เผาทำลายของกลางผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแพร่ระบาด ของโควิด-19 มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท
ที่ อย.และ บก.ปคบ.ร่วมกันกวาดล้างจับกุมในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 และคดีถึงที่สุดแล้ว เช่น แอลกอฮอล์เจล นำ้ยาฆ่าเชื้อโรค หน้ากากอนามัย ถุงมือ เทอร์โมมิเตอร์ และชุดตรวจโควิดเบื้องต้น รวมมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ณ บริษัท อัคคีปราการ จากัด (มหาชน) นิคมอุตสาหกรรมบางปู จ. สมุทรปราการ
วันที่ 2 ก.ย.63 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสารณสุข โดยนายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) โดยพล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก.ปคบ. และ พ.ต.อ.ชนันนัทธ์ สารถวัลย์แพศย์ ผกก.4 บก.ปคบ. ร่วมกันเผาทำลายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ทั้ง 2 หน่วยงานได้ปฏิบัติการกวาดล้างในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา
นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทั่วโลก ทำให้ประชาชนมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพจำพวก แอลกอฮอล์เจล น้ำยาฆ่าเชื้อโรค หน้ากากอนามัย เทอร์โม มิเตอร์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นจำนวนมาก
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลผลิต ภัณฑ์สุขภาพได้ ตรวจสอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในท้องตลาด พบว่า มีผู้ประกอบการบางส่วนได้ฉวยโอกาสกระทำการ ฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น การลักลอบผลิตหรือนำเข้าแอลกอฮอล์เจล ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค หน้ากากอนามัย ถุงมือทาง การแพทย์ ชุดตรวจโควิดเบื้องต้น เครื่องวัดอุณหภูมิ ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน โดยเฉพาะการใช้เมทานอลในการผลิตแอลกอฮอล์เจล หรือถุงมือทางการแพทย์ที่ใช้แล้ว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพดังกล่าวโดยไม่ได้ รับอนุญาต หรือแสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง
อย. จึงได้ร่วมกับ บก.ปคบ. ปฏิบัติการเชิงรุกปราบปรามผู้กระทำความผิดอย่างเข้มงวด เพื่อมิให้มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภควางจำหน่ายในท้องตลาด ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในช่วงที่ผ่านมา โดยหลังจากการสืบสวน สอบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดสามารถยึดผลิต ภัณฑ์สุขภาพผิด กฎหมายของกลางที่มีคำพิพากษาคดีสิ้นสุดแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน 2563 รวม 24 คดี มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท ซึ่งเป็นของกลางที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้
พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ฯ กล่าวว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้ประ กอบการบางราย ฉวยโอกาสนำผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. มาจำหน่ายให้กับผู้บริโภคตามช่องทางต่าง ๆ ทั้งตลาดนัด สื่อออนไลน์ ร้านค้าออนไลน์ รวมทั้งการลักลอบใช้เมทานอลเพื่อนำไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์เจลทดแทนในช่วงที่แอลกอฮอล์ขาดตลาด
ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจทำให้เกิดอันตรายแก่พี่น้องประชาชนได้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ให้ความสาคัญกับเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก จึงมอบหมายให้ บก.ปคบ. ประสานการทำ งานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ อย. เพื่อเข้าตรวจสอบ จับกุม และดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำความผิด อย่างเข้มงวด และเน้นย้ำให้จับกุมผู้กระทำความผิดให้ครอบ คลุมทุกพื้นที่ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับผลิตภัณฑ์ สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเพียงพอต่อความต้องการในช่วงการแพร่ระบาดนี้
ซึ่งจากผลการปฏิบัติที่ผ่านมาสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดพร้อมตรวจยึดของกลางได้จำนวนมาก และขอฝากเตือนไปยังผู้ประกอบการที่ยังลักลอบกระทำความผิด ไม่ว่าจะเป็น การผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ให้หยุดการกระทำดังกล่าว หากตรวจพบจะดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างถึงที่สุด
เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวในตอนท้ายว่า แม้ว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างต่อเนื่อง ขอให้ประชาชนรักษาวินัยใน การป้องกันตนเอง ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือหากไม่สะดวกให้ใช้แอลกอฮอล์เจลที่มีความ เข้มข้น 70% โดยปริมาตรทำ ความสะอาดมือ เช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีการสัมผัสบ่อย ก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ แอลกอฮอล์เจล หรือผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ขอให้ตรวจสอบการอนุญาตได้ที่ Oryor Smart Application หรือ เว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หัวข้อ “ตรวจสอบผลิตภัณฑ์” กรณีซื้อเครื่องมือแพทย์ เช่น หน้ากากอนามัย เทอร์โมมิเตอร์ จากผู้ขายในประเทศให้ขอดูใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ หรือหนังสือ รับรองประกอบการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ เพื่อให้มั่นใจว่า ผลิตภัณฑเหล่านั้นได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง
หากพบการ ลักลอบผลิต นำเข้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาที่สายด่วน อย. 1556 หรือที่ อีเมล์ :1556@fda.moph.go.th หรือที่สานักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดรวมทั้งสามารถร้องเรียนผ่านOryor Smart Application หรือเดินทางมาร้องเรียนด้วยตนเองที่ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิด กฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.) ได้ทุกวันในเวลาราชการ หรือสายด่วน 1135 กองบังคับการปราบปรามการ กระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน