ข่าวใหม่อัพเดท » การวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสาร ในการแก้ไขปัญหา จชต. ในช่วงวันที่ ๑๕ – ๒๑ ก.พ. ๖๓

การวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสาร ในการแก้ไขปัญหา จชต. ในช่วงวันที่ ๑๕ – ๒๑ ก.พ. ๖๓

24 กุมภาพันธ์ 2020
0

๑.บทสรุปผู้บริหาร

        จากการติดตามสถานการณ์ข่าวที่เกิดขึ้นจากการนำเสนอของสื่อมวลชนภายในประเทศในช่วงวันที่ ๑๕ – ๒๑ ก.พ. ๖๓ พบว่า มีข่าวเชิงบวก ๗๘ ข่าว จากที่มี ๗๖ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๘-๑๔ ก.พ. ๖๓) ในส่วนของข่าวเชิงลบที่เกี่ยวข้องกับ จชต. มีข่าวเชิงลบ ๑๙ ข่าวในสัปดาห์นี้ จากที่มี ๒๓ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๘-๑๔ ก.พ. ๖๓)

๑.๑ ประเด็นข่าวเชิงลบ ได้แก่

  • เหตุร้ายรายวัน : ๑) ตร.เชื่อเหตุความไม่สงบ! ปมคนร้ายประกบยิง รปภ.รร. ลูกจ้างเร่งด่วนของรัฐ, ๒) โจรใต้ตามยิงหนุ่ม ๒ ครั้งไม่สำเร็จ ถูกล่ารอบ ๓ พลาดดับ และ ๓) กำลังจะร้องเพลงชาติ ระเบิดบึ้มสนั่น ‘ครู-นร.’ หนีตายวุ่น
  • อาชญากรรมในพื้นที่ : พบศพชายตายในสวนยาง! สภาพแห้งกรังนั่งคุกเข่าหลังต้นไม้ คาดโยงแก๊งค้ายา
  • สิทธิมนุษยชน : ๑) ตามรอยน้ำตาในเพลง-เรื่องเล่าท้องถิ่น ความรุนแรงโดยรัฐจากอดีตถึงปัจจุบัน  และ  ๒) เปิดร่างฯ พ.ร.บ. ป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหาย ฉบับประชาชน มีแล้วดีอย่างไร
  • การ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน : ๑) ร้อง กมธ.ทหารฯ สอบปัญหาประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยคลังอาวุธ, ๒) ‘อนาคตใหม่’ เตรียมจัดเวที ‘จากโคราชสู่การ ปฏิรูปกองทัพ’ ชวนร่วมทลาย ‘แดนสนธยา’ ๑๕ ก.พ. นี้, ๓) เสนาพาณิชย์! เปิด ๑๔ ธุรกิจในค่ายทหาร…ใครได้ประโยชน์? และ ๔) ทหารสังคมศักดินา ไม่เชื่อมั่นสายตรง ผบ.ทบ.

๑.๒ ประเด็นข่าวเชิงบวก ได้แก่

  • วัฒนธรรม และวิถีชีวิต : ฟื้นฟูวัดร้างใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือการสร้างความมั่นคงใน ‘พื้นที่ปลายด้ามขวาน’
  • เศรษฐกิจ และการสร้างรายได้ : ๑) จัดเต็มรถสาธารณะเชื่อมบินเบตง, ๒) ‘จุรินทร์’ เปิดมหกรรมการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนฝ่า ทุกสถานการณ์ และ ๓) SME D Bank ร่วมกับ EXIM Bank ประสานพลังสถาบันการเงินหลักมาเลเซีย เสริมแกร่งเพิ่มศักยภาพเอสเอ็มอี ๒ ชาติ หนุนเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศเติบโต
  • ยาเสพติด : ๑) ‘สงขลา’ นำจิตอาสาแก้ยาเสพติด, ๒) รวบยกก๊วน “ทีม ผญบ.รามัน” ใช้ป้อม ชรบ.ซ่อนตัวมั่วยา และ ๓) ปส. จับสองพ่อค้าซุกยาบ้า ๑.๒ ล้านเม็ดในลังผลไม้รับทำมาแล้ว ๕ ครั้ง

จากสถานการณ์ข่าวที่เกิดขึ้นจากการนําเสนอของสื่อมวลชน ส่งผลให้ระดับการรับรู้เชิงบวกที่มีต่อสถานการณ์ จชต. ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้น จาก ๑.๘๙ ในสัปดาห์ที่แล้ว (๘ -๑๔ ก.พ. ๖๓)  เป็น ๒.๓๖ ในสัปดาห์นี้

ในส่วนของประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๑๕–๒๑ ก.พ. ๖๓ ดังนี้

  • ไม่มีรายงานข่าวสถานการณ์ และ เหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในสื่อต่างประเทศ มีเพียงรายงานเกี่ยวกับกระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้โดย Nikkei Asian Review สื่อญี่ปุ่นอ้างแหล่งข่าว ระบุว่า รัฐบาลมาเลเซียไม่พอใจรัฐบาลไทยที่ดำเนินการเจรจาลับกับตัวแทนกลุ่ม BRN ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน โดยที่ไม่บอกกล่าวให้ตัวแทนรัฐบาลมาเลเซียรับทราบทั้งๆ ที่เป็น “ผู้อำนวยความสะดวก” กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข พร้อมทั้งข้อสังเกตจากนักวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ จชต. การสร้างสันติสุขในพื้นที่จำเป็นอย่างยิ่งต้องได้รับฉันทานุมัติจาก ๓ ฝ่ายคือ รัฐบาลไทย ขบวนการบีอาร์เอ็น และรัฐบาลมาเลเซีย เนื่องเพราะมาเลเซียมิได้มีบทบาทในฐานะผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยเท่านั้น แต่มีบทบาทในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) อีกด้วย
  • อีกประเด็นที่มีรายงานในสื่อมาเลเซีย คือ การพัฒนาการค้าการลงทุนในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย ว่า มีความสำคัญต่อการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งนายณรงค์ ศศิธร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลัมเปอร์ กล่าวว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในเวลาที่เศรษฐกิจโลกกำกลังเผชิญกับความไม่แน่นอนอันเกิดจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน และ การแพร่ระบาดของ Covid-๑๙

จากสถานการณ์ข่าวทั้งใน และต่างประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีข้อเสนอแนะในการประชาสัมพันธ์ ดังนี้

  • ประชาสัมพันธ์ขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น และ สนับสนุนกระบวนการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ทั้งนี้
  • เพื่อรักษาเสียงสนับสนุนกระบวนการพูดคุยฯ ซึ่งทั้งนักวิชาการ และ นักวิเคราะห์สถานการณ์ จชต. รวมทั้งสื่อมวลชนส่วนใหญ่ มีท่าที และ ความเห็นเชิงบวกต่อการพูดคุยสันติสุขระหว่างคณะพูดคุยสันติสุขฝ่ายรัฐบาลไทยนำโดย พลเอกวัลลภ รักเสนาะ กับ อานัส อับดุลเลาะห์มาน เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยฝ่าย BRN ดังนั้นในห้วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนการพูดคุยครั้งที่ ๒ ที่กรุงกัวลัมเปอร์ ต้นเดือนมีนาคม จึงควรสร้างข่าวเชิงบวกเพื่อขับเคลื่อนความเชื่อมั่นต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต.

โดยมีข้อเสนอแนะในการประชาสัมพันธ์ดังนี้

๑) ให้ข้อมูล (info leakage) กับ สื่อมวลชนที่มีทัศนคติเป็นมิตรกับกองทัพ เช่น วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าว Bangkok Post หรือ เสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการอาวุโส News TV เพื่อยืนยันว่ากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขยังอยู่บนหลักการเดิม โดยมีสาระสำคัญคือ

         ๑. รัฐบาลมีเป้าหมายแก้ไขปัญหาสร้างสันติสุขใน จชต. ด้วยกระบวนการพูดคุยกับฝ่ายผู้เห็นต่าง (ที่มีอิทธิพลต่อกองกำลังติดอาวุธต่อรัฐในพื้นที่) คือ กลุ่มบีอาร์เอ็น

         ๒. กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข มีตัวแทนรัฐบาลมาเลเซียทำหน้าที่ผู้ประสานงาน และ อำนวยความสะดวก (peace facilitator)

         ๓. การพูดคุยเพื่อสันติสุขระหว่างคณะพูดคุยฝ่ายรัฐไทยกับบีอาร์เอ็น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ยังยึดกรอบการพูดคุยเดิมคือเป็นการพูดคุยระหว่างตัวแทนรัฐไทยกับฝ่ายผู้เห็นต่าง

         ๔. ผู้สังเกตุการณ์การพูดคุย เป็นตัวแทนจากองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน และ นักวิชาการ ไม่ใช่ตัวแทนรัฐบาลต่างประเทศ

๒) ก่อนการพูดคุยอย่างเป็นการครั้งที่ ๒ มีโอกาสที่จะมีบทความ บทวิเคราะห์ หรือรายงานข่าว ที่มีเนื้อหาทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการพูดคุย เนื่องจากบทวิเคราะห์ที่มีเนื้อหาเช่นนี้ใน Nikkei Asian Review (๒๐/๐๒/๒๐๒๐) เขียนโดย Marwaan Macan Markar ภายใต้บทความชื่อ Thailand angers Malaysia in push for peace in trouble south มีความเห็นดอน ปาทาน อยู่ในบทความชิ้นนี้ด้วย จึงเขื่อได้ว่า Markar ได้รับอิทธิพลและข้อมูลจากดอน ซึ่งมีอิทธิพลทางความคิดต่อผู้สื่อข่าวต่างประเทศในฐานะผู้เชี่ยวชาญสถานการณ์ จชต. จึงมีโอกาสที่ดอน ปาทาน อาจจะเขียนบทความวิจารณ์ฝ่ายไทยว่า มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการพูดคุยโดยลดบทบาทมาเลเซียในฐานะผู้อำนวยความสะดวก ซึ่งหากยังมีการนำเสนอข้อมูลที่คลาดเคลื่อนเช่นนี้อีก คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขควรมีแถลงการณ์ชี้แจง ในลักษณะ fact sheet แก่สื่อมวลชนเพื่อมิให้ข่าวสารที่คลาดเคลื่อนเบี่ยงเบนความสนในของประชาชน

๒. ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำวันที่ ๑๕–๒๑ ก.พ. ๖๓

     ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่ การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ

ในช่วงวันที่ ๑๕-๒๑ ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงบวก (เส้นทึบสีเขียว) ๗๘ ข่าว จากที่มี ๗๖ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๘-๑๔ ก.พ. ๖๓) สำหรับในมิติของแนวโน้มความถี่ (เส้นปะสีน้ำเงิน) มีแนวโน้มฯ ลดลงเล็กน้อย ในส่วนของข่าวเชิงลบที่เกี่ยวข้องกับ จชต. (เส้นทึบสีแดง) มีข่าวเชิงลบ ๑๙ ข่าวในสัปดาห์นี้ จากที่มี ๒๓ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๘-๑๔ ก.พ. ๖๓) สำหรับในมิติของแนวโน้มความถี่ (เส้นปะสีแดง) มีแนวโน้มฯ ค่อนข้างคงที่

๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ

เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวันมาคำนวณหาค่าสัดส่วน ระหว่างข่าวเชิงบวกกับข่าวเชิงลบ พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วนฯ ดังนี้

วัน/เดือน/ปี จำนวนข่าวเชิงบวก (1) จำนวนข่าวเชิงลบ (2) ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)
2020-02-08 16 3 5.33
2020-02-09 13 2 6.5
2020-02-10 6 2 3
2020-02-11 12 2 6
2020-02-12 6 4 1.5
2020-02-13 14 6 2.33
2020-02-14 9 4 2.25
  10.86 3.29 3.3
2020-02-15 12 2 6
2020-02-16 15 1 15
2020-02-17 24 8 3
2020-02-18 6 6 1
2020-02-19 6 1 6
2020-02-20 11 0 11
2020-02-21 4 1 4
  11.14 2.86 3.9

๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วงวันที่ ๑๕–๒๑ ก.พ. ๖๓

     ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

ไม่มีข่าวเชิงบวก ทั้งในสัปดาห์นี้ (๑๕-๒๑ ก.พ. ๖๓) และในสัปดาห์ที่แล้ว (๘-๑๔ ก.พ. ๖๓) สำหรับในมิติของแนวโน้มความถี่ (เส้นปะสีน้ำเงิน) มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ไม่มีข่าวเชิงลบ ทั้งในสัปดาห์นี้ (๑๕-๒๑ ก.พ. ๖๓) และในสัปดาห์ที่แล้ว (๘-๑๔ ก.พ. ๖๓) สำหรับในมิติของแนวโน้มความถี่ (เส้นปะสีแดง) มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่

     ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

ในช่วงวันที่ ๑๕-๒๑ ก.พ. ๖๓ มีข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน ๑๐ ข่าว จากที่มี ๑ ข่าว ในสัปดาห์ที่แล้ว (๘-๑๔ ก.พ. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ เพิ่มขึ้น ภาพข่าวในประเด็นเหตุร้ายรายวัน ได้แก่ ๑) ตร.เชื่อเหตุความไม่สงบ! ปมคนร้ายประกบยิง รปภ.ร.ร. ลูกจ้างเร่งด่วนของรัฐ, ๒) โจรใต้ตามยิงหนุ่ม 2 ครั้งไม่สำเร็จ ถูกล่ารอบ 3 พลาดดับ และ ๓) กำลังจะร้องเพลงชาติ ระเบิดบึ้มสนั่น’ครู-นร.’หนีตายวุ่น

     ๓.๓ ประเด็นการเมือง

ในช่วงวันที่ ๑๕-๒๑ ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมืองเกี่ยวกับ จชต. ๑ ข่าว จากที่มี ๓ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๘-๑๔ ก.พ. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ลดลง ในส่วนข่าวเชิงลบฯ ไม่มีข่าวเชิงลบทั้งในสัปดาห์นี้ และ ในสัปดาห์ที่แล้ว (๘-๑๔ ก.พ. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ‘ผู้กองปูเค็ม’ โผล่ยะลา นำมวลชนบุกสาขา ‘อนค.’ ชูป้ายเก้อต่อต้าน ‘ธนาธร’  

     ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน

ในช่วงวันที่ ๑๕-๒๑ ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็น รปภ.ในชีวิต/ทรัพย์สิน มีความถี่ลดลง ๔ ข่าว จากที่มี ๗ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๘-๑๔ ก.พ. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ  ลดลง  ในส่วนข่าวเชิงลบฯ มีข่าวเชิงลบ ๕ ข่าวในสัปดาห์นี้ จากที่มี ๘ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๘-๑๔ ก.พ. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ค่อนข้างคงที่ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ๑) กอ.รมน. ถกแก้สัญชาติ ‘ไทย-มาเลย์’, ๒) คู่มือรักษาชีวิต…เหตุสังหารหมู่-มีปัญหาทางจิต-จับตัวประกัน และ ๓) พลทหารฮีโร่! กระโดดน้ำช่วยเหลือหญิงฆ่าตัวตายได้อย่างปลอดภัย ภาพข่าวเชิงลบ ได้แก่ ๑) ร้อง กมธ.ทหารฯ สอบปัญหาประสิทธิภาพการ รักษาความปลอดภัยคลังอาวุธ, ๒) ‘อนาคตใหม่’ เตรียมจัดเวที ‘จากโคราชสู่การปฏิรูปกองทัพ’ ชวนร่วมทลาย ‘แดนสนธยา’ 15 ก.พ. นี้, ๓) เสนาพาณิชย์! เปิด 14 ธุรกิจในค่ายทหาร…ใครได้ประโยชน์? และ ๔) ทหารสังคมศักดินา ไม่เชื่อมั่นสายตรง ผบ.ทบ.

     ๓.๕ ประเด็นเศรษฐกิจและการสร้างรายได้

ในช่วงวันที่ ๑๕-๒๑ ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงบวก ในประเด็นเศรษฐกิจฯ ๒๓ ข่าว จากที่มี ๑๒ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๘-๑๔ ก.พ. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในส่วนของข่าวเชิงลบในประเด็นเศรษฐกิจฯ ไม่มีข่าวเชิงลบ ทั้งในสัปดาห์นี้ และในสัปดาห์ที่แล้ว (๘-๑๔ ก.พ. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ เพิ่มขึ้น ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ๑) จัดเต็มรถสาธารณะเชื่อมบินเบตง, ๒) เข้มโรงไฟฟ้าชุมชน สกัดจุดมืดในแสงสว่าง ‘นายทุนฮุบ’, ๓) ‘Southern Market Show สินค้าดี วิถีเด่น ชายแดนใต้’, ๔) ถุงผ้า, ๕) วิถี’พอเพียง’ผสานความรู้ ‘คนเลี้ยงแพะ’บ้านสุเหร่าท่าน้ำ, ๖) เฉลิม อยู่วิทยา/ชูมอนซูน แวลลีย์เพื่อเกษตรกรไทย, ๗) ‘จุรินทร์’ เปิดมหกรรมการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนฝ่าทุกสถานการณ์, ๘) กดปุ่มขยาย 4 สนามบินรองรับผู้โดยสาร และ ๙) SME D Bank ร่วมกับ EXIM Bank ประสานพลังสถาบันการเงินหลักมาเลเซีย เสริมแกร่งเพิ่มศักยภาพเอสเอ็มอี 2 ชาติ หนุนเศรษฐกิจระหว่างประเทศเติบโต

     ๓.๖ ประเด็นยาเสพติด

ในช่วงวันที่ ๑๕-๒๑ ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงบวก ในประเด็นยาเสพติด ๔ ข่าว จากที่มี ๓ ข่าวในสัปดาห์ที่แล้ว (๘-๑๔ ก.พ. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ เพิ่มขึ้น ในส่วนของข่าวเชิงลบในประเด็นยาเสพติด ไม่มีข่าวเชิงลบทั้งในสัปดาห์นี้ และ ในสัปดาห์ที่แล้ว (๘-๑๔ ก.พ. ๖๓) ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ภาพข่าวเชิงบวก ได้แก่ ๑) ‘สงขลา’ นำจิตอาสาแก้ยาเสพติด, ๒) รวบยกก๊วน “ทีม ผญบ.รามัน” ใช้ป้อม ชรบ.ซ่อนตัวมั่วยา และ ๓) ปส. จับสองพ่อค้าซุกยาบ้า 1.2 ล้านเม็ดในลังผลไม้รับทำมาแล้ว 5 ครั้ง

     ๓.๗ ประเด็นสิทธิมนุษยชน

              ในช่วงวันที่ ๑๕–๒๑ ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นสิทธิมนุษยชน ได้แก่ ๑) ตามรอยน้ำตาในเพลง-เรื่องเล่าท้องถิ่น ความรุนแรงโดยรัฐจากอดีตถึงปัจจุบัน (1) และ ๒) เปิดร่างฯ พ.ร.บ. ป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหาย ฉบับประชาชน มีแล้วดีอย่างไร

     ๓.๘ ประเด็นการบํารุงขวัญกําลังพล

             ในช่วงวันที่ ๑๕–๒๑ ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบํารุงขวัญกําลังพล ได้แก่ ค่าเหนื่อยพลทหารเมืองไทย รับจริงเท่าไหร่ ช่องทางไหนถูกหัก?

     ๓.๙ ประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.

ในช่วงวันที่ ๑๕–๒๑ ก.พ. ๖๓ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหา จชต.

     ๓.๑๐ ประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย

             ในช่วงวันที่ ๑๕–๒๑ ก.พ. ๖๓ ไม่มีข่าวเชิงลบ ในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย

๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก

     ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้

ประเด็นข่าวเชิงลบ

๑. เหตุร้ายรายวัน ๑) ตร.เชื่อเหตุความไม่สงบ! ปมคนร้ายประกบยิง รปภ.ร.ร. ลูกจ้างเร่งด่วนของรัฐ, ๒) โจรใต้ตามยิงหนุ่ม 2 ครั้งไม่สำเร็จ ถูกล่ารอบ3พลาดดับ, ๓) อุกอาจ! คนร้ายขับรถยิงหนุ่มปัตตานีดับสยองหน้าโรงเรียน, ๔) กำลังจะร้องเพลงชาติ ระเบิดบึ้มสนั่น’ครู-นร.’หนีตายวุ่น, ๕) ป่วนไม่เลือกที่! คนร้ายลอบบึ้มรร.ในหนองจิก กำแพงทะลุ, ๖) ระทึกบึ้มถล่มชุดทหารพราน, ๗) ระทึกบึ้มถล่มชุดทหารพราน, ๘) บิ๊กป้อมชงขยายกม.ฉุกเฉินไฟใต้ คนร้ายบึ้มหน้าโรงเรียนปัตตานี, ๙) ระเบิด ร.ร.  และ  ๑๐) บิ๊กป้อมชงขยายกม.ฉุกเฉินไฟใต้ คนร้ายบึ้มหน้าโรงเรียนปัตตานี

๒. อาชญากรรมในพื้นที่ พบศพชายตายในสวนยาง! สภาพแห้งกรังนั่งคุกเข่าหลังต้นไม้ คาดโยงแก๊งค้ายา

๓. สิทธิมนุษยชน ๑) ตามรอยน้ำตาในเพลง-เรื่องเล่าท้องถิ่น ความรุนแรงโดยรัฐจากอดีตถึงปัจจุบัน (1)  และ  ๒) เปิดร่างฯ พ.ร.บ. ป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหาย ฉบับประชาชน มีแล้วดีอย่างไร

๔. การรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ๑) ร้อง กมธ.ทหารฯ สอบปัญหาประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยคลังอาวุธ, ๒) ‘อนาคตใหม่’ เตรียมจัดเวที ‘จากโคราชสู่การปฏิรูปกองทัพ’ ชวนร่วมทลาย ‘แดนสนธยา’ 15 ก.พ. นี้, ๓) เสนาพาณิชย์! เปิด 14 ธุรกิจในค่ายทหาร…ใครได้ประโยชน์?, ๔) 15ธุรกิจ’เสนาพาณิชย์’ผลประโยชน์ในรั้วกองทัพ  และ  ๕) ทหารสังคมศักดินา ไม่เชื่อมั่นสายตรงผบ.ทบ.

ประเด็นข่าวเชิงบวก

๑. กีฬา ๑) ช้างขาวเกมส์ งัดของดีโชว์, ๒) คอลัมน์ Daily SUDOKU PRO: นัดพิเศษ วิคตอเรีย ครอสเวิร์ดเกม 2020 วันนี้  และ  ๓) ย่อยข่าวกีฬา: กำแพงเพชรคว้าชัยเปิดหัวT3,

๒. การสร้างความเข้าใจ และความสมานฉันท์ ๑) ต้อนรับ, ๒) ปลุกกำลังใจชาวโคราช จัดทำบุญใหญ่รอบ364ปี, ๓) เปิดใจ นักสังคมสงเคราะห์ดีเด่น 2562 อย่าหยุดแบ่งความสุขให้กระจายไป, ๔) ภาพข่าว: คอลัมน์ ทางคนทางข่าว: อบรม, ๕) รายงาน: ‘กรมยุโรป’ นำประมงพื้นบ้าน ดูงานประมงยั่งยืนในเยอรมนี, ๖) ชวนประกวดภาพ ศิลป์ ธรรม นำนวัต, ๗) คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม: จดหมายจากนาย (พล) ทหารเกณฑ์, ๘) รู้จัก “ผอ.ธีรุตม์” หัวหน้าสำนักงานจังหวัดยะลาคนใหม่  และ  ๙) คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม: จดหมายจากนาย (พล) ทหารเกณฑ์,

๓. การยกระดับคุณภาพชีวิต ๑) เยาวชนบ้านอุเปปลูกผักใช้น้ำน้อยสู้แล้ง, ๒) เครื่องมือแพทย์, ๓) เมื่อ’นกชนหิน’มาแทนที่งาช้าง, ๔) เมื่อ’นกชนหิน’มาแทนที่งาช้าง, ๕) เยาวชนบ้านอุเปปลูกผักใช้นาน้อยสู้แล้ง, ๖) คอลัมน์ Biz Movement, ๗) เยาวชนยะลารวมตัวปลูกผักใช้น้ำน้อยลดต้นทุนสู้ภัยแล้ง, ๘) มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์มอบเครื่องมือทางการแพทย์, ๙) มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์มอบเครื่องมือทางการแพทย์, ๑๐) พบเต่าตนุบนชายฝั่งทะเลนราธิวาส, ๑๑) ของบปิดทองหลังพระทำฝายเก็บน้ำ, ๑๒) พช.สอบพัฒนาชุมชนไปปฏิบัติงานชายแดนใต้70อัตรา  และ  ๑๓) มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ ส่งมอบเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อผ่าตัดด้านระบบประสาทและสมอง ให้แก่โรงพยาบาลยะลา จังหวัดยะลา เพื่อช่วยพัฒนาระบบสาธารณสุขในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้,

๔. วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ๑) เบตงจัดงานสมโภชวัดกวนอิม, ๒) ร่วมละหมาด, ๓) คู่รักแห่จดทะเบียน วิวาห์ใต้สมุทรยังฮิต ค้า’กุหลาบ’ซบเซา, ๔) ฟื้นฟูวัดร้างใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือการสร้างความมั่นคงใน ‘พื้นที่ปลายด้ามขวาน’, ๕) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอเชิญสักการะเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จากหาดใหญ่  และ  ๖) คนจีน ๓๐๐ หนีฮั่น มาสร้างเตาสังคโลกให้พ่อขุนรามคำแหง! วันนี้รวมเป็นหนึ่งเพื่อแผ่นดินเกิด!!,

๕. กระบวนการยุติธรรม ๑) เลื่อนตรวจหลักฐานบึ้มป่วนกรุง, ๒) ศาลเลื่อนนัดตรวจหลักฐาน ‘3 หนุ่มนราฯ’ บึ้มป้าย สตช., ๓) ศาลเลื่อนตรวจหลักฐาน’บึ้มป่วนกรุง’ นัดอีกครั้ง24ก.พ.  และ  ๔) ศาลเลื่อนตรวจหลักฐานคดีบึ้มป่วนกรุงไป24ก.พ.,

๖. เศรษฐกิจ และการสร้างรายได้ ๑) จัดเต็มรถสาธารณะเชื่อมบินเบตง, ๒) ประมูลโปรเจคท์4สนามบิน3.6พันล., ๓) เข้มโรงไฟฟ้าชุมชน สกัดจุดมืดในแสงสว่าง ‘นายทุนฮุบ’, ๔) ปลุกค้าชายแดน, ๕) ‘ควิกวิน’ หมื่นล้านเกิดแน่ปีนี้, ๖) ‘Southern Market Show สินค้าดี วิถีเด่น ชายแดนใต้’, ๗) ถุงผ้า, ๘) ‘จุรินทร์’ลงพื้นที่ชายแดนใต้สร้างความร่วมมือด้านการค้าไทย-มาเลเซีย, ๙) วิถี’พอเพียง’ผสานความรู้ ‘คนเลี้ยงแพะ’บ้านสุเหร่าท่าน้ำ, ๑๐) SME D Bank ผนึก EXIM Bank รวมพลังสถาบันการเงินหลักมาเลเซีย หนุนเศรษฐกิจระหว่างประเทศเติบโต, ๑๑) ‘กุลิศ’ยันคุมค่าไฟอยู่ หลังผุดโรงไฟฟ้าชุมชน, ๑๒) เฉลิม อยู่วิทยา/ชูมอนซูน แวลลีย์เพื่อเกษตรกรไทย, ๑๓) ‘จุรินทร์’ เปิดมหกรรมการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนฝ่าทุกสถานการณ์, ๑๔) ‘เบตงไฮแลนด์’ แหล่งเสริมสร้างประสบการณ์จริงด้านการบริการ โรงแรม นศ.การอาชีพเบตง, ๑๕) กดปุ่มขยาย 4 สนามบินรองรับผู้โดยสาร, ๑๖) รัฐบาลเร่งแก้11อุปสรรค บูมค้าชายแดนไทย-มาเลย์, ๑๗) SME D Bank ร่วมกับ EXIM Bank ประสานพลังสถาบันการเงินหลักมาเลเซีย เสริมแกร่งเพิ่มศักยภาพเอสเอ็มอี 2 ชาติ หนุนเศรษฐกิจระหว่างประเทศเติบโต, ๑๘) เสริมแกร่งเพิ่มศักยภาพเอสเอ็มอี 2 ชาติ หนุนเศรษฐกิจระหว่างประเทศโตทะยาน, ๑๙) ภาพข่าว: EXIM BANK และ SME D Bank ของไทย จับมือ Malaysia EXIM Bank และ SME Bank Malaysia ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบธุรกิจไทย-มาเลเซียสู่ตลาดโลก, ๒๐) TPOLYลุ้นคว้าโปรเจ็กต์ใหม่ เล็งCODไฟฟ้า48เมกะวัตต์  และ  ๒๑) ‘จุรินทร์-นิพนธ์’ ลุยชายแดนใต้จับคู่ธุรกิจ ไทย-มาเลเซีย ในมหกรรมส่งเสริมการค้าชายแดน,

๗. ยาเสพติด ๑) ‘สงขลา’นำจิตอาสาแก้ยาเสพติด, ๒) ‘สงขลา’นำจิตอาสาแก้ยาเสพติด, ๓) รวบยกก๊วน “ทีม ผญบ.รามัน” ใช้ป้อม ชรบ.ซ่อนตัวมั่วยา  และ  ๔) ปส.จับสองพ่อค้าซุกยาบ้า 1.2 ล้านเม็ดในลังผลไม้รับทำมาแล้ว 5ครั้ง,

๘. การเยียวยา แห่อาลัยแน่นวัด 3พ่อแม่ลูก-ด.ต.อรินราชเหยื่อ’จ่าคลั่ง’

๙. การเมือง ‘ผู้กองปูเค็ม’โผล่ยะลา นำมวลชนบุกสาขา’อนค.’ ชูป้ายเก้อต่อต้าน’ธนาธร’

๑๐. การศึกษา ก.ค.ศ. เห็นชอบเกณฑ์ย้ายผู้บริหารสถานศึกษา

๑๑. การบังคับใช้กฏหมาย ๑) รัฐต่อ พ.ร.ก.จ่อ 60 ครั้ง! – ใต้ป่วนบึ้มข้างกำแพง-ยิงใกล้โรงเรียน, ๒) ‘บิ๊กป้อม’ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจชต.ต่อ3เดือน, ๓) ถกขยายเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 3 จังหวัดชายแดนใต้  และ  ๔) ยืดพรก.ฉุกเฉิน3จ.ชายแดนใต้อีก3เดือน! เพิ่มคุมเข้มลงทะเบียนซิมมือถือ,

๑๒. การช่วยเหลือประชาชน ๑) ‘ปภ.’เตือน25จังหวัดรับมือ ‘อากาศแปรปรวน’16-20ก.พ.  และ  ๒) กอปภ.ก.ประสาน 7 จังหวัดภาคใต้ เตรียมรับมือภาวะฝนตกหนักและคลื่นลมแรงในช่วงวันที่ 20 – 24 ก.พ.63,

๑๓. การบำรุงขวัญกำลังพล ๑) ปรับทัพศูนย์รับร้องทุกข์ ให้สายตรงผบ.ทบ., ๒) คอลัมน์ ตาชั่งพันดาว  และ  ๓) ทบ.เปิด 6 ช่องทาง รับเรื่องร้องเรียนกำลังพลออนไลน์,

๔.๒ ระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก (Positive Awareness Level: AI) ต่อสถานการณ์ จชต.


จากสถานการณ์ข่าวที่เกิดขึ้นจากการนําเสนอของสื่อมวลชน ส่งผลให้ระดับการรับรู้เชิงบวกที่มีต่อสถานการณ์ จชต. ในสัปดาห์นี้ เพิ่มขึ้น จาก ๑.๘๙ ในสัปดาห์ที่แล้ว (๘ -๑๔ ก.พ. ๖๓)  เป็น ๒.๓๖ ในสัปดาห์นี้ ในมิติของแนวโน้มการรับรู้เชิงบวก มีแนวโน้มฯ ค่อนข้างคงที่

๕. ประเด็นสําคัญจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงวันที่ ๑๕ – ๒๑ ก.พ. ๖๓

    ไม่มีรายงานข่าวสถานการณ์ และ เหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในสื่อต่างประเทศ มีเพียงรายงานเกี่ยวกับกระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้โดย Nikkei Asian Review สื่อญี่ปุ่นอ้างแหล่งข่าว ระบุว่า รัฐบาลมาเลเซียไม่พอใจรัฐบาลไทยที่ดำเนินการเจรจาลับกับตัวแทนกลุ่ม BRN ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน โดยที่ไม่บอกกล่าวให้ตัวแทนรัฐบาลมาเลเซียรับทราบทั้งๆ ที่เป็น “ผู้อำนวยความสะดวก” กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข พร้อมทั้งข้อสังเกตจากนักวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ จชต. การสร้างสันติสุขในพื้นที่จำเป็นอย่างยิ่งต้องได้รับฉันทานุมัติจาก ๓ ฝ่ายคือ รัฐบาลไทย ขบวนการบีอาร์เอ็น และรัฐบาลมาเลเซีย เนื่องเพราะมาเลเซียมิได้มีบทบาทในฐานะผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยเท่านั้น แต่มีบทบาทในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) อีกด้วย

    อีกประเด็นที่มีรายงานในสื่อมาเลเซีย คือ การพัฒนาการค้าการลงทุนในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย ว่า มีความสำคัญต่อการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งนายณรงค์ ศศิธร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลัมเปอร์ กล่าวว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในเวลาที่เศรษฐกิจโลกกำกลังเผชิญกับความไม่แน่นอนอันเกิดจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน และ การแพร่ระบาดของ Covid-๑๙

๕.๑ Nikkei Asian Review เผยแพร่รายงานข่าวเกี่ยวกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจชต.เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ มีสาระสำคัญ คือ อ้างแหล่งข่าวที่กรุงเทพที่รู้เรื่องกระบวนการพูดคุยเป็นอย่างดี ระบุว่า ความสัมพันธ์ที่เย็นชาระหว่างไทยกับมาเลเซียเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดกระบวนการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับตัวแทน BRN ที่กรุงเบอร์ลิน เมื่อปีที่แล้ว โดยที่มาเลเซียในฐานะผู้อำนวยความสะดวกไม่ได้มีส่วนร่วมหรือกระทั่งรับรู้

การใช้ช่องทางพบปะพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการเมื่อปีที่แล้วนำไปสู่การพูดคุยกันอย่างเป็นทางการระหว่างคณะพูดคุยฝ่ายรัฐไทยกับฝ่าย BRN เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ที่ผ่านมา และขณะที่จะมีการพูดคุยครั้งต่อไปต้นเดือนมีนาคม ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ฝ่ายไทยก็พยายามสร้างบรรยากาศที่ดีด้วยการพูดให้เครดิตผู้อำนวยความสะดวก ว่า มีส่วนสำคัญที่ทำให้กระบวนการพูดคุยมีความก้าวหน้าสามารถเชิญตัวแทน BRN เข้าสู่กระบวนการพูดคุยได้สำเร็จ

Nikkei อ้างแหล่งข่าวในแวดวงนักการฑูตอาเซียน บอกว่า “มาเลเซียแม้จะได้รับการยอมรับจากฝ่ายไทย ว่า มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุย แต่ตอนนี้ก็คงได้กลิ่นแล้วว่า ถูกผลักออกนอกวง”

Nikkei อ้างแหล่งข่าวอีกคนพร้อมระบุว่าเป็นคนวงในที่เห็นร่างเอกสาร(เบื้องต้น)ข้อตกลงกรอบการพูดคุยระหว่างฝ่ายไทยกับ BRN ซึ่งจัดทำร่างในระหว่างการพบปะพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการที่เบอร์ลิน โดยการดำเนินการขององค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งหนึ่งในยุโรป เขาบอกว่า เอกสารฉบับนี้ลับกระทั่งมาเลเซียในฐานะผู้อำนวยความสะดวกก็ไม่ได้เห็น

แหล่งข่าวคนเดียวกันระบุว่า ร่างเอกสารฉบับนี้ทำให้เกิดคำถามบทบาทในอนาคตของมาเลเซียกับการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้

(Thailand’s peace offensive to end a 16-year ethnic conflict in three southern provinces has soured diplomatic ties with Malaysia, which borders the area.

Sources told the Nikkei Asian Review that Bangkok’s security establishment has been scrambling to contain further diplomatic fallout before the next round of negotiations in Kuala Lumpur in early March. “The Thais are trying to pacify the Malaysians by offering to share some credit for the recent breakthrough in the peace process,” said a Bangkok insider with intimate knowledge of the talks.

This frosty relations between the two Southeast Asian neighbors followed groundbreaking back-channel talks in Berlin late last year between the Thai security establishment and Barisan Revolusi Nasional, the largest rebel group in the region.

The Malaysians, even though recognized by the Thais as enablers of the talks, were excluded from negotiations. “The Malaysians were incensed when they found out,” said an Asian diplomat.

The Malaysians were also not privy to a seven-page draft of the agreement that had been tabled during the Berlin talks, which were arranged by a European humanitarian organization, according to Bangkok political insiders. “The [tentative agreement] between BRN and the Thai National Security Council raises questions about the future role for Malaysia in the peace process going forward,” said one insider, who has seen the text.)

Nikkei อ้างว่า นักวิเคราะห์หลายคนชื่นชมความก้าวหน้าครั้งสำคัญของกระบวนการพูดคุยที่สามารถหว่านล้อมให้ BRN เข้าสู่กระบวนการพูดคุยอย่างเป็นทางการได้สำเร็จ พร้อมบรรยายความสำคัญของมาเลเซีย ว่า ได้รับการเชิญเชื้อเชิญจากรัฐบาลไทยให้ช่วยทำหน้าที่ผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ แต่บทบาทของมาเลเซียก็มีความอ่อนไหวทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่พรมแดนติดต่อกันยาวเหยียดเอิ้ออำนวยให้กลุ่มกบฏติดอาวุธทั้ง BRN และกลุ่มอื่นๆเดินทางเข้าออกระหว่างมาเลเซียกับไทยได้อย่างง่ายดาย ยื่งไปกว่านั้นบรรดาผู้นำกลุ่มกบฏติดอาวุธเกือบทั้งหมดพำนักในประเทศมาเลเซีย

ดอน ปาทาน อดีตสื่อมวลชนที่ผันตัวเองเป็นนักวิเคราะห์สถานการณ์ในจชต.ให้ความเห็นว่า “มาเลเซียไม่ได้มีบทบาทเฉพาะผู้อำนวยความสะดวกเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้นการแก้ปัญหาความขัดแย้งในจชต.จึงต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกันสามฝ่าย คือ รัฐไทย BRN และรัฐบาลมาเลเซีย”

(Analysts welcomed the breakthrough for a peace deal in the provinces of Pattani, Yala and Narathiwat, home to Malay-Muslims, the largest minority in predominantly Buddhist Thailand. The current cycle of violence, which erupted in 2004, has left over 7,000 dead and more than 10,000 injured. It is rooted in ethnic and cultural marginalization, according to Malay-Muslims, who say they have been subjugated by the Thai state since the last century.

But Malaysia’s role in the talks since 2013, when Bangkok asked Kuala Lumpur to facilitate the first phase of the dialogue, has remained politically sensitive. The porous border between the two countries has enabled rebels from BRN and smaller Malay-Muslim insurgent groups to cross with ease. Furthermore, most of the insurgency leaders live in Malaysia.

“Malaysia is not only a broker or a facilitator of the peace process, but also a stakeholder,” said Don Pathan, a Thai security analyst. “To resolve this conflict, you need endorsements from all three parties: the Thai state, BRN and Malaysia.”)

ทีมาข้อมูล ; https://asia.nikkei.com/Politics/International-relations/Thailand-angers-Malaysia-in-push-for-peace-in-troubled-South

๕.๒ The Star สื่อมาเลเซียรายงานเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ว่า นายณรงค์ ศศิธร เอกอัครราชฑูทยณ.กรุงกัวลาลัมเปอร์ กล่าวในสัมมนาโต๊ะกลม  Asean Roundtable ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ว่า ความร่วมมือสร้างการค้าการลุมระหว่างไทยและมาเลเซีย มีผลต่อการเติบโตที่สำคัญของอาเซียนเนื่องเพราะการค้าระหว่างไทยและมาเลเซียมีมูลค่าสูงถึง ๔๐% ของมูลค่าการค้าภายในภูมิภาค

นายณรงค์ พูดถึงการขยายการค้าการลงทุนระหว่างไทยและมาเลเซีย รวมทั้งการค้าในอาเซียนจะมีส่วนสำคัญสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ บรรเทาผลกระทบจากภายนอกอย่างที่เกิดขึ้นในตอนนี้ทั้งสงครามการค้าระวห่างสหรัฐกับจีน และผลกระทบจากการแพร่ระบาด Covid-๑๙

ทางด้านนายอาคม เติมพิริยะไพสิษฐ์ อดีตรัฐมนตรีคมนาคม กล่าวว่า ไทยและมาเลเซียมีความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ใกล้ชิดซึ่งมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการค้า โลจิสติกส์และการลงทุนในอาเซียน เช่นการขยายรางรถไฟเชื่อมโยงกับมาเลเซียเป็นรางคู่ รวมทั้งการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่ชายแดนไทยและมาเลเซีย เป็นการสร้างระบบขนส่งเชื่อมโยยงมาเลเซียมกับลาว กัมพูชา เวียดนามและตอนใต้ของจีน ด้วย

Narong said it was especially crucial for Asean to boost ties among its members given the current uncertainties caused by the US-China trade war and the Covid-19 outbreak.

Former Thai Transport Minister Arkhom Termpittayapaisith said closer cooperation between Malaysia-Thailand would have huge implications for regional trade, logistics and investment.

He added that Thailand has been upgrading its transport infrastructure, including a double-track railway which runs through south Thailand to Malaysia.

Such a transport network, he added, could afford Malaysian businesses opportunities to tap into growing markets in Cambodia, Laos, Myanmar, Vietnam and China’s inland region.

ที่มาข้อมูล ; https://www.thestar.com.my/news/nation/2020/02/20/border-connectivity-vital-for-growth

๖. ข้อเสนอแนะในการประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสาร ในช่วงเวลาต่อไป

ประชาสัมพันธ์ขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น และ สนับสนุนกระบวนการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ทั้งนี้ เพื่อรักษาเสียงสนับสนุนกระบวนการพูดคุยฯ ซึ่งทั้งนักวิชาการ และ นักวิเคราะห์สถานการณ์ จชต. รวมทั้งสื่อมวลชนส่วนใหญ่ มีท่าที และ ความเห็นเชิงบวกต่อการพูดคุยสันติสุขระหว่างคณะพูดคุยสันติสุขฝ่ายรัฐบาลไทยนำโดย พลเอกวัลลภ รักเสนาะ กับ อานัส อับดุลเลาะห์มาน เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยฝ่าย BRN ดังนั้นในห้วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนการพูดคุยครั้งที่ ๒ ที่กรุงกัวลัมเปอร์ ต้นเดือนมีนาคม จึงควรสร้างข่าวเชิงบวกเพื่อขับเคลื่อนความเชื่อมั่นต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต.

โดยมีข้อเสนอแนะในการประชาสัมพันธ์ดังนี้

๑) ให้ข้อมูล (info leakage) กับ สื่อมวลชนที่มีทัศนคติเป็นมิตรกับกองทัพ เช่น วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าว Bangkok Post หรือ เสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการอาวุโส News TV เพื่อยืนยันว่ากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขยังอยู่บนหลักการเดิม โดยมีสาระสำคัญคือ

         ๑. รัฐบาลมีเป้าหมายแก้ไขปัญหาสร้างสันติสุขใน จชต. ด้วยกระบวนการพูดคุยกับฝ่ายผู้เห็นต่าง (ที่มีอิทธิพลต่อกองกำลังติดอาวุธต่อรัฐในพื้นที่) คือ กลุ่มบีอาร์เอ็น

         ๒. กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข มีตัวแทนรัฐบาลมาเลเซียทำหน้าที่ผู้ประสานงาน และ อำนวยความสะดวก (peace facilitator)

         ๓. การพูดคุยเพื่อสันติสุขระหว่างคณะพูดคุยฝ่ายรัฐไทยกับบีอาร์เอ็น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ยังยึดกรอบการพูดคุยเดิมคือเป็นการพูดคุยระหว่างตัวแทนรัฐไทยกับฝ่ายผู้เห็นต่าง

         ๔. ผู้สังเกตุการณ์การพูดคุย เป็นตัวแทนจากองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน และ นักวิชาการ ไม่ใช่ตัวแทนรัฐบาลต่างประเทศ

๒) ก่อนการพูดคุยอย่างเป็นการครั้งที่ ๒ มีโอกาสที่จะมีบทความ บทวิเคราะห์ หรือรายงานข่าว ที่มีเนื้อหาทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการพูดคุย เนื่องจากบทวิเคราะห์ที่มีเนื้อหาเช่นนี้ใน Nikkei Asian Review (๒๐/๐๒/๒๐๒๐) เขียนโดย Marwaan Macan Markar ภายใต้บทความชื่อ Thailand angers Malaysia in push for peace in trouble south มีความเห็นดอน ปาทาน อยู่ในบทความชิ้นนี้ด้วย จึงเขื่อได้ว่า Markar ได้รับอิทธิพลและข้อมูลจากดอน ซึ่งมีอิทธิพลทางความคิดต่อผู้สื่อข่าวต่างประเทศในฐานะผู้เชี่ยวชาญสถานการณ์ จชต. จึงมีโอกาสที่ดอน ปาทาน อาจจะเขียนบทความวิจารณ์ฝ่ายไทยว่า มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการพูดคุยโดยลดบทบาทมาเลเซียในฐานะผู้อำนวยความสะดวก ซึ่งหากยังมีการนำเสนอข้อมูลที่คลาดเคลื่อนเช่นนี้อีก คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขควรมีแถลงการณ์ชี้แจง ในลักษณะ fact sheet แก่สื่อมวลชนเพื่อมิให้ข่าวสารที่คลาดเคลื่อนเบี่ยงเบนความสนในของประชาชน


error: Content is protected !!