ม.วลัยลักษณ์แถลงเร่งขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นนานานาชาติ ยกระดับความเป็นสากล พร้อมเปิดตัวคณบดีวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ คณบดีวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี และคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จัดงานแถลงข่าวการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นนานานาชาติยกระดับความเป็นสากลพร้อมเปิดตัวคณบดีวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ คณบดีวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี และคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ อย่างเป็นทางการ หลังจากสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้บริหารทั้ง 3 ท่าน ดำรงตำแหน่งคณบดีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีเป็นประธานในการแถลงข่าว มีผู้บริหารของมหาวิทยาลัยและสื่อมวลชนเข้าร่วมประมาณ 50 คน ณ ห้องประชุม 4 อาคารปฏิบัติเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม
ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีม.วลัยลักษณ์ กล่าวว่า หลังจากสภามหา วิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้บริหาร 3 ท่าน ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีประกอบด้วย
- ศาสตราจารย์ ดร.ทพ.สิทธิชัย ขุนทองแก้ว ดำรงตำแหน่งคณบดีวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานาชาติศาสตราจารย์คลินิก
- ดร.น.สพ.สุวิชัย โรจนเสถียร ดำรงตำแหน่งคณบดีวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี
- อาจารย์ ดร.จิตติมา ศังขมณี ดำรงตำแหน่งคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ
จึงถือโอกาสจัดงานแสดงความยินดีและเปิดตัวคณบดีทั้ง 3 ท่าน อย่างเป็นทางการ พร้อมแถลงข่าวพัฒนาการความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนความเป็นนานานาชาติของมหาวิทยาลัย
โดยในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีพัฒนาการและเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีการเปิดการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโล ยี และด้านมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ ขณะนี้มหาวิทยาลัยกำลังเร่งขับเคลื่อนนโยบายความเป็นนานาชาติ โดยเรื่องสำคัญที่สุดคือการปฎิรูปการเรียนการสอนที่มีมาตรฐาน มีอาจารย์ได้รับการรับรองมาตรฐานวิชาชีพการสอนที่มีคุณภาพของประเทศอังกฤษ หรือ The UK Professional Standards Framework (UKPSF) จำนวน 210 คน มากที่สุดในประเทศ ไทย และคาดว่าภายในปี 2564 จะมีอาจารย์ที่ได้รับการรับรองมากถึง 400 คน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้ปรับปรุงห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนอัจฉริยะSmart Classroom จำนวน 71 ห้องห้องปฎิบัติการ ห้องทดลองเป็น Digital Lab รวมทั้งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางกายภาพด้านอื่นๆให้น่าอยู่สำหรับนักศึกษาอีกด้วย
“ในปี 2020 ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในด้านนวัตกรรม อยู่ในอันดับที่ 6 ของประเทศ อันดับ 246 ของเอเชีย และอันดับที่ 472 ของโลก ผลงานวิจัยด้าน Physical Science อยู่อันดับที่ 3 ของประเทศไทย อันดับ 8 ของอาเซียน จัดโดยNature index อีกด้วย ที่สำคัญขณะนี้มหาวิทยาลัยยังมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus กว่า 810 ชิ้นงานแสดงให้เห็นถึงคุณภาพของอาจารย์ผู้สอน และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทั้งนี้ปัจจุบันเรามีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนกับเรา และในปลายปีนี้จะรับนักศึกษาจากประเทศจีนเข้ามาศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติมากขึ้น และในอนาคตมีแผนให้แต่ละหลัก สูตรสามารถรับอาจารย์ชาวต่างชาติเข้ามาสอนในสัดส่วนการเรียนเป็นภาษาอังกฤษ 50% เมื่อรวมกับอาจารย์ชาวต่างชาติของทั้ง 3 วิทยาลัยนานาชาติ และสำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป จะทำให้มีสัดส่วนของนักศึกษาและอาจารย์ชาวต่างชาติมากขึ้น” ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าว
ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.ทพ.สิทธิชัย ขุนทองแก้ว กล่าวว่าวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานา ชาติเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย เปิดรับนักศึกษาทันตแพทย ศาสตร์ ระดับปริญญาตรี หลักสูตรทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ เปิดรับนักศึกษามาแล้วจำนวน 2 รุ่น โดยการเรียนของนักศึกษาทันตแพทย์ระดับปริญญาตรี จะเรียน ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่จะมาเรียนต่อวิชาทางทันตแพทยศาสตร์อีก 4 ปี ที่วิทยาลัยฯ ในกรุงเทพมหานครและนักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรทันตกรรมจัดฟันและศัลยศาสตร์ช่องปาก (นานาชาติ) ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 มีการเรียนสอนเป็นภาษาอังกฤษและมีการให้ทุนนักศึกษาทุกคนได้มีประสบการณ์การเรียนการสอนในต่างประเทศ ซึ่งการเรียนการสอนของวิทยาลัยฯเป็นการเรียนการสอนเชิงรุก (active learning) การเรียนการสอนทางคลินิกและการรักษาทางทันตกรรมเป็นแบบ digital dentistry ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย และอาจารย์ที่มีคุณวุฒิเฉพาะทาง ซึ่งในปัจจุบันวิทยาลัยฯมีอาจารย์ที่มีคุณวุฒิทางทันตกรรมสาขาต่างๆ จำนวน 20 ท่าน ในจำนวนนี้มีศาสตราจารย์ขั้นสูงระดับ 11 2 ท่าน ศาสตราจารย์จำนวน 5 ท่าน และมีอาจารย์ชาวต่างชาติ 4 ท่าน จึงทำให้มั่นใจในคุณภาพการเรียนการสอนทุกหลักสูตรของวิทยาลัยฯว่ามีคณาจารย์ที่มีคุณภาพ เครื่องมือทันสมัย จึงมั่นใจว่าเราจะผลิตนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการทางทันตแพทยศาสตร์ที่ได้มาตรฐานตามวิชาชีพและมีความทันสมัยเป็นสากลพร้อมทั้งมีทักษะในศตวรรษที่21 ซึ่งจะทำให้มีความพร้อมในการประกอบวิชาชีพได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
ด้าน ศาสตราจารย์คลินิก ดร.น.สพ.สุวิชัย โรจนเสถียร กล่าวว่า หลักสูตรสัตวแพทย ศาสตร์นานาชาติเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทยทีมีจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ มุ่งผลิตบัณฑิตให้ทำงานได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการเรียนการสอนใช้ระบบมาตรฐาน UKPSF ของประเทศอังกฤษ คณาจารย์มีทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยที่มีความเชี่ยวชาญ เน้นการเรียนรู้และปฏิบัติในสถานที่จริง พร้อมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถเรียนในบรรยากาศแบบนานาชาติ ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษทั้งในและนอกห้องเรียน ปัจจุบันวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี ได้มีการจัดการเรียนการสอน มาแล้วจำนวน 3 ชั้นปี และมีแผนการรับนักศึกษาต่างชาติและคนไทยรวมกันทั้งสิ้น 40 คน ในปี 2564 นี้
“ปัจจุบันเรามีโรงพยาบาลสัตว์เล็กเปิดให้บริการแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ส่วนโรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่าจะเริ่มให้บริการในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งประกอบด้วย อาคารอายุรกรรมและศัลยกรรมม้าและสัตว์เคี้ยงเอื้อง การชันสูตรโรค โรงเรือนสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดใหญ่ โรงเรือนสุกรและสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก โรงเรือนม้าและสนามหญ้าสำหรับม้า เพื่อให้บริการดูแลสุขภาพปศุสัตว์ ช้างและสัตว์ป่านอกจากนี้ยังมีศูนย์วิจัยและช่วยชีวิตสัตว์น้ำทะเล ที่จะช่วยเหลือสัตว์ทะเลเกยตื้น และศูนย์วินิจฉัยโรคสัตว์ ที่ช่วยในการชันสูตรโรคสัตว์และวินิจฉัยโรคอีกด้วย”ศาสตราจารย์คลินิก ดร.น.สพ.สุวิชัย กล่าว
อาจารย์ ดร.จิตติมา ศังขมณี กล่าวว่า วิทยาลัยนานาชาติเริ่มเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีเมื่อปีการศึกษา 2561ใน 3 หลักสูตร ได้แก่ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมนวัตกรรมดิจิทัล,บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการวิเคราะห์โลจิสติกส์และการจัดการซับพลายเชน และนิติศาสตรบัณฑิตปัจจุบันมีนักศึกษาและคณาจารย์ชาวไทยและชาวต่างชาติรวมเกือบ 20 ประเทศ มีการจัดทําความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ในต่างประเทศ อาทิเช่น Coventry University, London,Middlesex University London, University of Essex ประเทศอังกฤษ College of Professional andContinuing Education (CPCE) , Hong Kong PolyUประเทศจีน, International Institute of AppliedInformatics, Japan, Macquarie Education Group, Australia ล่าสุดได้ลงนามความร่วมมือกับ BeijingNational Center for Open & Distance Education Co., Ltd และ An Shun No.3 Senior HighSchoolประเทศจีน เพื่อการรับสมัครนักศึกษาชาวจีนมาเรียนจะช่วยขับเคลื่อนความเป็นสากลให้กับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
“วิทยาลัยฯได้สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในประเทศอังกฤษ ทำให้นักศึกษามีโอกาสศึกษาต่างประเทศเพื่อรับปริญญาใบที่ 2 จากสถาบันความร่วมมือ รวมทั้งประเทศอื่นๆที่ทำให้นักศึกษามีโอกาสไปเรียนระยะสั้นในต่างประเทศและสร้างโอกาสให้นักศึกษาไทยได้รับประสบการณ์นานาชาติมีบรรยากาศความเป็นนานาชาติที่แท้จริง มีผู้เรียนและผู้สอนจากหลากหลายวัฒนธรรมทำให้นักศึกษาซึมซับความเป็นนานาชาติ นอกเหนือจากการเพิ่มทักษะการสื่อสารทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษแล้ว ยังได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนวัฒนธรรมที่หลากหลายทำให้มีความพร้อมในการทำงานในองค์กรระดับนานาชาติได้ในอนาคต” อาจารย์ ดร.จิตติมา กล่าว
- สำหรับประวัติของศาสตราจารย์ ดร.ทพ.สิทธิชัย ขุนทองแก้ว คณบดีวิทยาลัยทันตแพทย ศาสตร์นานาชาติ ถือเป็นคณบดีทางด้านทันตแพทยศาสตร์นานาชาติคนแรกของประเทศ ไทย เป็นศาสตราจารย์ระดับ 11 Principal Fellow of the HEA คนแรกของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และคนที่ 2 ของประเทศไทย, เป็นกรรมการกองทุนอานันทมหิดลแผนกทันตแพทยศาสตร์, ในอดีตเคยได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่ง President of International Association for Dental Research (Southeast Asian Division), และเคยเป็นคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ในด้านบริหารยังเป็นกรรมการทุนอานันทมหิดลแผนกทันตแพทยศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537- ปัจจุบัน นอกจากนี้ได้รับการเสนอเป็นกีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิดชูในด้านการเรียนการสอน และปัจจุบันได้รับ
- ประวัติ ศาสตราจารย์คลินิก ดร.น.สพ.สุวิชัย โรจนเสถียร คณบดีวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี สำเร็จการศึกษาระดับ Ph.D. จาก Swedish University of Agricultural Science รางวัลพระราชทานผู้ทำคุณประโยชน์เลี้ยงโคนมและอุตสาหกรรมนม และเคยดำรงตำแหน่ง นายกสัตวแพทยสภาในปีพ.ศ. 2555-2558เป็นสัตวแพทย์ตัวอย่างสมาคมนิสิตเก่าคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ม.เกษตรศาสตร์ เป็นอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาอธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และมีผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศกว่า 44 เรื่อง และมีประสบการณ์การสอนทางด้านสัตวศาสตร์กว่า 25 ปี
- ประวัติอาจารย์ ดร.จิตติมา ศังขมณีคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ Ph.D.(Computer Science) University College London, University of London,United KingdomM.S.(Applied Statistics) National Institute of Development Administration, ThailandB.Sc. (Mathematics) Prince of Songkla University, Thailand
ธีรศักดิ์ อักษรกูล นครศรีธรรมราช