๑.สถานการณ์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับ จชต.
๑.๑ สถานการณ์ภายในประเทศ
๑.๑.๑ สถานการณ์ข่าวเชิงลบ : ภาพข่าวเชิงลบในสัปดาห์นี้ เกิดขึ้นจาก ประเด็นการยกระดับคุณภาพชีวิต (จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด ๑๙ ใน จชต. ที่เพิ่มมากขึ้น)
๑.๑.๒ สถานการณ์ข่าวเชิงบวก : ภาพข่าวเชิงบวกในสัปดาห์นี้ เกิดขึ้นจาก
- ประเด็นการช่วยเหลือประชาชน (มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโควิท ๑๙ และ ทุกภาคส่วนร่วมมือกันในการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโควิท ๑๙),
- ประเด็นสิทธิมนุษยชน (COVID-19 : ชายแดนใต้ องค์กรสิทธิฯ ขอกองกำลังติดอาวุธทุกฝ่ายหยุดยิง-ยุติปิดล้อม ตรวจค้น),
- ประเด็นการ รปภ.ชีวิต/ทรัพย์สิน (จับ’สุกรี’มือวางระเบิดป่วนกรุง เค้นสอบเอี่ยวบึ้ม อส.สะบ้าย้อย)
- ประเด็นเศรษฐกิจ และการสร้างรายได้ (ศิริโชค เผย มาเลเซีย ตอบรับ เปิดด่านปาดังฯ 6 เม.ย. ให้ขนน้ำยางได้)
๑.๒ สถานการณ์ข่าวจากสื่อมวลชนต่างประเทศ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-๑๙ เป็นประเด็นหลักที่สื่อทั่วโลกให้ความสำคัญ รวมทั้งประเด็นเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รายงานโดยสื่อต่างประเทศก็ยังเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-๑๙ โดยที่สื่อที่รายงานเกี่ยวกับ จชต. คือ สื่อมาเลเซียเป็นหลัก รายงานเกี่ยวกับผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย เช่น ปาดังเบซาร์เมืองชายแดนบรรยากาศเงียบกริบร้านค้าปิดเกือบทั้งเมือง หน่วยงานรัฐบาลทั้งสองประเทศอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเดินทางกลับประเทศ และ ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี หรือบีอาร์เอ็น ประกาศหยุดปฏิบัติการในพื้นที่ จชต. เปิดทางให้ทุกหน่วยงานเดินทางเข้าพื้นที่ดูแลสุขภาพประชาชนแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-๑๙
๒.ข้อพิจารณา: จากสถานการณ์ข่าวในข้อ ๑
พบว่า ภาพข่าวหลักที่ได้อยู่ในความสนใจของสื่อมวลชนทั้งภายใน และภายนอกประเทศ และกลบความสนใจภาพข่าวในประเด็นอื่น ยังคงเป็นสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิท-๑๙ ดังนั้นการปฏิบัติการข่าวสารจึงจำเป็นจะต้องต้องเน้นในเรื่องนี้เป็นหลัก
๓. ข้อเสนอ : สถานการณ์ในข้อ ๒
การแพร่ระบาดของโควิท-๑๙ การประชาสัมพันธ์ในห้วงสัปดาห์นี้ยังควรให้น้ำหนักกับภารกิจสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางด้านสาธารณสุขตามมาตรการป้องกัน และ ควบคุมโรคระบาดโควิด-๑๙ และ ภารกิจทางด้านมนุษยธรรม ให้ความช่วยเหลืออาหาร ยารักษาโรค แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
๓.๑ เผยแพร่ข่าวสารการปฏิบัติภารกิจสนับสนุนการป้องกัน และ ควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ผ่านสื่อมวลชน
๓.๒ เผยแพร่ข่าวสารการปฏิบัติภารกิจ ในข้อ ๑) ผ่านสื่อส่วนบุคคล เพื่อขยายผลการเข้าถึงประชาชนในวงกว้าง เช่น ผ่านสื่อส่วนบุคคลของผู้มีอิทธิพลทางสังคม และสื่อมวลชนที่มีทัศนคติที่ดีต่อกองทัพ เช่น วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวสายความมั่นคงหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์
๓.๓ ขยายผลการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อมวลชนไทย ที่รายงานข่าวให้กับสื่อมาเลเซีย เช่น นายตูแวดนิยา มือริงงิง ผู้สื่อข่าวให้สถานีโทรทัศน์ช่อง ๓ ประเทศมาเลเซีย ด้วยการเชิญไปทำข่าวการปฏิบัติการตรวจลำน้ำโกลก ทั้งนี้เพิ่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงานความมั่นคงใน กอ.รมน.ภาค ๔ สน. ในกลุ่มชาวมาเลเซีย