ข่าวใหม่อัพเดท » “Big Rock” การปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจชุมชน ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านเศรษฐกิจ ฐานราก

“Big Rock” การปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจชุมชน ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านเศรษฐกิจ ฐานราก

2 กุมภาพันธ์ 2021
0

ในขณะที่การเมืองกำลังร้อนการเรียกร้องแก้ไขรัฐธรรมนูญการปฏิรูปประเทศ ในปัจจุบันอยากให้ย้อนถึงมุมมองสำหรับข้อเสนอแนะ และเร่งรัด “หมอพลเดช” การอภิปราย “Big Rock” การปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจชุมชน ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านเศรษฐกิจ ฐานราก
“หมอพลเดช” เน้นย้ำเร่งช่วยพัฒนาได้กล่าวบนเวทีรัฐสภา การขับเคลื่อนในปี 2562 ไว้โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ยุทธศาสตร์ชาติด้านเศรษฐกิจฐานราก และแผนปฏิรูปประเทศด้านการเมือง วุฒิสภาภายรัฐสภาเกียกกาย นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป (สมาชิกวุฒิสภา) เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนและเติมเต็มมุมมอง สำหรับข้อเสนอแนะและเร่งรัดการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติอภิปรายผลงานการขับเคลื่อนของรัฐบาลปี 2562 โดยจะแบ่งเป็น 2 เรื่องใหญ่ๆ เป็นก้อนหิน-สองก้อน”หลักใหญ่

  • เรื่องแรก คือยุทธศาสตร์ชาติด้านเศรษฐกิจฐานราก
  • เรื่องที่ 2 เป็นเรื่องของแผนปฏิรูปประเทศด้านการเมือง

1.เรื่องแรกยุทธศาสตร์ชาติด้านเศรษฐกิจฐานรากวันนี้คงเป็นที่ยอมรับสถานการณ์โดยทั่วไปแล้ว ว่าสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคมในประเทศของเรารุนแรงที่สุดกว่าที่เคยมีมา ในอดีตหลายคนพากันวิตกกังวลว่าไม่รู้จะจบเมื่อไหร่เศรษฐกิจจะฟื้นฟู่ได้หรือไม่ ทำเอาวงการต่างๆเกิดความหดหู่กันโดยถ้วนหน้า “IMF ได้ประเมินเอาไว้เมื่อต้นเดือนเมษายน 2563 ว่าเศรษฐกิจโลกจะติดลบ 3% ขณะที่ประเทศไทยจะติดลบ 60% ล่าสุดสภาพัฒน์ได้ประเมินไว้เมื่อวันที่ 18 เดือนที่แล้ว เดือนพฤษภาคม ประเทศไทยจะติดลบ 5-6 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างไรก็ตามการที่เศรษฐกิจจะโตแบบติดลบแบบในปีนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าในปีต่อๆไปจะติดลบต่อเนื่องต่อไปอย่างนี้จนไม่มีที่สิ้นสุด ในอดีตในช่วงต้มยำกุ้งปี 2541 ประเทศไทยเศรษฐกิจติดลบ 7.6 แต่ในปีถัดมา 2542 กลับมาเป็นบวกที่ 4.6 ในช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2552 เศรษฐกิจไทยติดลบ 0.7% ครับแต่ปีถัดมาในปี 2553 ดีดกลับขึ้นมาเป็นบวก 7.5 เปอร์เซ็นต์ อันที่จริงในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยของเราได้เผชิญวิกฤตทางเศรษฐกิจมาไม่ต่ำกว่า 4. ครั้ง แต่สิ่งที่ทำให้เราอยู่รอดมาได้คือการที่ประเทศของเรามีพื้นฐานเป็นประเทศเกษตรกรรมเป็นประเทศผู้ผลิตอาหาร แม้ในวิกฤตโควิด-19 ในจีนครั้งนี้ก็ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงคุณค่าของการเป็นประเทศเกษตรกรรมยืนยันถึงความถูกต้องของการวางยุทธศาสตร์ชาติในการผลิตอาหารป้อนประชาคมโลก แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะพึ่งพาการผลิตอาหารเพียงอย่างเดียวการเติบโตในทุกๆด้านในทุกหน่วยเศรษฐกิจอย่างเหมาะสม ได้อย่างสมดุลยังเป็นแนวทางที่ต้องยึดถือ และไม่ว่าจะใช้คำพูดแบบไหนมาพรรณนา โดยเนื้อหาแล้วก็ล้วนอยู่ในแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งสิ้น ในวันนี้สิ่งที่กลุ่มยุทธศาสตร์ภาคอุตสาหกรรม ต้องทบทวนไม่ใช่เรื่องทิศทางหรือสถานีปลายทางที่เราจะไปใน 20 ปีข้างหน้า จะเป็นการทบทวนเป้าหมายเดิมในสถานการณ์ใหม่รวม ทั้งการผลักดันอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นยิ่งยวดเพื่อป้องกันการขาดแคลนและเป็นการพึ่งตนเองให้ได้อย่างเช่นอุตสาหกรรมยา วัคซีน อาหาร เครื่องมือแพทย์ เครื่อง สำอาง เครื่องนุ่งห่ม พลังงานบรรจุภัณฑ์ และแม้แต่เรื่องยุทธภัณฑ์ ยุทธปัจจัย ในขณะเดียวกันต้องเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจฐานราก” กันอย่างเต็มลูกสูบ”

ซึ่งขณะนี้ก็ดูเหมือนว่าโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนกับเงินกู้ 4 แสนล้าน.. โอกาสที่มาวางแบอยู่ข้างหน้าแล้ว เป็นหินก้อนใหญ่ที่โคจรเข้ามาโดยที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนแต่อย่างไรก็ตามในสถานการณ์จริงเพียง. 16 วันเปิดรับข้อเสนอ ข้อมูลจากสภาพัฒน์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563 หน่วยราชการต่างๆเสนอโครงการเข้ามาอย่างรวดเร็วจำนวน 33,798 โครงการเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 804,000 ก่าวพันล้านบาทเกินวงเงินกู้ที่เตรียมไว้แล้ว กว่าเท่าตัวนั้น ในจำนวนนี้ที่มากที่สุดเป็นโครงการเศรษฐกิจสามารถใช้ชื่อยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจฐานราก 4 แสนหกหมื่นห้าพันล้าน มี 3,000 ก่าวโครงการ เฉลี่ยเป็นโครงการละเล็กละน้อย มีตั้งแต่ระดับหมื่นกระทั่งถึงระดับหลายๆล้านๆโดยเฉลี่ยแล้วเป็นโครงการละประมาณ 13 ล้านบาท.มีจำนวนมากที่สุด

2. อีกส่วนนึงที่รองลงมาเป็นโครงการที่สร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจในอนาคต 284.000 ล้าน. มี 164 โครงการเฉลี่ยโครงการใหญ่มากมี 1.760 ล้าน. อีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่ 3 เป็นด้านโครงการความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 91.000 ล้าน. มี .300 โครงการเฉลี่ย 300 บาทต่อโครงการ โดยโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เป็นโครงการเก่าที่เคยของบประมาณปกติแต่ไม่ได้หรือไม่ก็เป็นโครงการที่เจ้าหน้าที่ช่วยกันคิดไม่มีเวลาไปทำเวทีประชาคมกับชาวบ้านหรือกับใครๆที่ไหนเลย. เมื่อเรื่องมาถึงขั้นนี้แล้วเลย ข้อมีเสนอต่อวุฒิสภาผ่านไปยังรัฐบาลและมีข้อเสนอต่อเครือข่ายภาคประชาสังคมโดยตรงทั่วประเทศ ไว้ 3 ประการดังนี้

  1. รายการที่ 1 รัฐบาลควรตั้งหลักใหม่กำหนดประเภทของโครงการและกรอบวงเงินให้ชัดเจน เพื่อจะใช้ในการวิเคราะห์และก็กลั่นกรอง
  2. เมื่อรู้สถานการณ์ด้านปริมาณของโครงการที่เข้ามาอย่างนี้รู้ประเภทของโครงการอย่างนี้แล้ว. รัฐบาลควรกลับมาตั้งกรอบวงเงินให้มีความชัดเจนว่าจะให้น้ำหนักมากน้อยไปในด้านใดก็ดูให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของปัญหาดูให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ในระยะยาวด้วย
  3. โครงการใดที่มีลักษณะเป็นงานปกติของส่วนราชการที่แปลงรูปมา โครงการใดเป็นการโครงการก่อสร้าง จัดซื้อจัดจ้างเอกชนและใช้เงินปริมาณมากๆ. หรือโครงการที่ลอกแบบกันมาจำนวนมากๆเป็นโครงการที่น่ากังขาทั้งหลาย เหล่านี้ควรตัดออก (execution ) ให้นำกลับไปตั้งงบประมาณใหม่ขอในงบในปี 2564 -2565 ต่อไป.เท่านี้ก็จะหายไปเกินครึ่ง

นี่ก็เป็นการอภิปรายตั้งแต่ ปีพ.ศ 2562 กับหมอพลเดช ปิ่นประทีป (สว.) ที่อภิปรายไว้ตรงประเด็น กับยุทธศาสตร์ชาติที่จะเข้าสู่กับการเปลี่ยนแปลงโลกปัจจุบันได้อย่างน่าฟังและติดตาม ข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่…”มูลนิธิสถาบันพัฒนาประชาสังคม. (CSDI) ที่มูลนิธิเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำความยากจนยุทธศาสตร์ชาติ เศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจชุมชน ที่หมอพลเดช..”..ดูแลงานด้านนี้โดยตรง..


error: Content is protected !!