ข่าวใหม่อัพเดท » “ชินวรณ์” ปธ.วิป ห่วง กม.ประชามติ หากมีความคิดต่าง เหมือน สุมฟืนเข้าไปในกองไฟเพิ่ม

“ชินวรณ์” ปธ.วิป ห่วง กม.ประชามติ หากมีความคิดต่าง เหมือน สุมฟืนเข้าไปในกองไฟเพิ่ม

6 เมษายน 2021
0

“ชินวรณ์” ปธ.วิปห่วง กม.ประชามติ หากมีความคิดต่าง เหมือน สุมฟืนเข้าไปในกองไฟเพิ่ม

วันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2564 ที่บ้านพักจังหวัดนครศรีธรรมราช นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ สส.ปชป.นครศรีธรรมราช ในฐานะประธานวิปพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงประเด็นการขอแก้ไข รธน.เป็นรายมาตราว่า เท่าที่ทราบ พรรคร่วม รบ.มีความคิดเห็นแตกต่างกัน โดยเฉพาะในส่วนของ พปชร.ที่ได้เสนอ 5 ประเด็น 13 มาตรา ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่ระบบการเลือกตั้ง บัตร 2 ใบ ให้มี สส.เขต 400 คน สส.บัญชีรายชื่อ 100 คน แต่เข้าใจว่า ใน พปชร.เองก็ยังไม่ตกผลึกในประเด็นนี้

ส่วนในเรื่องที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือรอยปริในพรรคร่วม รบ.หรือไม่นั้น ขอยืนยันว่า คงจะไม่ได้มีส่วนในเรื่องขอความขัดแย้ง การหารือทั้ง ปชป. ภท.และ ชท. เพื่อนำเสนอการขอแก้ไข รธน.เป็นรายมาตราเพราะเราไม่สามารถนำเสนอในนามพรรคใดพรรคหนึ่งได้ ต้องมีผู้ลงชื่อ 1 ใน 5 หรือ 100 เสียง จึงจะสามารถที่จะเสนอร่าง กม.รธน.ได้ กม. รธน. ม.156 เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาความร่วมมือกัน 3 พรรค เพื่อให้มีเสียงมากพอที่จะ เสนอประเด็นเป็นรายมาตรา ซึ่งข้อสรุปเบื้องต้น ก็คือ เราจะมีการเสนอเป็น 6 ประเด็น 6 ฉบับ

  • ประการแรก คือ ขอแก้ไข ม.256 เพื่อแก้ไขจากการแก้ไข รธน.ที่ยากมาง่ายๆ และใช้เสียง 3 ใน 5
  • ประการที่ 2 แก้ไข ม.272 ตัดสิทธิ์ในการโหวตนายกรัฐมนตรีของ สว. เพราะ สว.ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
  • ประการที่ 3 แก้ไขในหมวดสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนสิทธิและชุมชน ซึ่งจะต้องปรับปรุงให้มีความเข้มข้น ขึ้นเหมือนกับ รธน. ปี 2540 ให้ ปชช.มีสิทธิและเสรีภาพ และ ชุมชนมีสิทธิเพิ่มมากขึ้น
  • ประการที่ 4 การกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ ปชป.ได้ต่อสู้เรื่องนี้ตลอดมาว่า การกระจายอำนาจไปสุ่ท้องถิ่นนั้น จะต้องกระจายเป็นองค์รวมทุกมิติ เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการตนเอง ได้
  • ประการที่ 5 เรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หรือ ธรรมาภิบาล เป้นประเด็นที่ต้องการให้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมีความเข้มข้นขึ้น
  • ประการที่ 6 เรื่องระบบเลือกตั้ง ทั้ง 3 พรรคร่วมเรามีความเห็นว่า น่าจะเป็นระบบการเลือกตั้งระบบใช้บัตรเลือกตั้งระบบ 2 ใบ มี สส.เขต 400 เขต 400 คน สส.บัญชีรายชื่ออีก 100 คน

อย่างไรก็ตามเรามีความเห็นว่า จะขอความร่วมมือไปยังพรรคการเมืองทุกพรรค ที่มีความเป็นพ้องต้องกัน หรือแม้แต่ภาคประชาชน ก็เสนอเข้ามา มีประเด็นใดที่เป็นรายมาตรา พรรคร่วมก็จะสนับสนุนในส่วนนี้ สิ่งที่เป็นห่วงในเวลานี้ ในเรื่องของ กม.ประชามติที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภา ในวันที่ 7-8 เมษายน 2564 เนื่องจาก กม.ประชามติ กรรมาธิการเสียงข้างน้อยได้รับความเห็นชอบตามความเห็นของ อจ.ชูศักดิ์ ศิรินิล ให้สามารถเสนอการขอจัดทำประชามติ นอกจากจะเป็นไปตาม ม.166 แล้ว ตามมติ ครม. และ ม. 256 (8) หลังจากทำ กม.รธน. แก้ไขเพิ่มเติม ต้องทำประชามติแล้วก็เห็นว่าสมควรที่จะให้พี่น้อง ปชช.เสนอผ่านทางรัฐสภาที่จะให้เข้าชื่อกันทำประชามติได้ แต่ว่ารายละเอียดก็จะให้กรรมาธิการ วิสามัญพิจารณา กม.การจัดทำประชามติไปปรับปรุงให้สาระสำคัญสอดคล้องต้องกันเข้าใจว่า วันที่ 5 เมษายน เราจะหยิบยกเรื่องนี้ไปประชุมวิปรัฐบาล และจะได้ข้อยุติในวันที่ 7-8 เมษายน 64

ต่อข้อถามหลายฝ่ายมีความกังวลว่าอาจมีบางฝ่ายต้องการจะดึง กม.ประชามติ ต้อการจะยื้อเอา กม.ประชามติไปส่งให้ ศาล รธน.ว่า ไม่น่าที่จะเป็นไปได้ เพราะว่าถ้าใครมีความคิดเห็นอย่างนี้ จะสวนทางกับความรู้สึกของพี่น้องประชาชน เพราะ กม.รธน.ฉบับที่ผ่านมาก็ตกไปแล้ว ถ้า กม.ประชามติตกอีก ก็จะเป็นเรื่องที่เหมือนกับสุมฟืนเข้าไปในกองไฟเพิ่มอีก และกระบวนการที่เราทำกันอยู่ในขณะนี้ ก็เข้าใจว่าทุกฝ่ายก็รับได้ เฉพาะในส่วนของ ปชป.เอง ได้แจ้งให้คณะกรรมาธิการในส่วน ปชป.ว่า เราเห็นด้วยตามหลักการที่นายวิษณุ เครืองาม เป็นผู้เสนอ เพราะฉะนั้นก็ให้เอาตาม เสียงของกรรมาธิการเสียงข้างมากที่ได้มีการปรับปรุงแล้ว


ธีรศักดิ์ อักษรกูล นครศรีธรรมราช

error: Content is protected !!