๑. สถานการณ์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต.
๑.๑ สถานการณ์ภายในประเทศ
๑.๑.๑ สถานการณ์ข่าวเชิงลบ : ภาพข่าวเชิงลบในสัปดาห์นี้ เกิดขึ้นจาก
- ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (๑) ตร.เชื่อเหตุความ ไม่สงบ! ปมคนร้ายประกบยิง รปภ.รร. ลูกจ้างเร่งด่วนของรัฐ, ๒) โจรใต้ตามยิงหนุ่ม ๒ ครั้งไม่สำเร็จ ถูกล่ารอบ ๓ พลาดดับ และ ๓) กำลังจะร้องเพลงชาติ ระเบิดบึ้มสนั่น ‘ครู-นร.’ หนีตายวุ่น)
- ประเด็นอาชญากรรมในพื้นที่ (พบศพชายตายในสวนยาง! สภาพแห้งกรังนั่งคุกเข่าหลังต้นไม้ คาดโยงแก๊งค้ายา)
- ประเด็นสิทธิมนุษยชน (๑) ตามรอยน้ำตาในเพลง-เรื่องเล่าท้องถิ่น ความรุนแรงโดยรัฐจากอดีตถึงปัจจุบัน และ ๒) เปิดร่างฯ พ.ร.บ. ป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหาย ฉบับประชาชน มีแล้วดีอย่างไร)
- ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (๑) ร้อง กมธ.ทหารฯ สอบปัญหาประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยคลังอาวุธ, ๒) ‘อนาคตใหม่’ เตรียมจัดเวที ‘จากโคราชสู่การ ปฏิรูปกองทัพ’ ชวนร่วมทลาย ‘แดนสนธยา’ ๑๕ ก.พ. นี้, ๓) เสนาพาณิชย์! เปิด ๑๔ ธุรกิจในค่ายทหาร…ใครได้ประโยชน์? และ ๔) ทหารสังคมศักดินา ไม่เชื่อมั่นสายตรง ผบ.ทบ.)
๑.๑.๒ สถานการณ์ข่าวเชิงบวก : ภาพข่าวเชิงบวกในสัปดาห์นี้ เกิดขึ้นจาก
- ประเด็นวัฒนธรรม และวิถีชีวิต (ฟื้นฟูวัดร้างใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือการสร้างความมั่นคงใน ‘พื้นที่ปลายด้ามขวาน’)
- ประเด็นเศรษฐกิจ และการสร้างรายได้ (๑) จัดเต็มรถสาธารณะเชื่อมบินเบตง, ๒) ‘จุรินทร์’ เปิดมหกรรมการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนฝ่า ทุกสถานการณ์ และ ๓) SME D Bank ร่วมกับ EXIM Bank ประสานพลังสถาบันการเงินหลักมาเลเซีย เสริมแกร่งเพิ่มศักยภาพเอสเอ็มอี ๒ ชาติ หนุนเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศเติบโต)
- ประเด็นยาเสพติด: ๑) ‘สงขลา’ นำจิตอาสาแก้ยาเสพติด, ๒) รวบยกก๊วน “ทีม ผญบ.รามัน” ใช้ป้อม ชรบ.ซ่อนตัวมั่วยา และ ๓) ปส. จับสองพ่อค้าซุกยาบ้า ๑.๒ ล้านเม็ดในลังผลไม้ รับทำมาแล้ว ๕ ครั้ง)
๑.๒. สถานการณ์ข่าวจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้
๑.๒.๑ ไม่มีรายงานข่าวสถานการณ์ และ เหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในสื่อต่างประเทศ มีเพียงรายงานเกี่ยวกับกระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้โดย Nikkei Asian Review สื่อญี่ปุ่นอ้างแหล่งข่าว ระบุว่า รัฐบาลมาเลเซียไม่พอใจรัฐบาลไทยที่ดำเนินการเจรจาลับกับตัวแทนกลุ่ม BRN ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน โดยที่ไม่บอกกล่าวให้ตัวแทนรัฐบาลมาเลเซียรับทราบทั้งๆ ที่เป็น “ผู้อำนวยความสะดวก” กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข พร้อมทั้งข้อสังเกตจากนักวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ จชต. การสร้างสันติสุขในพื้นที่จำเป็นอย่างยิ่งต้องได้รับฉันทานุมัติจาก ๓ ฝ่ายคือ รัฐบาลไทย ขบวนการบีอาร์เอ็น และรัฐบาลมาเลเซีย เนื่องเพราะมาเลเซียมิได้มีบทบาทในฐานะผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยเท่านั้น แต่มีบทบาทในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) อีกด้วย
๑.๒.๒ อีกประเด็นที่มีรายงานในสื่อมาเลเซีย คือ การพัฒนาการค้าการลงทุนในพื้นที่ชาย แดนไทย-มาเลเซีย ว่า มีความสำคัญต่อการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งนายณรงค์ ศศิธร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลัมเปอร์ กล่าวว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในเวลาที่เศรษฐกิจโลกกำกลังเผชิญกับความไม่แน่นอนอันเกิดจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน และ การแพร่ระบาดของ Covid-๑๙
๒. ข้อพิจารณา: จากสถานการณ์ข่าวในข้อ ๑ มีข้อพิจารณาดังนี้
๒.๑ เหตุการณ์กราดยิงประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ยังคงส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน (มาตรการในการควบคุมคลังอาวุธ) และ ประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล (โครงการสีเทา และการเบียดบังเบี้ยเลี้ยงสวัสดิการกำลังพล) ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องจับตามองประเด็นดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
๒.๒ มีการลดความน่าเชื่อถือกระบวนการพูดคุยสันติสุข ผ่านสื่อญี่ปุ่น (Nikkei Asian Review) และคาดว่าจะมีการปฏิบัติการข่าวสารในลักษณะนี้ เป็นระยะๆ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องเตรียมการประชาสัมพันธ์ทั้งเชิงรุก และรับ ในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข
๓. ข้อเสนอ : จากข้อพิจารณาในข้อ ๒
เห็นควรประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น และ สนับสนุนกระบวนการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ทั้งนี้เพื่อรักษาเสียงสนับสนุนกระบวนการพูดคุยฯ ซึ่งทั้งนักวิชาการ และ นักวิเคราะห์สถานการณ์ จชต. รวมทั้งสื่อมวลชนส่วนใหญ่ มีท่าที และ ความเห็นเชิงบวกต่อการพูดคุยสันติสุขระหว่างคณะพูดคุยสันติสุขฝ่ายรัฐบาลไทยนำโดย พลเอกวัลลภ รักเสนาะ กับ อานัส อับดุลเลาะห์มาน เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยฝ่าย BRN ดังนั้นในห้วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนการพูดคุยครั้งที่ ๒ ที่กรุงกัวลัมเปอร์ ต้นเดือนมีนาคม จึงควรสร้างข่าวเชิงบวกเพื่อขับเคลื่อนความเชื่อมั่นต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต. โดยมีข้อเสนอแนะในการประชาสัมพันธ์ดังนี้
๓.๑ ให้ข้อมูล (info leakage) กับ สื่อมวลชนที่มีทัศนคติเป็นมิตรกับกองทัพ เช่น วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าว Bangkok Post หรือ เสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการอาวุโส News TV เพื่อยืนยันว่ากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขยังอยู่บนหลักการเดิม โดยมีสาระสำคัญคือ
๓.๑.๑ รัฐบาลมีเป้าหมายแก้ไขปัญหาสร้างสันติสุขใน จชต. ด้วยกระบวนการพูดคุยกับฝ่ายผู้เห็นต่าง (ที่มีอิทธิพลต่อกองกำลังติดอาวุธต่อรัฐในพื้นที่) คือ กลุ่มบีอาร์เอ็น
๓.๑.๒ กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข มีตัวแทนรัฐบาลมาเลเซียทำหน้าที่ผู้ประสานงาน และ อำนวยความสะดวก (peace facilitator)
๓.๑.๓ การพูดคุยเพื่อสันติสุขระหว่างคณะพูดคุยฝ่ายรัฐไทยกับบีอาร์เอ็น อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ยังยึดกรอบการพูดคุยเดิมคือเป็นการพูดคุยระหว่างตัวแทนรัฐไทยกับฝ่ายผู้เห็นต่าง
๓.๑.๔ ผู้สังเกตุการณ์การพูดคุย เป็นตัวแทนจากองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน และ นักวิชาการ ไม่ใช่ตัวแทนรัฐบาลต่างประเทศ
๓.๒ ก่อนการพูดคุยอย่างเป็นการครั้งที่ ๒ มีโอกาสที่จะมีบทความ บทวิเคราะห์ หรือรายงานข่าว ที่มีเนื้อหาทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการพูดคุย เนื่องจากบทวิเคราะห์ที่มีเนื้อหาเช่นนี้ใน Nikkei Asian Review (๒๐/๐๒/๒๐๒๐) เขียนโดย Marwaan Macan Markar ภายใต้บทความชื่อ Thailand angers Malaysia in push for peace in trouble south มีความเห็นดอน ปาทาน อยู่ในบทความชิ้นนี้ด้วย จึงเขื่อได้ว่า Markar ได้รับอิทธิพลและข้อมูลจากดอน ซึ่งมีอิทธิพลทางความคิดต่อผู้สื่อข่าวต่างประเทศในฐานะผู้เชี่ยวชาญสถานการณ์ จชต. จึงมีโอกาสที่ดอน ปาทาน อาจจะเขียนบทความวิจารณ์ฝ่ายไทยว่า มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการพูดคุยโดยลดบทบาทมาเลเซียในฐานะผู้อำนวยความสะดวก ซึ่งหากยังมีการนำเสนอข้อมูลที่คลาดเคลื่อนเช่นนี้อีก คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขควรมีแถลงการณ์ชี้แจง ในลักษณะ fact sheet แก่สื่อมวลชนเพื่อมิให้ข่าวสารที่คลาดเคลื่อนเบี่ยงเบนความสนในของประชาชน