้โดยสาร ๑๓๘ คน และ สัมภาระอีกจำนวนหนึ่ง ขณะที่เรือลำนี้สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้เพียง ๕๐ คน
๒.๓ รายงานของ AFP ระบุว่านับตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ มีชาวโรฮิงญาหลบหนีการปราบปรามในเมียนมาร์อพยพไปอาศัยในค่ายผู้อพยพที่ชายแดนบังกลาเทศมากกว่า ๑ ล้านคน ในจำนวนนี้นับหมื่นคนพยายามหลบหนีไปประเทศไทย และ มาเลเซีย
๒.๔ นับตั้งแต่ปีที่แล้วเจ้าหน้าที่บังกลาเทศควบคุมตัวชาวโรฮิงญาขณะพยายามหลบหนีด้วยเรือประมง และ บางส่วนจับกุมขณะรอเรือที่ชายฝั่ง ช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม เป็นช่วงเวลาที่มีการอพยพทางทะเลของชาวโรฮิงญาเนื่องเพราะคลื่นลมสงบ
ข้อพิจารณา : จากสถานการณ์ข่าวในข้อ ๑ มีข้อพิจารณาดังนี้
๑ เหตุการณ์กราดยิงประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ส่งผลกระทบต่อทั้งประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน (มาตรการในการควบคุมคลังอาวุธ) และ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (โครงการสีเทา และการเบียดบังเบี้ยเลี้ยงสวัสดิการกำลังพล)
๒ สิบเอกคุณากร สอนศรีไหม และ พลทหารอนุสรณ์ โกมัย สังกัด ร้อย.ร.๑๕๓๑๒ ฉก.ปัตตานี ๒๕ ได้กระโดดน้ำช่วยเหลือหญิงสาวที่กระโดดลงน้ำแม่น้ำปัตตานี เพื่อพยายามฆ่าตัวตาย แล้วทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จากนั้นประสานกู้ชีพเพื่อนำส่งโรงพยาบาล เป็นการกระทำที่ควรค่าแก่การยกย่อง ดังนั้นจึงควรขยายผลประชาสัมพันธ์
ข้อเสนอ : จากข้อพิจารณาในข้อ ๒
เห็นควรประชาสัมพันธ์ยกย่องการทำความดีของกำลังพลที่ช่วยเหลือประชาชนที่พยายามฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงแม่น้ำปัตตานี เหตุเกิดที่สะพานศักดิ์เสนีย์เมื่อคืนวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ สิบเอกคุณากร สอนศรีไหม และพลทหารอนุสรณ์ โกมัย สังกัดร้อย.ร.๑๕๓๑๒ ฉก.ปัตตานี ๒๕ ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้สังเกตเห็นเยาวชนหญิงอายุ ๑๘-๑๙ ปี กระโดดแม่น้ำปัตตานี เมื่อกำลังพลเห็นเหตุการณ์จึงรีบวางปืน ถอดเสื้อเกราะ หมวกเหล็ก กระโดดลงน้ำเพื่อช่วยชีวิต หลังจากนั้นจึงปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประสานหน่วยกู้ชีพ เพื่อนำส่งโรงพยาบาลปัตตานี โดยมีข้อเสนอแนะในการประชาสัมพันธ์ ดังนี้
- กรณีที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงในกองทัพภาคที่ ๔ มีการจัดงานเพื่อมอบรางวัลหรือเกียรติบัตรชมเชยการกระทำความดีควรเชืญผู้สื่อข่าวมาทำข่าว
- เผยแพร่ภาพวิดิทัศน์หรือภาพถ่ายกิจกรรม ในข้อ ๑) เผยแพร่ทางสื่อ ททบ.๕ และ กรมประชาสัมพันธ์ รวมทั้งสื่อสังคมออนไลน์
- จัดทำคลิปวิดิทัศน์สั้นโดยให้สิบเอกคุณากร และ พลทหารอนุสรณ์ เล่าเหตุการณ์ช่วยชีวิตเยาวชนหญิง เพื่อเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์