นครพนม – ยุค covid-19 เศรษฐกิจฝืดเคืองประชาชนหาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ พุทธ ศาสนิกชนจากทั่วสารทิศในจังหวัดนครพนม และจังหวัดข้างเคียงได้เดินทางมาทำบุญต่อชะตาเสริมบารมี เพิ่มความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตในช่วงสถานการณ์โควิด 2019
วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2564 ที่ศาลาการเปรียญวัดจอมแจ้ง บ้านคำพอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม พุทธศาสนิกชนจากทั่วสารทิศในจังหวัดนครพนม และจังหวัดข้างเคียงได้เดินทางมาทำบุญต่อชะตาเสริมบารมี เพิ่มความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตในช่วงสถานการณ์โควิด 2019 แบบ new normal ใส่หน้ากากผ้า นั่งเว้นระยะ ตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
โดยมีพระอธิการธนภัทรธิราช ชาคโร หรือ พระอาจารย์ชาญ เจ้าอาวาสวัดจอมแจ้งเป็นผู้ประกอบพิธี ในการประกอบพิธีให้ใส่ปัจจัยให้เกินอายุของผู้เข้าร่วมพิธี เงินปัจจัยต่างๆก็จะนำไปสมทบทุนในการสร้าง เจดีย์พระบรมพรหมณีศรีรัตนสังฆราชานุสรณ์นครพนม (เจดีย์พรหมสี่หน้า)เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธศาสนิกชน พระอธิการธนภัทรธิราช จัดสร้างเจดีย์พระธาตุพรหมสี่หน้าขึ้น ไว้ให้ประชาชนกราบไหวชาวบ้านคำพอกและหมู่บ้านใกล้เคียงร่วมกันพัฒนาวัดด้านเสนาสนะต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ.2551 เป็นต้นมา จึงมีผู้ศรัทธาแห่เข้าทำบุญเป็นจำนวนมากไม่ขาดสาย โดยเฉพาะวันหยุดเสาร์-อาทิตย์เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธศาสนิกชน พระอธิการธนภัทรธิราช จัดสร้างเจดีย์พระธาตุพรหมสี่หน้าขึ้น ไว้ให้ประชาชนกราบไหว้
กระทั่งวันที่ 13 เม.ย.2555 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวัฑฒโน) ประทานนามพระเจดีย์แห่งนี้ใหม่ว่า เจดีย์พระบรมพรหมณีศรีรัตนสังฆราชานุสรณ์นครพนม (เจดีย์พรหมสี่หน้า)การก่อสร้างได้รวบรวมแนวคิดมาจากประไตรปิฎก ตำราพรหมชาติ ตำราเทพเจ้าลุ่มแม่น้ำโขง และตำรามรดกอีสาน เจดีย์แบ่งออกเป็น 5 ชั้น แต่ละชั้นมีความหมายทางพระพุทธศาสนา มีฐานรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 10 เมตร โดยเฉพาะชั้นที่ 2 มีลักษณะคล้ายซุ้มศรีโคตรบูรณ์ และมีรูปพระราหูอมจันทร์อยู่ที่ซุ้มทุกด้าน ชั้นบนสุดคือชั้น 5 มีรูปพระพรหมซึ่งมี 4 หน้า ความหมายคือพระพรหมสี่หน้า โดยทางวัดยังต้องการปัจจัยในการก่อสร้างและเก็บรายละเอียดองค์พระธาตุเจดีย์จดีย์พระบรมพรหมณีศรีรัตนสังฆราชานุสรณ์นครพนม (เจดีย์พรหมสี่หน้า)
ภาพ/ข่าว เอ็ดดี้ หนุ่มกวี เทพนม รายงาน