ข่าวใหม่อัพเดท » จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติฯ ณ จังหวัดตาก

จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติฯ ณ จังหวัดตาก

16 พฤศจิกายน 2020
0

จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติฯ ณ จังหวัดตาก

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้รับมอบหมายจากศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราช ทาน (ศอญ.) โดยคณะกรรมการจิตอาสาเฉพาะกิจ กลุ่มงานโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระ เกียรติ ให้ดำเนินกิจกรรม “การนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวา เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน” ภายใต้โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ด้วยนวัตกรรม “เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก” ในการผลิตปุ๋ยหมักและดินปลูกต้นไม้จากวัชพืชและผักตบชวา และ (ศอญ.) เห็นว่านวัตกรรม “เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก” สามารถนำไปขยายผลในกลุ่มเกษตรกรอื่นๆ เช่น เกษตรกรเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว (ข้าวโพดและอ้อย) เพื่อช่วยลดปัญหาหมอกควันจากการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัชพืช โดยการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัชพืชมาแปรรูปการทำปุ๋ยหมักและดินปลูก

(วช.) ร่วมกับ (ศอญ.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และจังหวัดตาก จัดกิจกรรม “การนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กจากการเผา” ภายใต้โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิม พระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 โดย พลตรี สุปัญญา วิไลรัตน์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 310 ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานมณฑลทหารบกที่ 310 เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก กล่าวต้อนรับ และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวความเป็นมาของกิจกรรม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 150 คน โดย ดร. ลักขณา เบ็ญวรรณ์ จาก (มก.) และทีมวิจัยร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้พร้อมวิธีการทำปุ๋ยหมักให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ

(วช.) จัดกิจกรรมนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนมีรายได้เสริมจากการผลิตและจำหน่ายปุ๋ยหมัก อาหารสัตว์ และดินปลูกต้นไม้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัชพืช และช่วยลดปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากการเผา รวมทั้งเกิดเป็นต้นแบบในการจัดการกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัชพืชอย่างถูกวิธี เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน และเกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการดำเนินกิจกรรมอย่างยั่งยืน


สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน

error: Content is protected !!