ข่าวใหม่อัพเดท » กทม. สั่งปิดร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร รถเข็น ตั้งแต่ 24.00 น. – 05.00 น. มีผลเที่ยงคืนนี้ พร้อมเยียวยาผู้ค้าตลาดนัดของกรุงเทพมหานคร ยืนยัน “กทม.” ยังไม่ล็อกดาวน์

กทม. สั่งปิดร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร รถเข็น ตั้งแต่ 24.00 น. – 05.00 น. มีผลเที่ยงคืนนี้ พร้อมเยียวยาผู้ค้าตลาดนัดของกรุงเทพมหานคร ยืนยัน “กทม.” ยังไม่ล็อกดาวน์

2 เมษายน 2020
0

กทม. สั่งปิดร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร รถเข็น ตั้งแต่ 24.00 น. – 05.00 น. มีผลเที่ยงคืนนี้ พร้อมเยียวยาผู้ค้าตลาดนัดของกรุงเทพมหานคร ยืนยัน “กทม.” ยังไม่ล็อกดาวน์

เมื่อวันที่ (1 เม.ย.63) เวลา 11.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “COVID-19” ณ ทำเนียบรัฐบาล ร้อยตำรวจเอก พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร ได้เปิดเผยว่า 3 มาตรการเพิ่มเติมของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ การให้บริการงานทะเบียน การเยียวยาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตลาดที่กรุงเทพมหานครดูแล และการเปิดและปิดสถานที่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สรุปสาระสำคัญดังนี้

ร้อยตำรวจเอก พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร กล่าวถึง กรุงเทพมหานครได้ขอเปิดให้บริการ 5 ประเภท คือ 1. การแจ้งเกิด หรือตาย 2. การตรวจ คัด รับรองสำเนาทะเบียนราษฎร 3. การตรวจ คัด รับรองสำเนาทะเบียนบัตร 4. การจดทะเบียนสมรส และ 5. การจดทะเบียนหย่า โดยให้บริการตามปกติในเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 16.00 น. และงดให้บริการวันหยุดราชการ ยกเว้นการแจ้งเกิดหรือตาย ทั้งนี้ สำนักงานเขตจะพิจารณาหากมีกรณีความจำเป็นเร่งด่วน กรณีบัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุนั้น กระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้สามารถใช้บัตรประชาชนเดิมที่หมดอายุได้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 63

โฆษก กทม. ยังกล่าวด้วยว่า ภายหลังการประกาศปิดสถานที่และการประกาศ พ.ร.ก. สถาน การณ์ฉุกเฉินนั้น ส่งผลให้มีผู้ได้รับผลกระทบจากการจ่ายค่าเช่าร้านค้าภายในตลาด ที่กรุง เทพมหานคร กำกับดูแล จึงได้มีการพิจารณายกเว้นค่าเช่าแผงค้า ผู้เช่าห้องสุขาและผู้เช่าพื้นที่จอดรถในตลาดที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรุงเทพมหานครทั้งหมด 10 แห่ง ได้แก่

  1. ตลาดนัดเมืองมีน
  2. ตลาดธนบุรี
  3. ตลาดเทวราช
  4. ตลาดประชานิเวศน์ 1
  5. ตลาดหนองจอก
  6. ตลาดบางกะปิ
  7. ตลาดพระวงเวียนเล็ก
  8. ตลาดรัชดาภิเษก
  9. ตลาดสิงหา
  10. ตลาดราชบูรณะ

ตั้งแต่เดือนมีนาคมไปจนกว่าจะกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ สำหรับตลาดนัดจตุจักรเป็นอีกหนึ่งในตลาดที่กรุงเทพมหานครมีสัญญาเช่าจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งกรุงเทพ มหานครจะทำในลักษณะเดียวกันคือการส่งหนังสือไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อขอให้ยกเว้นค่าเช่าให้แก่ผู้เช่าตั้งแต่เดือนมีนาคมไปถึงเดือนพฤศจิกายน เป็นระยะเวลา 6 เดือน คาดว่าจะได้รับความร่วมมืออย่างดีจากการรถไฟแห่งประเทศไทย

ประเด็นที่สาม การกำหนดเวลาเปิด – ปิดสถานที่ ซึ่งการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อของกรุงเทพมหานครวันนี้ ได้มีมติเห็นชอบประกาศฉบับที่ 5 เรื่องกำหนดเวลาเปิด – ปิดสถานที่ ใน 2 ลักษณะซึ่งได้แก่ร้านสะดวกซื้อหรือลักษณะเดียวกันกับร้านสะดวกซื้อ เช่น ซูเปอร์มา เก็ต ร้านโชว์ห่วย ทั้งในห้างสรรพสินค้าและนอกห้างสรรพสินค้า จะอนุญาตให้เปิดตั้งแต่เวลา 05.01 น. ถึง 24.00 น. สถานที่ลักษณะที่ 2 คือ ร้านอาหารและเครื่องดื่มที่อยู่ในคูหา รถเข็น และแผงลอย จะกำหนดเวลาเปิดบริการตั้งแต่ 05.01 น. ถึง 24.00 น. จุดประสงค์สำคัญ คือ การจำกัดเวลาเปิดเพื่อให้ร้านที่ทำการเปิดตลอด 24 ชม. มีช่วงเวลาทำความสะอาดฆ่าเชื้อภายในร้านอย่างเคร่งครัดและถูกสุขลักษณะอนามัย นอกจากนี้ ยังรวมถึงการปิดสวนสาธารณะ ซึ่งบางสวนสาธารณะกลายเป็นสถานที่มีคนมารวมกันทำกิจกรรมอย่างใกล้ชิด หรืออาจมีความแออัดในบางพื้นที่ กรุงเทพมหานครจึงมีความเห็นให้ทำการปิดให้บริการสวนสาธารณะทุกแห่ง ทั้งที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานครและที่เอกชนดูแล เช่น สวนสาธารณะชุมชน และสวนสาธารณะในหมู่บ้าน ซึ่งประกาศจะมีผลในวันพรุ่งนี้ (2 เม.ย. 63) จนถึง 30 เมษายน 2563

โฆษกกรุงเทพมหานคร กล่าวย้ำทุกมาตรการเพื่อลดการรวมตัวของประชาชน ทั้งนี้กรุงเทพ มหานครจะมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาให้กับทุกสถานที่ที่มีการปิดบริการ ทั้งนี้ จะได้มีการติดตามสถานการณ์และการประเมินข้อมูลทางการแพทย์ เพื่อพิจารณาให้กลับมาสามารถเปิดบริการได้อย่างเร็วที่สุด จึงขอความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนเข้าใจและให้ความร่วมมือกับรัฐบาล


ขอบคุณข้อมูล : กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก

error: Content is protected !!