ข่าวใหม่อัพเดท » การวิเคราะห์สารสนเทศ ด้านการประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสาร เพื่อการแก้ไขปัญหา ประจำเดือนก.พ. ๖๓

การวิเคราะห์สารสนเทศ ด้านการประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสาร เพื่อการแก้ไขปัญหา ประจำเดือนก.พ. ๖๓

7 มีนาคม 2020
0

๑.  บทสรุปผู้บริหาร

     ใน ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ๓๕๖ ข่าว จากที่มี ๕๖๖  ข่าว ใน ม.ค. ๖๓ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๑๐๑ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓ จากที่มี ๑๘๘ ข่าวใน ม.ค. ๖๓

      ประเด็นที่ส่งผลกระทบเชิงลบ ได้แก่  อาชญากรรมในพื้นที่, เหตุร้ายรายวัน, การเมือง และ สิทธิมนุษยชน

      ประเด็นส่งที่ผลกระทบในเชิงบวก ได้แก่ การศึกษา, กีฬา, การสร้างความเข้าใจ และ สมานฉันท์, ยาเสพติด, การช่วยเหลือประชาชน, การเยียวยา, เศรษฐกิจ และการสร้างรายได้, กระบวนการยุติธรรม, วัฒนธรรม และวิถีชีวิต, การบังคับใช้กฎหมาย, การยกระดับคุณภาพชีวิต, ความร่วมมือไทย-มาเลย์, การรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน, การพูดคุยเพื่อสันติสุข และ การบำรุงขวัญกำลังพล

จากสถานการณ์ข่าวดังข้างต้น ส่งผลให้การรับรู้เชิงบวกที่มีต่อสถานการณ์ จชต. ใน ก.พ. ๖๓ เพิ่มขึ้น จาก ๑.๙๐ ใน ม.ค. ๖๓ เป็น ๒.๐๔ ใน ก.พ. ๖๓

       ประเด็นสำคัญที่สื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  รายงาน ในช่วง ก.พ. ๖๓ สรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้

       ๑) Bernama สำนักข่าวทางการมาเลเซียอ้างคำพูด พลเอก วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยฯ บอกว่า การพูดคุยครั้งต่อไปกำหนดไว้ในเดือนมีนาคม โดยจะเป็นการพูดคุยทวิภาคีระหว่างฝ่ายรัฐไทยกับตัวแทนบีอาร์เอ็น

       ๒) Benarnews.org เว็บไซต์ข่าวภายใต้ร่มองค์กรข่าวของรัฐบาลอเมริกัน คือ Radio Free Asia รายงานความคิดเห็นของผู้สันทัดกรณีในพื้นที่ จชต. หลายคน อาทิเช่น ดร.ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี แห่งศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ยืนยันว่าอุสตาซฮีพนี มะเระห์ หัวหน้าคณะพูดคุยฝ่ายผู้เห็นต่าง เป็นแกนนำคนสำคัญของบีอาร์เอ็น ขณะที่อดีตสมาชิกขบวนการบีอาร์เอ็นในพื้นที่คนหนึ่ง บอกกับ Benarnews ว่า อุสตาซฮีพนี เป็นผู้ที่คุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่รัฐไทยอยู่แล้ว ฮีพนีเป็นเพียงตัวละครหน้าใหม่บนโต๊ะพูดคุยสันติสุข ทางด้านสุกรี ฮารี หัวหน้าคณะพูดคุยของกลุ่มมาราปาตานี และ เป็นตัวแทนบีอาร์เอ็นในมาราปาตานี บอกว่า ยังไม่ได้รับการติดต่อ อุสตาซฮีฟนี เชิญเข้าร่วมวงพูดคุยสันติสุข เช่นเดียวกับ กัสตูรี มะโกตาห์ แกนนำกลุ่มพูโล บอกว่าไม่ได้รับการติดต่อเช่นกันแต่เขาก็หวังว่า อุสตาซฮีพนี จะเชิญพูโลเข้าร่วมวงพูดคุยฯ ด้วยเพื่อให้มีตัวแทนผู้เห็นต่างจากรัฐไทยทุกกลุ่ม

      ๓) รายงานข่าวของสำนักข่าว AFP กรณีเหตุเรือผู้อพยพชาวโรฮิงญาล่มในทะเลทางใต้ของบังกลาเทศขณะพยายามแล่นเรืออพยพไปมาเลเซียเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๑๕ คน และ สูญหายกว่า ๕๐ คน โฆษกหน่วยเจ้าหน้าที่ยามฝั่งชี้แจง สาเหตุที่เรือล่มเกิดจากน้ำหนักบรรทุกมากเกินไป คือมีผู้โดยสาร ๑๓๘ คน และ สัมภาระอีกจำนวนหนึ่ง ขณะที่เรือลำนี้สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้เพียง ๕๐ คน รายงานของ AFP ระบุว่านับตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ มีชาวโรฮิงญาหลบหนีการปราบปรามในเมียนมาร์อพยพไปอาศัยในค่ายผู้อพยพที่ชายแดนบังกลาเทศมากกว่า ๑ ล้านคน ในจำนวนนี้นับหมื่นคนพยายามหลบหนีไปประเทศไทย และ มาเลเซีย

      ๔) Nikkei Asian Review สื่อญี่ปุ่นอ้างแหล่งข่าว ระบุว่า รัฐบาลมาเลเซียไม่พอใจรัฐบาลไทยที่ดำเนินการเจรจาลับกับตัวแทนกลุ่ม BRN ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน โดยที่ไม่บอกกล่าวให้ตัวแทนรัฐบาลมาเลเซียรับทราบทั้งๆ ที่เป็น “ผู้อำนวยความสะดวก” กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข พร้อมทั้งข้อสังเกตจากนักวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ จชต. การสร้างสันติสุขในพื้นที่จำเป็นอย่างยิ่งต้องได้รับฉันทานุมัติจาก ๓ ฝ่ายคือ รัฐบาลไทย ขบวนการบีอาร์เอ็น และรัฐบาลมาเลเซีย เนื่องเพราะมาเลเซียมิได้มีบทบาทในฐานะผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยเท่านั้น แต่มีบทบาทในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) อีกด้วย

      ๕) สื่อมาเลเซีย คือ การพัฒนาการค้าการลงทุนในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย ว่า มีความสำคัญต่อการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งนายณรงค์ ศศิธร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลัมเปอร์ กล่าวว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในเวลาที่เศรษฐกิจโลกกำกลังเผชิญกับความไม่แน่นอนอันเกิดจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน และ การแพร่ระบาดของ Covid-๑๙

      ๖) สื่อมาเลเซียรายงานข่าว แท๊กซี่เถื่อนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้ามไปหากินที่ฝั่งมาเลเซียโดยไม่ยำเกรงกฎหมาย ขณะที่เจ้าหน้าที่มาเลเซียทั้งตรวจคนเข้าเมือง และ เจ้าหน้าที่ขนส่งทางบก ยืนยันว่า ไม่ได้ปล่อยปละละเลย หรือ รับสินบนจาก รถรับจ้างไทยที่เข้าไปวิ่งรับส่งในมาเลเซียโดยไม่มีใบอนุญาต

       ๗) กองพันที่ ๙ หรือ PGA 9 ของมาเลเซียเข้มงวดปิดจุดช่องทางผ่านแดนธรรมชาติ ๔ จุด ริมแม่น้ำโกลก แถบปาเสมัส เมืองชายแดนติดกับอำเภอสุไหงโกลก เพื่อควบคุมให้ชาวมาเลเซียผ่านเข้าออกจุดผ่านแดนทางการเท่านั้น ตามมาตรการควบคุม และ ป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา

      ๘) สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวมาเลเซีย จัดงานส่งเสริม Visit Malaysia Year 2020 ที่จังหวัดปัตตานี เพื่อสร้างความสัมพันธ์เครือข่ายธุรกิจท่องเที่ยวมาเลเซีย-ไทย (B-to-B) ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนนักเที่ยวไทยปี ๒๕๖๓ เป็น ๒.๓ ล้านคน เทียบกับ ๑.๙ ล้านคนในปี ๒๕๖๒

      ๙) สื่อมาเลเซียรายงานเหตุการณ์คนร้ายลอบวางระเบิดแสวงเครื่องซ่อนไว้มอเตอร์ไซค์ โจมตีรถปลัดอำเภอสะบ้าย้อย จ.สงขลา เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ๑๐ คน ในจำนวนนี้มีเด็กอายุ ๓-๕ ปี รวมอยู่ด้วย

      การปฏิบัติการข่าวสารสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ จชต. ใน ก.พ. ๖๓ สรุปได้ดังนี้   

      ๑) ประชาสัมพันธ์ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อนโยบายเร่งด่วน ๕ ประการของแม่ทัพภาคที่ ๔ ซึ่งดำเนินการโดย กอ.รมน.ภาค ๔ สน. สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพ ๓๙,๐๔๐ คน ที่เข้าร่วมเวทีสาธารณะสภาสันติสุขตำบล

      ๒) ประชาสัมพันธ์ยกย่องการทำความดีของกำลังพลที่ช่วยเหลือประชาชนที่พยายามฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงแม่น้ำปัตตานี เหตุเกิดที่สะพานศักดิ์เสนีย์เมื่อคืนวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ สิบเอกคุณากร สอนศรีไหม และพลทหารอนุสรณ์ โกมัย สังกัดร้อย.ร.๑๕๓๑๒ ฉก.ปัตตานี ๒๕ ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้สังเกตเห็นเยาวชนหญิงอายุ ๑๘-๑๙ ปี กระโดดแม่น้ำปัตตานี เมื่อกำลังพลเห็นเหตุการณ์จึงรีบวางปืน ถอดเสื้อเกราะ หมวกเหล็ก กระโดดลงน้ำเพื่อช่วยชีวิต หลังจากนั้นจึงปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประสานหน่วยกู้ชีพ เพื่อนำส่งโรงพยาบาลปัตตานี

      ๓) ประชาสัมพันธ์ขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น และ สนับสนุนกระบวนการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ทั้งนี้เพื่อรักษาเสียงสนับสนุนกระบวนการพูดคุยฯ ซึ่งทั้งนักวิชาการ และ นักวิเคราะห์สถานการณ์ จชต. รวมทั้งสื่อมวลชนส่วนใหญ่ มีท่าที และ ความเห็นเชิงบวกต่อการพูดคุยสันติสุขระหว่างคณะพูดคุยสันติสุขฝ่ายรัฐบาลไทยนำโดย พลเอกวัลลภ รักเสนาะ กับ อานัส อับดุลเลาะห์มาน เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยฝ่าย BRN ดังนั้นในห้วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนการพูดคุยครั้งที่ ๒ ที่กรุงกัวลัมเปอร์ ต้นเดือนมีนาคม จึงควรสร้างข่าวเชิงบวกเพื่อขับเคลื่อนความเชื่อมั่นต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต.

     ๔) ประชาสัมพันธ์สนับสนุนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ข่าวสารเกี่ยวกับการพูดคุยสันติสุขฯ เนื่องจากในห้วงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม คาดว่า การพูดคุยอย่างเป็นทางการครั้ง ๒ ระหว่างคณะพูดคุยฝ่ายไทยนำโดย พลเอก วัลลภ รักเสนาะ และ ตัวแทนบีอาร์เอ็น นำโดยอานัส อับดุลเลาะห์มาน ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งการพูดคุยครั้งนี้ มีความสำคัญเนื่องเพราะเป็นการพูดคุย ครั้งแรก ในรัฐบาลตันสรี มูห์ยิดดิน ยัสซิน นายกรัฐมนตรีคนที่ ๘ ของมาเลเซีย

๒.ผลการวิเคราะห์สารสนเทศด้านการประชาสัมพันธ์ ประจำเดือน ก.พ. ๖๓

     ๒.๑ เปรียบเทียบแนวโน้มความถี่การนำเสนอประเด็นข่าวเชิงบวก และประเด็นข่าวเชิงลบ



ใน ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกที่เกี่ยวข้องกับ จชต. (เส้นทึบสีเขียว) ๓๕๖ ข่าว จากที่มี ๕๖๖  ข่าว ใน ม.ค. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ (เส้นปะสีน้ำเงิน) มีแนวโน้มฯ ลดลง ในส่วนของข่าวเชิงลบ (เส้นทึบสีแดง) มีข่าวเชิงลบ ๑๐๑ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓ จากที่มี ๑๘๘ ข่าวใน ม.ค. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ (เส้นปะสีแดง) มีแนวโน้มฯ ลดลง

         ๒.๒ ค่าสัดส่วนระหว่างข่าวเชิงบวก และข่าวเชิงลบ

          เมื่อนำจำนวนข่าวเชิงบวก และจำนวนข่าวเชิงลบ ในแต่ละวัน มาคำนวณหาค่าสัดส่วน พบว่าในแต่ละวันจะมีค่าสัดส่วน ดังแสดงในตารางด้านล่าง

วดป. จำนวนข่าวเชิงบวก (1) จำนวนข่าวเชิงลบ (2) ค่าสัดส่วน (3)=(1)/(2)
2020-02-1 20 2 10.00
2020-02-2 16 1 16.00
2020-02-3 22 4 5.50
2020-02-4 22 5 4.40
2020-02-5 20 2 10.00
2020-02-6 8 5 1.60
2020-02-7 9 2 4.50
2020-02-8 16 3 5.33
2020-02-9 13 2 6.50
2020-02-10 6 2 3.00
2020-02-11 12 2 6.00
2020-02-12 6 4 1.50
2020-02-13 14 6 2.33
2020-02-14 9 4 2.25
2020-02-15 12 2 6.00
2020-02-16 15 1 15.00
2020-02-17 24 8 3.00
2020-02-18 6 6 1.00
2020-02-19 6 1 6.00
2020-02-20 11 0 11.00
2020-02-21 4 1 4.00
2020-02-22 10 1 10.00
2020-02-23 10 0 10.00
2020-02-24 18 3 6.00
2020-02-25 8 11 0.73
2020-02-26 15 5 15.00
2020-02-27 11 10 1.10
2020-02-28 3 2 1.50
2020-02-29 10 6 1.67
11.48 3.26 5.51

๓. แนวโน้มในประเด็นที่เพ่งเล็ง ในช่วง ก.พ. ๖๓

     ๓.๑ ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข

ใน ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข ๑๑ ข่าว จากที่มี ๘ข่าว ใน ม.ค. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๖ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓ จากที่มี ๔ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่

    ๓.๒ ประเด็นเหตุร้ายรายวัน

๓.๓ ประเด็นการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ จชต.

         ใน ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ จชต. ๖ ข่าว จากที่มี ๔๒ ข่าวใน ม.ค. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ลดลง ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๒๔ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓ จากที่มี ๖๙ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ลดลง

          ๓.๔ ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน

ใน ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ๔๘ ข่าว จากที่มี ๖๔ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๑๔ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓ จากที่มี ๑๖ ข่าว ใน ม.ค ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้ม ต่ำค่อนข้างคงที่

๓.๕ แนวโน้มความถี่ข่าวในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล



ใน ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นการบำรุงขวัญกำลังพล ๘ ข่าว จากที่มี ๒ ข่าว ใน ม.ค. ๖๒ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๖ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓ จากที่มี ๒ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓   ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่

        ๓.๖ แนวโน้มความถี่ข่าวในประเด็นสิทธิมนุษยชน



ใน ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นสิทธิมนุษยชน ๓ ข่าวจากที่มี ๒ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓   ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ มีข่าวเชิงลบ ๔ ข่าว ใน ก.พ. ๖๓ จากที่มี ๔ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓   ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่

๓.๗ แนวโน้มความถี่ข่าวในประเด็นเศรษฐกิจ และการสร้างรายได้

ใน ก.พ. ๖๒ มีข่าวเชิงบวกในประเด็นเศรษฐกิจฯ ๗๙ ข่าว จากที่มี ๑๑๑ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓  ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ลดลง ในส่วนของข่าวเชิงลบ ไม่มีข่าวเชิงลบ ใน ก.พ. ๖๓ จากที่มี ๑๗ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่

      ๓.๘ แนวโน้มความถี่ข่าวในประเด็นยาเสพติด



  ในช่วง ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงบวก ในประเด็นยาเสพติด ๑๒ ข่าว จากที่มี ๓๘ ข่าว ใน ม.ค. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ลดลง ในส่วนของข่าวเชิงลบ ไม่มีข่าวเชิงลบ ใน ก.พ. ๖๓ จากที่มี ๙ ข่าวใน ม.ค. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่

      ๓.๙ แนวโน้มความถี่ข่าวในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)



ในช่วง ก.พ. ๖๓ มีข่าวเชิงบวก ในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย ๔ ข่าว จากที่ไม่มีข่าว ใน ม.ค. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มความถี่ มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่ ในส่วนของข่าวเชิงลบ ไม่มีข่าวเชิงลบ ทั้งใน ก.พ ๖๓ และ ม.ค. ๖๓  มีแนวโน้มฯ ต่ำค่อนข้างคงที่

๔. ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ และแนวโน้มระดับผลกระทบต่อการรับรู้เชิงบวก

   ๔.๑ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการรับรู้ในเดือน ก.พ. ๖๓





๖๓ เพิ่มขึ้น จาก ๑.๙๐ ใน ม.ค. ๖๓ เป็น ๒.๐๔ ใน ก.พ. ๖๓ ในมิติของแนวโน้มการรับรู้ มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น

๕. ประเด็นสำคัญจากสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในช่วง ก.พ. ๖๓

    ๑) Bernama สำนักข่าวทางการมาเลเซียอ้างคำพูด พลเอก วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยฯ บอกว่า การพูดคุยครั้งต่อไปกำหนดไว้ในเดือนมีนาคม โดยจะเป็นการพูดคุยทวิภาคีระหว่างฝ่ายรัฐไทยกับตัวแทนบีอาร์เอ็น

    ๒) Benarnews.org เว็บไซต์ข่าวภายใต้ร่มองค์กรข่าวของรัฐบาลอเมริกัน คือ Radio Free Asia รายงานความคิดเห็นของผู้สันทัดกรณีในพื้นที่ จชต. หลายคน อาทิเช่น ดร.ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี แห่งศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ยืนยันว่าอุสตาซฮีพนี มะเระห์ หัวหน้าคณะพูดคุยฝ่ายผู้เห็นต่าง เป็นแกนนำคนสำคัญของบีอาร์เอ็น ขณะที่อดีตสมาชิกขบวนการบีอาร์เอ็นในพื้นที่คนหนึ่ง บอกกับ Benarnews ว่า อุสตาซฮีพนี เป็นผู้ที่คุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่รัฐไทยอยู่แล้ว ฮีพนีเป็นเพียงตัวละครหน้าใหม่บนโต๊ะพูดคุยสันติสุข ทางด้านสุกรี ฮารี หัวหน้าคณะพูดคุยของกลุ่มมาราปาตานี และ เป็นตัวแทนบีอาร์เอ็นในมาราปาตานี บอกว่า ยังไม่ได้รับการติดต่อ อุสตาซฮีฟนี เชิญเข้าร่วมวงพูดคุยสันติสุข เช่นเดียวกับ กัสตูรี มะโกตาห์ แกนนำกลุ่มพูโล บอกว่าไม่ได้รับการติดต่อเช่นกันแต่เขาก็หวังว่า อุสตาซฮีพนี จะเชิญพูโลเข้าร่วมวงพูดคุยฯ ด้วยเพื่อให้มีตัวแทนผู้เห็นต่างจากรัฐไทยทุกกลุ่ม

    ๓) รายงานข่าวของสำนักข่าว AFP กรณีเหตุเรือผู้อพยพชาวโรฮิงญาล่มในทะเลทางใต้ของบังกลาเทศขณะพยายามแล่นเรืออพยพไปมาเลเซียเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๑๕ คน และ สูญหายกว่า ๕๐ คน โฆษกหน่วยเจ้าหน้าที่ยามฝั่งชี้แจง สาเหตุที่เรือล่มเกิดจากน้ำหนักบรรทุกมากเกินไป คือมีผู้โดยสาร ๑๓๘ คน และ สัมภาระอีกจำนวนหนึ่ง ขณะที่เรือลำนี้สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้เพียง ๕๐ คน รายงานของ AFP ระบุว่านับตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ มีชาวโรฮิงญาหลบหนีการปราบปรามในเมียนมาร์อพยพไปอาศัยในค่ายผู้อพยพที่ชายแดนบังกลาเทศมากกว่า ๑ ล้านคน ในจำนวนนี้นับหมื่นคนพยายามหลบหนีไปประเทศไทย และ มาเลเซีย

   ๔) Nikkei Asian Review สื่อญี่ปุ่นอ้างแหล่งข่าว ระบุว่า รัฐบาลมาเลเซียไม่พอใจรัฐบาลไทยที่ดำเนินการเจรจาลับกับตัวแทนกลุ่ม BRN ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน โดยที่ไม่บอกกล่าวให้ตัวแทนรัฐบาลมาเลเซียรับทราบทั้งๆ ที่เป็น “ผู้อำนวยความสะดวก” กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข พร้อมทั้งข้อสังเกตจากนักวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ จชต. การสร้างสันติสุขในพื้นที่จำเป็นอย่างยิ่งต้องได้รับฉันทานุมัติจาก ๓ ฝ่ายคือ รัฐบาลไทย ขบวนการบีอาร์เอ็น และรัฐบาลมาเลเซีย เนื่องเพราะมาเลเซียมิได้มีบทบาทในฐานะผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยเท่านั้น แต่มีบทบาทในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) อีกด้วย

      ๕) สื่อมาเลเซีย คือ การพัฒนาการค้าการลงทุนในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย ว่า มีความสำคัญต่อการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งนายณรงค์ ศศิธร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลัมเปอร์ กล่าวว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในเวลาที่เศรษฐกิจโลกกำกลังเผชิญกับความไม่แน่นอนอันเกิดจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน และ การแพร่ระบาดของ Covid-๑๙

      ๖) สื่อมาเลเซียรายงานข่าว แท๊กซี่เถื่อนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้ามไปหากินที่ฝั่งมาเลเซียโดยไม่ยำเกรงกฎหมาย ขณะที่เจ้าหน้าที่มาเลเซียทั้งตรวจคนเข้าเมือง และ เจ้าหน้าที่ขนส่งทางบก ยืนยันว่า ไม่ได้ปล่อยปละละเลย หรือ รับสินบนจาก รถรับจ้างไทยที่เข้าไปวิ่งรับส่งในมาเลเซียโดยไม่มีใบอนุญาต

       ๗) กองพันที่ ๙ หรือ PGA 9 ของมาเลเซียเข้มงวดปิดจุดช่องทางผ่านแดนธรรมชาติ ๔ จุด ริมแม่น้ำโกลก แถบปาเสมัส เมืองชายแดนติดกับอำเภอสุไหงโกลก เพื่อควบคุมให้ชาวมาเลเซียผ่านเข้าออกจุดผ่านแดนทางการเท่านั้น ตามมาตรการควบคุม และ ป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา

       ๘) สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวมาเลเซีย จัดงานส่งเสริม Visit Malaysia Year 2020 ที่จังหวัดปัตตานี เพื่อสร้างความสัมพันธ์เครือข่ายธุรกิจท่องเที่ยวมาเลเซีย-ไทย (B-to-B) ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนนักเที่ยวไทยปี ๒๕๖๓ เป็น ๒.๓ ล้านคน เทียบกับ ๑.๙ ล้านคนในปี ๒๕๖๒

       ๙) สื่อมาเลเซียรายงานเหตุการณ์คนร้ายลอบวางระเบิดแสวงเครื่องซ่อนไว้มอเตอร์ไซค์ โจมตีรถปลัดอำเภอสะบ้าย้อย จ.สงขลา เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ๑๐ คน ในจำนวนนี้มีเด็กอายุ ๓-๕ ปี รวมอยู่ด้วย

๖. สรุปประเด็นการสนับสนุนการปฏิบัติการข่าวสารสำคัญในเดือน ก.พ. ๖๓

    ๑) ประชาสัมพันธ์ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อนโยบายเร่งด่วน ๕ ประการของแม่ทัพภาคที่ ๔ ซึ่งดำเนินการโดย กอ.รมน.ภาค ๔ สน. สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกสาขาอาชีพ ๓๙,๐๔๐ คน ที่เข้าร่วมเวทีสาธารณะสภาสันติสุขตำบล

    ๒) ประชาสัมพันธ์ยกย่องการทำความดีของกำลังพลที่ช่วยเหลือประชาชนที่พยายามฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงแม่น้ำปัตตานี เหตุเกิดที่สะพานศักดิ์เสนีย์เมื่อคืนวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ สิบเอกคุณากร สอนศรีไหม และพลทหารอนุสรณ์ โกมัย สังกัดร้อย.ร.๑๕๓๑๒ ฉก.ปัตตานี ๒๕ ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้สังเกตเห็นเยาวชนหญิงอายุ ๑๘-๑๙ ปี กระโดดแม่น้ำปัตตานี เมื่อกำลังพลเห็นเหตุการณ์จึงรีบวางปืน ถอดเสื้อเกราะ หมวกเหล็ก กระโดดลงน้ำเพื่อช่วยชีวิต หลังจากนั้นจึงปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประสานหน่วยกู้ชีพ เพื่อนำส่งโรงพยาบาลปัตตานี

    ๓) ประชาสัมพันธ์ขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น และ สนับสนุนกระบวนการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ทั้งนี้เพื่อรักษาเสียงสนับสนุนกระบวนการพูดคุยฯ ซึ่งทั้งนักวิชาการ และ นักวิเคราะห์สถานการณ์ จชต. รวมทั้งสื่อมวลชนส่วนใหญ่ มีท่าที และ ความเห็นเชิงบวกต่อการพูดคุยสันติสุขระหว่างคณะพูดคุยสันติสุขฝ่ายรัฐบาลไทยนำโดย พลเอกวัลลภ รักเสนาะ กับ อานัส อับดุลเลาะห์มาน เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยฝ่าย BRN ดังนั้นในห้วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนการพูดคุยครั้งที่ ๒ ที่กรุงกัวลัมเปอร์ ต้นเดือนมีนาคม จึงควรสร้างข่าวเชิงบวกเพื่อขับเคลื่อนความเชื่อมั่นต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต.     ๔) ประชาสัมพันธ์สนับสนุนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ข่าวสารเกี่ยวกับการพูดคุยสันติสุขฯ เนื่องจากในห้วงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม คาดว่า การพูดคุยอย่างเป็นทางการครั้ง ๒ ระหว่างคณะพูดคุยฝ่ายไทยนำโดย พลเอก วัลลภ รักเสนาะ และ ตัวแทนบีอาร์เอ็น นำโดยอานัส อับดุลเลาะห์มาน ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งการพูดคุยครั้งนี้ มีความสำคัญเนื่องเพราะเป็นการพูดคุย ครั้งแรก ในรัฐบาลตันสรี มูห์ยิดดิน ยัสซิน นายกรัฐมนตรีคนที่ ๘ ของมาเลเซีย

error: Content is protected !!