ข่าวใหม่อัพเดท » สถานการณ์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต.ในช่วงวันที่ ๑๔-๒๐ มี.ค. ๖๓

สถานการณ์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต.ในช่วงวันที่ ๑๔-๒๐ มี.ค. ๖๓

24 มีนาคม 2020
0

๑.สถานการณ์ภายในประเทศ

๑.๑. สถานการณ์ข่าวเชิงลบ

                         ภาพข่าวเชิงลบในสัปดาห์นี้ เกิดขึ้นจาก ประเด็นการพูดคุยเพื่อสันติสุข (ไฟใต้ : ๖๐ ปีสถาปนาบีอาร์เอ็น ปรับภาพลักษณ์ “องค์กรลับ” สู่ “องค์กรการเมือง”), ประเด็นการเมือง (๑) ‘สุพจน์’ ชี้ ‘ผู้กองปูเค็ม’ จงใจกล่าวร้าย ดูหมิ่น ‘ชลิดา’, ๒) หลังพิงฝา และ ๓) คอลัมน์ มองรอบทิศ: อยู่ด้วยกันยาก!), ประเด็นเหตุร้ายรายวัน (๑) Several wounded in twin bomb attack in Thailand’s restive region, ๒) เปิดรายชื่อผู้บาดเจ็บ เหตุโจรใต้คาร์บอมบ์หน้า ‘ศอ.บต.’, ๓) คนร้ายโหด! กระหน่ำยิง ‘ผู้ช่วย ผญบ.ยะหริ่ง’ เสียชีวิต และ ๔) เกิดเหตุยิงชาวบ้านใน อ.บันนังสตา เสียชีวิต ๑ ราย เจ็บสาหัส ๑ คน), ประเด็นเศรษฐกิจ และการสร้างรายได้ (๑) คนไทยทำงานในมาเลเซียทยอยเดินทางกลับ หลังประกาศปิดประเทศ, ๒) ค้าบุหรี่หนีภาษีภาคใต้ยังพุ่งสูง และ ๓) ‘โควิด’กระทบไฟฟ้าชุมชน เลื่อนเปิด ‘ซีโอดี’ กลางปี ๖๔), ประเด็นกระบวนการยุติธรรม (แฟ้มคดี: เปิดจดหมายสุดท้าย ‘คณากร เพียรชนะ’ ยิงตัวตายครั้งที่ ๒) และ ประเด็นสิทธิมนุษยชน (จาก ทักษิณ สู่ ประยุทธ์ การสูญหายของ สมชาย นีละไพจิตร กับ ไฟใต้ ที่ยังไร้คำตอบ)

๑.๒ สถานการณ์ข่าวเชิงบวก

                        ภาพข่าวเชิงบวกในสัปดาห์นี้ เกิดขึ้นจาก ประเด็นการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สิน (๑) ปัตตานีสวดฮายัตขอพรให้พ้นภัย, ๒) ยะลาลุยปะทะจับตาย ๓ ศพ, ๓) กลาโหม ประณามโจรใต้เถื่อน หวังสังหารหมู่ประชาชน ขวางพัฒนาสันติสุข, ๔) ‘บิ๊กแป๊ะ’ดูเส้นทางหนีโจรใต้ รอยต่อ’ปัตตานี-ยะลา’, ๕) นายกฯแสดงความเสียใจเหตุสูญเสียและบาดเจ็บ จากเหตุปะทะที่ปัตตานี และ ) ผู้นำศาสนา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เดินทางมาให้กำลังใจ เลขาธิการ ศอ.บต. หลังเกิดเหตุระเบิด), ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (สามจังหวัดระวังไวรัส), และ ประเด็นยาเสพติด (๑) จับบิ๊กล็อต! ตร.สงขลาทลายแก๊งเฮโรอีนข้ามชาติ ยึดของกลางมูลค่ากว่า ๑๖ ล., และ ๒) ตร.ตรัง จับ’แหม่ม สามี’แก๊งเครือข่ายยาบ้า รายใหญ่ เชื่อมโยง ๓ จังหวัด ยึดของกลางกว่า ๘ หมื่นเม็ด)

๒. สถานการณ์ข่าวจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้

๒.๑ สัปดาห์นี้สื่อมวลชนต่างประเทศให้ความสำคัญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็นหลัก รวมทั้งประเด็นที่สื่อต่างประเทศรายงานเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เป็นประเด็นเกี่ยวกับ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งสินค้าผ่านแดน

๒.๒ New Straits Times รายงานอ้างคำให้สัมภาษณ์ของคนขับรถบรรทุกสินค้าคนหนึ่งบอกว่า เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรที่ปาดังเบซาร์ ไม่อนุญาตให้รถบรรทุกสินค้าจากไทยข้ามไปมาเลเซีย ภายหลังรัฐบาลมาเลเซียมีคำสั่งปิดประเทศห้ามชาวมาเลเซียเดินทางเข้าออกประเทศ และ ไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ ๑๘ มีนาคม

๒.๓ สำหรับเหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สื่อต่างประเทศให้ความสนใจมีรายงานมากที่สุด คือ เหตุการณ์คนร้ายขว้างระเบิดมือใส่สำนักงานศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ อ.เมือง จ.ว.ย.ล. เพื่อลวงให้เจ้าหน้าที่ออกมาตอบโต้ คนร้ายจึงจุดชนวนระเบิดรถยนต์ที่จอดไว้หน้า ศอ.บต. เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ๑๘ คน     

๒. ข้อพิจารณา: จากสถานการณ์ข่าวในข้อ ๑ มีข้อพิจารณาดังนี้

           ๒.๑        ในช่วงวันที่ ๑๔-๒๐ มี.ค. ๖๓ ยังคงเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างมีข่าวเชิงลบในหลายประเด็น ได้แก่ การพูดคุยเพื่อสันติสุข, การเมือง, เหตุร้ายรายวัน, เศรษฐกิจ และการสร้างรายได้, กระบวนการยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน

           ๒.๒ ภาพข่าวที่ได้อยู่ในความสนใจของสื่อมวลชนทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ยังคงเป็นสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) และเหตุการณ์คาร์บอมบ์ หน้า ศอ.บต.

      ๓. ข้อเสนอ: สถานการณ์ในข้อ ๒

โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด ๑๙ ที่รุนแรงมากขึ้นกระทั่งรัฐบาลมาเลเซียประกาศมาตรปิดประเทศไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเลเซีย และ ไม่อนุญาตให้ชาวมาเลเซียเดินทางไปต่างประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ ถึง ๓๑ มีนาคม แต่ก็ยังไม่สามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้ และ จำนวนผู้เสียชีวิตในประเทศมาเลเซียก็ยังเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งมีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด ๑๙ ในพื้นที่ จชต. ดังนั้นแนวทางการประชาสัมพันธ์ในช่วงเวลาต่อไป จึงยังคงให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับการป้องกัน และ ควบคุมการแพร่ระบาดโควิด ๑๙ โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้

          ๓.๑ ประชาสัมพันธ์การปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของหน่วยงานความมั่นคงบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย เพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมืองโดยเฉพาะช่องทางธรรมชาติตามลำน้ำโกลก ทั้งนี้ป้องกันมิให้มีการลักลอบเข้าประเทศซึ่งอาจทำให้การแพร่ระบาดโควิด ๑๙ รุนแรงมากขึ้น

          ๓.๒ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมเชิงมนุษยธรรมของหน่วยทหารใน กอ.รมน.ภาค ๔ สน. ที่ออกไปให้ความรู้ความเข้าใจการดูแลสุขอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด ๑๙ กิจกรรมการทำความสะอาดมัสยิด และชุมชน (big cleaning day) เป็นต้น

error: Content is protected !!